ผบ.ทร. พร้องส่ง ‘จนท.อุทกศาสตร์-พระธรรมนูญ’ ร่วมวง ‘เจทีซี’ เจรจา ‘กัมพูชา’ พื้นที่อ้างสิทธิทางทะเล ชี้ต้องอาศัย ‘นักเทคนิค’ ควบคู่ ‘นักกฎหมาย’ เตรียมเปิดวงเสวนาชี้แจงสังคม 3 ธ.ค.นี้ ไม่หวั่นกระแส ‘คนนอก’ ครอบงำ ‘เจทีซี’ ย้ำยึดกฎหมาย-อนุสัญญาระหว่างประเทศ
20 พ.ย.2567 - พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวภายหลังทำพิธีวันสถาปนากองทัพเรือ ครบรอบ 118 ปี กรณี MOU ไทย-กัมพูชา ปี 2544 ว่า ตนเคารพความคิดของทุกท่าน เพราะทุกคนล้วนมีความเป็นห่วงกองทัพเรือ ไม่ว่าอดีตผบ.ทร.จะเกษียณอายุราชการไปนานเท่าไหร่แล้วก็ตาม เพราะอดีตผู้บังคับบัญชาของกองทัพเรือก็อยากให้กองทัพเรือเดินหน้าไปได้ และมีความต่อเนื่องในการพัฒนาในทุกด้าน
พร้อมย้ำว่ากองทัพเรือมีหน้าที่ดูแลพื้นที่และปัจจุบันก็ดูแลเส้นเขตแดนทางทะเลที่ประเทศไทยประกาศ ซึ่งเราดูแลได้อย่างเรียบร้อยและไม่มีความขัดแย้งเส้นเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะเข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่าย
“แต่เมื่อมีกระแสสังคมถึง MOU 44 กองทัพเรือในฐานะหน่วยงานทางเทคนิคที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนทางทะเล คือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เตรียมจัดงานเสวนาในเรื่องนี้ ในเรื่องเส้นเขตแดนในทะเลและข้อตกลง-ข้อขัดแย้งต่างๆ วันที่ 3 ธ.ค.นี้ ที่เปิดให้ผู้สนใจทั่วไปเข้ารับฟังได้ อีกทั้งแบ่งวงเสวนาให้ความรู้เรื่องการเจรจาข้อตกลงต่างๆอีกด้วย เพื่อสื่อสารให้สังคมเข้าใจ ว่าการเจรจาตกลงมีรูปแบบใดบ้าง รวมถึงกระบวนการเข้าสู่ศาลโลกที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทางทะเล เพื่อให้สังคมได้เห็นภาพเหตุการณ์ที่หลากหลายรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศ” ผบ.ทร. กล่าว
ส่วนความคืบหน้าในการตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (JTC) ที่ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและรมว.กลาโหม ได้ระบุว่าจะต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครอบคลุม ที่มีกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ร่วมด้วยนั้น ผบ.ทร. กล่าวย้ำว่า ถ้า นายภูมิธรรม ร้องขอมาก็ยินดีสนับสนุน เพราะเรื่องเขตแดนทางทะเล กองทัพเรือก็ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เช่นเดียว ตามที่จะมีการจัดเสวนาดังกล่าวขึ้นมา ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมอุทกศาสตร์ จะมีความรู้ในเรื่องทางเทคนิค แต่ถ้าเป็นเรื่องกฎหมายก็จะเป็นสำนักพระธรรมนูญ กองทัพเรือ อยู่ที่จะมีการเลือกเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคแบบใด เข้าไปร่วมเจทีซี
เมื่อถามว่ามีความเป็นห่วงเรื่องความเป็นอิสระของคณะกรรมการเจทีซี ที่จะไม่ถูกครอบงำจากบุคคลใดหรือไม่ ผบ.ทร. กล่าวว่า อยู่ที่การอธิบาย หรือความต้องการในกระบวนการทำงาน ในเรื่องทางกฎหมายและเทคนิค เพราะในบางส่วนอาจไม่เชี่ยวชาญเรื่องทางกฎหมาย ซึ่งกฎหมายก็จะมีช่องให้เดิน ขึ้นอยู่กับว่าจะหยิบมาตราใดมาใช้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคก็จะเข้ามาช่วยในเรื่องเหล่านี้ได้ กรณีที่มีการเจรจาเกิดขึ้นจะต้องใช้กฎข้อใดหรือต้องอ้างอนุสัญญาใด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
‘หมอวรงค์’ ขอบคุณคนคลั่งชาติ ร่วมลงชื่อยกเลิก MOU44 ทะลุหลักแสน
หมอวรงค์ ขอบคุณคนคลั่งชาติ ร่วมลงชื่อ ยกเลิก MOU44 เพื่อปกป้องดินแดนทางทะเลเกาะกูด
ถึงบางอ้อ ดร.เสรี เผยเหตุ 'กัมพูชา' ยอมตกลง MOU44
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงนาม MOU44 มีหรือจะพูดว่า MOU44 ไม่ดีสำหรับประเทศไทย เขาย่อมพูดว่าเป็นผลดี
‘ภูมิธรรม’ มั่นใจนายกฯกลับมาประชุมตั้ง ‘เจทีซี’ เสร็จ ชงเข้าครม.19 พ.ย.ทันที
‘ภูมิธรรม’ ระบุ หากนายกฯกลับมา เรียกถก ตั้ง เจทีซี วันนี้ก็ เข้าครม.ทันพรุ่งนี้ โยน กต.เคาะรายชื่อ ลั่น เกาะกูดไม่จบซํ้ารอยเขาพระวิหารแน่ ยัน ไม่มีเหตุผลต้องยกเลิกเอ็มโอยู 44
สมชาย กางเหตุผลทำไม ไทยถึงเสียดินแดน ถ้าไม่ปักปันเขตแดน ก่อนเจรจา MOU2544
นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ทำไมการดื้อเจรจาตาม MOU2544 แบ่งผลประโยชน์กัน ถ้าไม่ปักปันเขตแดนทางทะเลไทย-กัมพูชาให้ถูกต้องยุติก่อน
โพลชี้คนเกินครึ่งไม่เข้าใจ MOU44 - เกาะกูด
นิด้าโพลเผยผลสำรวจประเด็น MOU 44 และเกาะกูด พบว่าประชาชนไม่เข้าใจเลย สูงถึง 58.86% และส่วนใหญ่ไม่ต้องการเข้าใจข้อโต้แย้งและสถานการณ์ที่ชัดเจน ส่วนคนที่เข้าใจมากและค่อนข้างเข้าใจ ชี้ 1 ใน 3 ไม่ไว้วางใจรัฐบาลปกป้องผลประโยชน์ของชาติได้