ฝุ่น PM 2.5 กทม. แนวโน้มลดลง เกินค่ามาตรฐานเหลือ 15 พื้นที่ อยู่ฝั่งธนบุรีเป็นส่วนมาก

5 ธ.ค.2567 - ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 5 ธันวาคม 2567 เวลา 07:00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 33.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)

5 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร
1 เขตหนองแขม 57.9 มคก./ลบ.ม.
2 เขตทวีวัฒนา 43.4 มคก./ลบ.ม.
3 เขตคลองสาน 42.7 มคก./ลบ.ม.
4 เขตภาษีเจริญ 41.9 มคก./ลบ.ม.
5 เขตบางแค 41.7 มคก./ลบ.ม.

กรุงเทพเหนือ 28.2 - 35.8 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง

กรุงเทพตะวันออก 27.2 - 36.5 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง

กรุงเทพกลาง 26.2 - 39.3 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง

กรุงเทพใต้ 26.1 - 40 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง

กรุงธนเหนือ 33.4 - 43.4 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงธนใต้ 31.3 - 57.9 มคก./ลบ.ม. ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ส่วน ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) : ตรวจวัดได้ 22.1-57.3 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม 🟠 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 15 พื้นที่ คือ

1.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 57.3 มคก./ลบ.ม.

2.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 47.3 มคก./ลบ.ม.

3.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 43.6 มคก./ลบ.ม.

4.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 40.4 มคก./ลบ.ม.

5.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 40.3 มคก./ลบ.ม.

6.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 39.9 มคก./ลบ.ม.

7.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 39.4 มคก./ลบ.ม.

8.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 38.9 มคก./ลบ.ม.

9.เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 38.8 มคก./ลบ.ม.

10.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 38.7 มคก./ลบ.ม.

11.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 38.4 มคก./ลบ.ม.

12.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 38.1 มคก./ลบ.ม.

13.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 38.0 มคก./ลบ.ม.

14.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 37.9 มคก./ลบ.ม.

15.เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 37.8 มคก./ลบ.ม.

ข้อแนะนำสุขภาพ: คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร : ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร : มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีกเล็กน้อย

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา 5 - 10 ธ.ค. 67 การระบายอากาศส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ “อ่อน” ขณะที่อินเวอร์ชั่นในระดับต่ำจากผิวพื้นเกิดขึ้นต่อเนื่อง ทำให้มลพิษทางอากาศลอยตัวขึ้นได้น้อยลง จึงส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มสูงขึ้น ในระยะ 1-2 วัน จากนั้นความเข้มข้นของฝุ่นละอองจะมีแนวโน้มลดลง และคาดการณ์วันนี้ มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีกเล็กน้อย

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบจุดความร้อน ในวันที่ 4 ธันวาคม 2567 จำนวน 2 จุด ดังนี้ จุดที่ 1 เวลา 13.22 น. เขตคลองสามวา จุดที่ 2 เวลา 13.46 น. แขวงลำผักชี เขตหนองจอก (จุดที่ 1 เพลิงสงบแล้ว จุดที่ 2 อยู่ระหว่างประสานตรวจสอบจุดความร้อน)

สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน และขอเชิญชวนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน โดยช่วยกันปรับเปลี่ยน พฤติกรรมและลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดฝุ่นละออง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ “5 วิธีลดฝุ่น คุณก็ทําได้” 1. หมั่นทําความสะอาดบ้านด้วยวิธีเช็ดฝุ่น 2. งดเผาขยะ งดจุดธูป 3. ปลูกต้นไม้ช่วยดูดซับมลพิษดักจับฝุ่นละออง 4. เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และ 5. ดับเครื่องยนต์ขณะจอดรถ ตรวจสภาพเครื่องยนต์ไม่ให้มีค่าควันดํา เกินมาตรฐาน

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คนกรุงเทพฯ สำลักฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน อยู่ในระดับสีส้ม 63 พื้นที่

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ เวลา 07.00 น. : ตรวจวัดได้ 34.3-74.3 มคก./ลบ.ม. พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 63 พื้นที่ คือ

นักวิชาการ เตือนคนกรุงฝุ่น PM 2.5 สูงมาก อากาศข้างนอกเย็นสบาย แต่ออกไปอาจป่วยตายได้

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า กรุงเทพฯช่วงนี้ อากาศข้างนอกเย็นสบายแต่ออกไปอาจป่วยตายได้..