ผู้สูงอายุผิดหวัง มติ ครม.ปรับเบี้ยคนชราแบบขั้นบันได ไม่ตรงตามที่หาเสียง-ข้องใจหลักเกณฑ์แทนที่จะปรับแบบถ้วนหน้า จวกยิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้ำ
4 ธ.ค.2567 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)สัญจรที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตามที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ โดยปรับแบบขั้นบันไดให้อายุ 60-69 ปี จากเดิมเดือนละ 600 บาท เป็นเดือนละ 700 บาท ,อายุ 70-79 ปี จาก เดือนละ 700 บาทเป็นเดือนละ 850 ,อายุ 80-89 ปี จากเดือนละ 800 บาท เป็นเดือนละ 1,000 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป เดิมเดือนละ 1,000 บาทเป็นเดือนละ 1,250 บาท ได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มผู้สูงอายุอย่างหนัก
ก่อนหน้านี้ เครือข่ายบำนาญประชาชน และศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบภาคประชาชน ได้ชุมนุมเรียกร้องหน้าทำเนียบรัฐบาล ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลมาตั้งแต่ปี 2563 ให้เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากเดือนละ 600 บาท เป็นเดือนละ 3,000 บาทถ้วนหน้า และเมื่อเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมา ทางเครือข่ายฯ ได้ยื่นหนังสือต่อ พม. เสนอให้เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุจาก 600 บาท เป็น 1,000 บาทถ้วนหน้าทันที หลังจากนั้นในปีต่อๆไปค่อยๆปรับขึ้นจน 3,000 บาท โดยมีปลัดกระทรวง พม. เป็นผู้รับเรื่อง แต่ล่าสุด ครม.เห็นชอบปรับเพิ่มแบบขั้นบันได
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567 น.ส.อุบล ร่มโพธิ์ทอง หรือป้าอุบล อายุ 70 ปี อดีตสาวโรงงานบริษัทไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน) ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบภาคประชาชน กล่าวว่า นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรี พม. ยืนยันเซ็นปรับเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุเพื่อเสนอ ครม.เป็น 1,000 บาทถ้วนหน้า โดยรัฐมนตรียังบอกอีกว่าเมื่อเข้าที่ประชุมแล้วไม่รู้จะออกมาอย่างไร
“แต่เราไม่ได้เห็นหนังสือที่รัฐมนตรีเซ็น พวกป้าคิดว่าจะไปทวงถามกันอยู่ เราไม่ได้เรียกร้องเพิ่มเบี้ยแบบขั้นบันได ผู้สูงอายุก็มีคุณค่า ทุกคนมีคุณค่าเท่าเทียมกันหมดในสังคมนี้ไม่ว่าคนพิการหรือผู้สูงอายุ บางคนทำมาหากินไม่ได้แล้ว ถามว่าปรับเพิ่มเบี้ยออกมาแบบนี้ ผู้สูงอายุไม่มีใครพอใจหรอก แต่นี่ ครม.ออกแล้วจะทำอย่างไร ถ้าไปเรียกร้องอีกก็จะหาว่าเราเรื่องมาก” ป้าอุบล กล่าว
ตัวแทนเครือข่ายบำนาญประชาชน กล่าวอีกว่า ถ้าให้ความเป็นคนเท่าเทียมกันก็ควรจะปรับเบี้ยให้ได้เท่ากันทั้งหมดแบบถ้วนหน้า
“ถ้าปรับขึ้น 800 บาททุกช่วงอายุเท่ากันหมดเราก็ไม่ว่าอะไร เงิน 800 บาทต่อเดือน เอาจริงๆน้อยคนที่จะได้ใช้ ในชุมชนที่ป้าอยู่ประชุมผู้สูงอายุทุกเดือน อายุ 77-78 ก็ไปกันจะหมดแล้ว ที่จะรับ 800 บาทน้อยคนมาก อยู่ถึงอายุ 80 ปีน้อยมาก ใครจะอยู่ถึงรับเงิน 1,250 บาท ที่เราเรียกร้องไป 1,000 บาทถ้วนหน้า ต้องมองความสำคัญของคนเท่าเทียมกัน ถ้าเราไปเรียกร้องอีก คำตอบมันจะออกมาว่าต้องรองบประมาณปี 2569 แล้วก็ไม่รู้ว่าจะได้หรือไม่” น.ส.อุบล กล่าว
ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบภาคประชาชน กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาเมื่อเครือข่ายฯ ชุมนุมเรียกร้องและพยายามเข้าไปสอบถาม ทางสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีก็ไม่คุยด้วย
“พวกป้าทำหนังสือไปถึง นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ตอบอะไรมาเลย พยายามตามเรื่องที่เลขาธิการ ครม. เขาก็ตอบว่ากำลังดำเนินการ ถามว่ารัฐบาลมีเงินไหม คน 3 กลุ่มช่วงอายุ รัฐบาลขึ้นให้ได้ ถ้าไม่มีก็ต้องไม่ขึ้นทั้ง 3 กลุ่ม เพิ่มเบี้ยคนพิการ 1,000 บาท คนพิการกับผู้สูงอายุก็เปราะบางเหมือนกัน คนเริ่มปลดเกษียณจากประกันสังคม อายุ 55 ปี บางคนมีเงินบำนาญ ได้เงินตรงนี้อีก 600-700 บาทผลกระทบน้อย รวมแล้วมีเงินสมทบ 2,000-3,000 บาทต่อเดือนก็พออยู่ได้ ไม่เดือดร้อนลูกหลานมาก แต่ผู้สูงอายุรุ่นก่อนที่ไม่มีประกันสังคม กลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบ เพราะไม่มีเงินทางไหนมาหนุนช่วย ส่วนกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ก็มาทีหลังผู้สูงอายุรุ่นเก่าแล้วไม่ได้เลี้ยงตลอดชีวิตด้วย ถ้ามีประกันสังคมก็เข้า กอช.ไม่ได้ มีปัญหาอีก” ป้าอุบล กล่าว
