'TNDR' 7 มหาวิทยาลัยภาคใต้ ระดมสมองวางแผนรับมือภัยพิบัติ หวั่นกระทบภาคท่องเที่ยว

'TNDR' จาก 7 มหาวิทยาลัยภาคใต้ จับมือ ปภ.ศูนย์ฯ 12 สงขลา ศูนย์ฯ 18 ภูเก็ต นายกเทศมนตรี อุตุนิยมวิทยาฯ และเอกชนยักษ์ใหญ่ ระดมสมองวิเคราะห์ความเสี่ยงพร้อมวางแผนรับมือภัยพิบัติภาคใต้ร่วมกัน หวั่นกระทบภาคการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้

22 พ.ย.2567 - เมื่อวันที่ 21 พ.ย. ที่ผ่านมา เครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience : TNDR) จัดประชุมเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติพื้นที่ภาคใต้ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยเชิญนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญงานด้านภัยพิบัติจาก 7 มหาวิทยาลัยภาคใต้ อาทิ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ รวมถึง ปภ.ศูนย์ ฯ 12 สงขลา และ ศูนย์ฯ 18 ภูเก็ต ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก นายกเทศมนตรี ตลอดจนภาคเอกชนยักษ์ใหญ่ บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย เพื่อร่วมกำหนดพันธกิจขับเคลื่อนแผนรับมือภัยพิบัติภาคใต้ร่วมกัน

ดร.พิจิตต รัตตกุล ประธานเครือข่าย TNDR เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมในครั้งนี้ว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติให้กับประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยไตรมาสแรกของปีนี้ ภาคใต้กวาดรายได้จากการท่องเที่ยวไปสูงถึง 38,700 ล้านบาท จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนรับมือภัยพิบัติอย่างเป็นระบบ โดยการประชุมในวันนี้นั้น ได้มีการจัดตั้งเครือข่ายนักวิชาการภาคใต้ในการทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนบุคลากรในการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้ชุมชน รู้ รับ ปรับ ฟื้น ได้ทันท่วงที กระตุ้นให้เกิดงานวิจัยให้กับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ตลอดจนร่วมกันวิเคราะห์ความเสี่ยง วางแผนให้มีการตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงภัยในพื้นที่ภาคใต้ และมีการทำแผนเผชิญเหตุ เป็นต้น

“ภาคใต้เรามีบทเรียนจากสึนามิมาแล้วเมื่อ 20 ปีก่อน ดังนั้นหากเราไม่อยากให้มีการสูญเสียที่ใหญ่หลวงเช่นในอดีต ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะเราต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบแผนรับมือด้วย เพราะเป็นคนในพื้นที่ย่อมรู้พื้นที่ดีที่สุด ผมมองว่าการเตรียมความพร้อมในการรับมือย่อมดีกว่าเหตุภัยพิบัติเกิดแล้วเราได้แต่รอเยียวยา ผมจึงอยากให้เครือข่ายย่อยของ TNDR ประจำพื้นที่ภาคใต้ที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ ช่วยกันวางแผนป้องกันและหามาตรการรับมือ เพื่อบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่และพี่น้องประชาชน” ประธานเครือข่าย TNDR กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดยิ่งใหญ่! ม.อ. เจ้าภาพจัดประกวดออกแบบนวัตกรรม แก้ปัญหาพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง YICMG 2024

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพจัดโครงการประกวดออกแบบนวัตกรรม แก้ปัญหาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง The 8th Youth Innovation Competition on Lancang-Mekong Region’s Governance and Development (YICMG 2024)

ปลัดแรงงาน“ไพโรจน์”เข้ารับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นด้านความสำเร็จในอาชีพ หน้าที่การงาน ปี 2566 จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วันที่ 13 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 น. นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เข้ารับโล่เกียรติยศ ในโอกาสที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นด้านความสำเร็จในอาชีพ หน้าที่การงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีพุทธศักราช 2566 ในงาน

กสม.ชี้ จนท.ความมั่นคงถูกร้องเรียนมากสุดในจังหวัดชายแดนใต้

กสม. พัฒนากลไกสิทธิมนุษยชนเชิงพื้นที่ในระดับภูมิภาคที่ภาคใต้เป็นแห่งแรก เผยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในกระบวนการยุติธรรมถูกร้องเรียนมากที่สุด

ดร.โจโผล่ขึ้นรถแห่ ปชป.ช่วยหาเสียง ส.ก.

นายพินิจ กาญจนชูศักดิ์ ผู้สมัคร ส.ก. พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เขตสัมพันธวงศ์ หมายเลข 2 เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 11 พ.ค. ขณะขึ้นรถแห่เพื่อขอเ