ป.เอกหลักสูตรผู้นำฯม.รังสิต เปิดเวทีคลี่ปมร้อนเกาะกูด ‘อภิสิทธิ์’ ร่วมถก

30 พ.ย.2567 - ที่มหาวิทยาลัยรังสิต  นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรผู้นำทางสังคมธุรกิจและการเมือง วิทยาลัย ผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

ได้จัดสัมมนาในหัวข้อ “รายงานและข้อค้นพบการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ กับอนาคตประเทศไทย”

โดยนักศึกษาได้นำเสนอรายงานการศึกษาในประเด็นต่างๆที่ได้รับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงทาง ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics Disruption) โดยมีประเด็นนำเสนอรายงาน เช่น ข้อพิพาทเรื่องเกาะกูด สามเหลี่ยมทองคำ ปัญหาชายแดนไทย EEC บทบาทกองทัพเรือกับยุทธศาสตร์ทางทะเล แลนบริดจ์ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีผู้ทรงวุฒิจากหน่วยงานราชการตัวแทนจาก สภาพัฒน์ ฯ กองทัพ กระทรวงกลาโหม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ผศ.ดร. สุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยผู้นำ และนวัตกรรมสังคม อดีตเอกอัครราชทูตสมปอง สุวรรณบรรณ คณบดีสถาบันการทูต

นายภิสิทธิ์ กล่าวช่วงหนึ่งว่า ข้อถกเถียงเรื่องพื้นที่ทับซ้อนเกาะกูดในขณะนี้นั้นความซับซ้อนสูง การจัดการอำนาจรัฐ และผลประโยชน์ของรัฐเป็นเรื่องใหญ่และมีความละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายภาคส่วน โดยเฉพาะแสดงท่าทีของผู้นำประเทศต้องมีความชัดเจน ต้องแสดงท่าที่ให้ชัดเจนไม่ว่าจะมิติความสัมพันธ์ หรือความขัดแย้งใด

โดยต้องแสองให้เห็นว่าจะดำเนินนโยบายอย่างไรให้มีความชัดเจน เพื่ออำนาจการต่อรองกับประเทศคู่ความสัมพันธ์

นายอภิสิทธิ์ ตั้งข้อสังเกตว่า ในสมัยหนึ่งฝั่งกัมพูชาเป็นคนที่อยากได้พลังงานในพื้นที่ดังกล่าวในตอนนั้นฝ่ายไทยก็จะมีอำนาจเหนือกว่าในการเจรจา  แต่มาตอนนี้ กลายเป็นฝ่ายไทยอยากได้พลังงานมากกว่ากัมพูชา จนอาจทำให้อำนาจต่อรองในโต๊ะเจรจาของเราลดลงไปจากเดิม

ขณะที่ ผศ.ดร.สุริยะใส กล่าวว่าหลักสูตรผู้นำทางสังคมธุรกิจการเมืองได้เปิดสอนวิชาภูมิรัฐศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกเพราะเห็นความสำคัญของสถานการณ์โลกที่มีการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างเข้มข้นจนส่งผลกระทบต่อไทย ในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสังคมธุรกิจการเมืองการศึกษาสิ่งแวดล้อมการอพยพย้ายถิ่น

การนำนโยบายต่างประเทศของรัฐไทยในมิติต่างๆจึงต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างลึกซึ้งไม่เช่นนั้นการแก้ปัญหาที่ขาดองค์ความรู้จะสร้างปัญหาใหม่ตามมามากมาย เช่น ข้อพิพาทเกาะกูด มิติความขัดแย้งสลับซับซ้อนมากกว่าประเด็นเรื่องพลังงานในไทย การยกผลประโยชน์พลังงานในจุดเดียวแต่ขาดมุมมองทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับความมั่นคงทางทะเลและความได้เปรียบของรัฐไทยในภูมิภาคระยะยาว ก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ รัฐบาลไทยจึงต้องรู้เท่าทันทุกมิติ  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดบันทึกอดีตหัวหน้าคณะเจรจา พื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย แนะยกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ เปิดบันทึกอดีตหัวหน้าคณะเจรจา พื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย แนะให้ยกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มีเนื้อหาดังนี้

เตือนรัฐบาล ปฏิบัติตามพรบ.รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล อย่าดันทุรังใช้ MOU 44

พลอากาศโทวัชระ ฤทธาคนี หรือ เสธ.นิด อดีตนายทหารนักบินกองทัพอากาศ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๕๒ รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพ แห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย

'กูรูใหญ่' ปูดมีการรุกล้ำ 3 จุด ไทยเสี่ยงเสียดินแดนรอบทิศ ซัดคนดูแลรักษาบ้านเมืองไร้น้ำยา

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ราชสีห์ที่หมาเป็นหัวหน้า สู้ฝูงหมา ที่ราชสีห์เป็นหัวหน้าไม่ได้

'อดีตรมว.คลัง' ขุดหลักฐาน 'สุรเกียรติ์' ก่อข้อสงสัย ไทยตีความฝ่ายเดียว 'เกาะกูด' เป็นของไทย

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประ