เปิดมาตรการเชิงรุกขจัดปัญหา “ปลาหมอคางดำ” ระยะเร่งด่วน ตั้งเป้า 3 ล้าน กก. หนุนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ดึงงานวิจัยและนวัตกรรม “ชุดโครโมโซม 4N” ทำหมันปลา
26 พ.ย. 67 นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยความคืบหน้าการขจัดปัญหาปลาหมอคางดำ ล่าสุด กรมประมงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดำเนิน“โครงการแก้ไขปัญหาเพื่อขจัดภัยจากการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ ระยะเร่งด่วน” ระหว่างการยางแห่งประเทศไทย กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมวิชาการเกษตร ร่วมดำเนินงานแบบบูรณาการ ทั้งในด้านการบริหารจัดการ ด้านวิชาการ และการปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำปลาหมอคางดำที่จับออกจากธรรมชาติ โดยนำไปกำจัดด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสมและอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน ตลอดจนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ เพื่อรองรับและสนับสนุนภารกิจต่าง ๆ โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง หลักเกณฑ์การปฏิบัติของทุกหน่วยงาน
นายอนุกูล กล่าวว่า การลงนามดังกล่าว เป็นการบูรณาการความร่วมมือแก้ไขปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำ Big Cleaning ครั้งใหญ่ โดยมุ่งขจัดปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำให้หมดไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติของไทยและบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกร ดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้ มาตรการที่ 1 คือ การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่ง และการนำปลาหมอคางดำที่กำจัดเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตามวาระแห่งชาติในการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ ตามมาตรการที่ 3 ภายใต้แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ พ.ศ. 2567 – 2570 สำหรับงบประมาณในการบริหารจัดการนั้น มาจากเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร วงเงินงบประมาณ 60 ล้านบาท มีเป้าหมายกำจัดปลาหมอคางดำ จำนวน 3,000,000 กิโลกรัม ซึ่งสอดคล้องตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2554 มาตรา 7 (4) การดำเนินการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อป้องกันและขจัดภัยอันจะเป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร
นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินการโดยใช้วิธีธรรมชาติ คือ การปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการดำเนินการการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในระยะยาว เช่น การเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4N เพื่อให้เกิดหมันในปลาหมอคางดำ และกรอบแนวทางงานวิจัยอื่น ๆ ซึ่งกรอบงานวิจัยเหล่านี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการของบประมาณจาก สวก. นอกจากนี้ ยังมีแผนระยะยาว สำหรับฟื้นฟูระบบนิเวศ ฟื้นฟูแหล่งอาศัย ปล่อยสัตว์น้ำประจำถิ่น เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพและความสมบูรณ์ของระบบนิเวศอีกด้วย
“จากแนวทางการปฏิบัติงานและความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเป็นรูปธรรม จะสามารถช่วยบรรเทาให้วิกฤตการระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศไทยดีขึ้นและจะขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศของแหล่งน้ำธรรมชาติของไทยได้อย่างยั่งยืน” นายอนุกูล ย้ำ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ใจละลาย! รัฐบาลชวนชม 'น้องเอวา' เสือโคร่งสีทอง แห่ง ไนท์ซาฟารี
รัฐบาลเชิญชวนนักท่องเที่ยวชมความน่ารัก “น้องเอวา” เสือโคร่งสีทอง แห่งสวนสัตว์เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ปลุกกระแส Soft Power จากธรรมชาติของสวนสัตว์ไทย
'เฉลิมชัย' เข้มสั่ง ทส. จัดการ 'ปลาหมอคางดำ' ต่อเนื่อง
“เฉลิมชัย” สั่งกำชับ ทส.แก้ปัญหา “ปลาหมอคางดำ”เข้มข้น ย้ำทำมาต่อเนื่อง ให้ประสานประมง-ท้องถิ่น เร่งแผนควบคุม-กำจัด พร้อมติดตามประเมินผลใกล้ชิด
สอวช. วิเคราะห์ 'ทรัมป์' คืนทำเนียบขาว กระทบวงการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม
จากชัยชนะแบบถล่มทลายของโดนัลด์ ทรัมป์ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 ได้ก่อคลื่นกระแท