ในขณะที่ น.ส.อรุณี ศรีโต หรือป้ากุ้ง นักสหภาพแรงงานหญิง กล่าวว่าเครือข่ายผู้สูงอายุผลักดันเพิ่มเบี้ยยังชีพ 1,000 บาทแบบถ้วนหน้า แต่ที่ ครม.อนุมัติหลักการเป็นแบบขั้นบันได
“เวลา ครม.ประชุมเขามีเกณฑ์อะไรของเขาก็ไม่รู้ คนตัดสินใจไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ของผู้ที่ได้รับสิทธิสวัสดิการ ที่ขอคนละ 1,000 บาทถ้วนหน้า ไม่ฟังเสียงผู้สูงอายุ การเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุคนละ 1,000 บาทดูแล้วรัฐบาลพอจะทำได้ ไม่ต้องไปกู้หนี้ แล้วปีหน้าปีนู้นก็ค่อยว่ากันอีกที การที่ท่านปรับตามใจคิดว่าน่าจะเป็นอย่างนี้ ทำไมไม่ฟังเสียงผู้สูงอายุ ตอนหาเสียงพรรคการเมืองบอก 3,000 บาท พูดเหมือนทำง่ายๆ แล้วตอนนี้เอาเกณฑ์อะไรมาคิดเป็นขั้นบันได” น.ส.อรุณี กล่าว
นักสหภาพแรงงานหญิง กล่าวอีกว่า หากรัฐบาลครบวาระหรือยุบสภาเลือกตั้งครั้งหน้า อย่าเอานโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 3,000 บาท มาหาเสียงอีก ส่วนการเรียกร้องให้เพิ่มแบบถ้วนหน้าก็คงต้องรอปีหน้าค่อยว่ากันใหม่ ถ้าเบี้ยผู้สูงอายุครั้งนี้ได้รับปีงบประมาณ 2568 ปลายปีก็จะไปผลักดันกันใหม่
“เราผิดหวัง เราไม่เห็นด้วย แต่เราทำอะไรไม่ได้ การให้สวัสดิการกับผู้สูงอายุที่ทำงานมานานแล้ว ทำมาหากินไม่ไหวแล้ว ทำไมต้องเพิ่มแบบขั้นบันได เรารู้สึกว่าการที่ ครม.อนุมัติหลักการเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบนี้มันเหลื่อมล้ำ” น.ส.อรุณี กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วราวุธ' ซาบซึ้ง ชาวสุพรรณบุรี รัก-เมตตา-ผูกพัน ไม่เสื่อมคลาย ให้คำมั่น ทำงานรับไม้ต่อ บรรหาร ศิลปอาชา
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา พร้อมด้วย ดร.สุวรรณา นายฤทธน นายปฬมพร ภริยาและบุตร ร่วมรับพรปีใหม่ เนื่องในเทศกาลขึ้นปีใหม่ 2568
'วราวุธ' เดินสาย ขอพรปีใหม่ 2 เสาหลัก พรรคชาติไทยพัฒนา ที่สุพรรณบุรี ประภัตร โพธสุธน - จองชัย เที่ยงธรรม
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา นายสรชัด สุจิตต์ สส.สุพรรณบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา นายเสมอกัน เที่ยงธรรม สส.สุพรรณบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา เดินสายไปยังบ้านทรงไทยของนายประภัตร และบ้านกล้วยของนายจองชัย เพื่อขอพร สวัสดีปีใหม่เนื่องในโอกาสเทศกาลขึ้นปีใหม่ 2568
วราวุธ-พม. แสดงพลังสร้างสังคมน่าอยู่ ไร้ทุจริต ดัน พันธกิจ 9 ด้าน ขับเคลื่อนองค์กร หนุน นโยบาย 5x5 ฝ่าวิกฤติประชากร
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดงานวันต่อต้านการทุจริต กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้แนวคิด "พม. สู้ให้สุด หยุดการโกง (Fight Against Corruption)"
'วราวุธ' กำชับทีม พม. เชียงราย เยี่ยมให้กำลังใจ ครอบครัว น้องเหมย เหยื่อเครื่องบินตก
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ทางการเกาหลีใต้ยืนยันว่า มีผู้โดยสารคนไทย 2 คน เสียชีวิตในเหตุการณ์เครื่องบินสายการบินของเกาหลีใต้
“วราวุธ” ส่ง ทีม พม. อุดรธานี เยี่ยมครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเครื่องบินตก เยียวยาสภาพจิตใจ-สิทธิสวัสดิการ
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยถึงกรณีที่มี 2 คนไทยเสียชีวิตในเหตุการณ์เครื่องบินสายการบินของเกาหลีใต้ ประสบอุบัติเหตุระหว่างลงจอดที่สนามบินนานาชาติมูอัน หลังจากที่เดินทางออกจาก
'วราวุธ' เผย พม. เปิดหน่วยงาน เป็นจุดพักรถ ระหว่างเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 บริการห้องน้ำคนพิการ-ผู้สูงอายุ-เด็ก-ครอบครัว พร้อม ให้คำปรึกษาสิทธิสวัสดิการ
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2568 เป็นช่วงเทศกาลแห่งความสุข ซึ่งพี่น้องประชาชน เดินทางกลับภูมิลำเนา ท่องเที่ยวต่างจังหวัด เพื่อร่วมฉลองปีใหม่กับครอบครัว ญาติพี่น้องที่อบอุ่น จากที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและดูแลพี่น้องประชาชน