14 พ.ย 2567 - นายสุวิช ศุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ (สพ.รฟ.) ทำหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(นายอนุทิน ชาญวีรกุล) เรื่อง ขอให้ทบทวนมติของคณะกรรมการที่ให้ยุติการเพิกถอนเอกสารสิทธิพื้นที่เขากระโดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย อ้างถึง ๑. พระราชบัญญัติการจัดวางรางแลทางหลวง พ.ศ.๒๔๖๔ ๒. ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ลว. ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๑ ๓. มติชี้ขาดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เรื่องพื้นที่เขากระโดง ๔. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๔๒-๘๗๖/๒๕๖๐ ลว. ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ๕. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๐๒๗/๒๕๖๑ ลว. ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ๖. คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ คดีหมายเลขดำที่ ๑๑๑/๒๕๖๓ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๑๑๒/๒๕๖๓ ลว. ๒๒ เมษายน ๒๕๖๓ ๗. คำพิพากษาศาลปกครอง คดีหมายเลขดำที่ ๒๔๙๔/๒๕๖๔ คดีหมายเลขแดงที่ ๕๘๒/๒๕๖๖ ลว. ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๖ ๘. หนังสือ มท. ๐๕๑๖.๒(๒)/๒๒๑๖๒ ลว. ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๗
สิ่งที่ส่งมาด้วย - เอกสารตามอ้างถึง รัฐมนตรีสามารถดูรายละเอียดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตามคำพิพากษาศาลปกครอง พิพากษาให้อธิบดีกรมที่ดินดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๖๑ วรรค ๒ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณามีมติเอกฉันท์ไม่เพิกถอนหรือแก้ไขเอกสารสิทธิที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยอ้างการรถไฟฯ ไม่มีหลักฐานชัดเจนในการเป็นเจ้าของพื้นที่เขากระโดง และให้ยุติเรื่องในกรณีนั้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชทาน พื้นที่เขากระโดงให้กรมรถไฟหลวง และให้การรถไฟฯ ใช้ทรัพยากรไม้และหินในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ไปสร้างทางรถไฟ ระหว่าง นครราชสีมา ถึง อุบลราชธานี และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้มีพระราชบัญญัติการจัดวางรางรถไฟแลทางหลวง พ.ศ.๒๔๖๔ ให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทางรถไฟและพื้นที่ก่อสร้างอื่น ๆ โดยมิให้ผู้ใดมาครอบครองที่ดินของการรถไฟฯ ได้ เสมือนเป็นที่ราชพัสดุ ซึ่งต่อมาได้มีประชาชนบุกรุกเข้ามาอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟฯ โดยที่การรถไฟฯ มิได้วางเฉย ได้มีเจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯ ตรวจสอบตลอดมา ดังปี พ.ศ. ๒๕๐๙ จนมีปัญหาเรื่องการบุกรุกที่ดินเขากระโดง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นต้นมา และมีบางรายนำที่ดินของการรถไฟฯ ไปออกเอกสารสิทธิ จนนำไปสู่การฟ้องร้องระหว่างประชาชนกับการรถไฟฯ จึงมีการนำเรื่องให้กฤษฎีกาตีความ สรุปให้ความเห็นว่า พื้นที่เขากระโดงเป็นของการรถไฟฯ และมีการนำเรื่องนี้เข้าสู่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ก็ได้วินิจฉัยชี้ขาดพื้นที่เขากระโดงเป็นของการรถไฟฯ และมีผู้กระทำความผิดทางอาญาหลายคนแต่ไม่สามารถดำเนินคดีได้ เนื่องจากคดีหมดอายุความ ต่อมา ได้มีคำตัดสินคำพิพากษาของศาลฎีกา ๘๔๒-๘๗๖/๒๕๖๐, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๐๒๗/๒๕๖๑, คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ คดีหมายเลขดำที่ ๑๑๑/๒๕๖๓ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๑๑๒/๒๕๖๓, คำพิพากษาศาลปกครอง คดีหมายเลขดำที่ ๒๔๙๔/๒๕๖๔ คดีหมายเลขแดงที่ ๕๘๒/๒๕๖๖ ต่างพิพากษาให้ พื้นที่เขากระโดงจำนวน ๕,๐๘๓ ไร่ เป็นของการรถไฟฯ ดังนั้น เอกสารสิทธิที่ดินที่ออกทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟฯ จึงเป็นเอกสารสิทธิที่ออกมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะขัดต่อพระราชบัญญัติการจัดวางรางแลทางหลวง พ.ศ. ๒๔๖๔ การรถไฟฯ จึงนำสาเหตุนี้ฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้มีการสั่งเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ออกมาโดยมิชอบ ศาลปกครองมีคำพิพากษาให้อธิบดีกรมที่ดินมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๖๑ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดินบริเวณเขากระโดง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อหาแนวเขตที่ดินที่เป็นของการรถไฟฯ ตามคำพิพากษาอ้างถึง ข้อ ๔,๕ และข้อ ๖ และคณะกรรมการตามมาตรา ๖๑ ได้แต่งตั้งอนุกรรมการในตรวจสอบ รังวัด เพื่อกำหนดแนวเขตที่ดินแต่ละแปลงและรายงานให้คณะกรรมการตามมาตรา ๖๑ ดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิแต่ละราย แต่คณะกรรมการตามมาตรา ๖๑ มิได้ปฏิบัติตามพิพากษาศาลฎีกา ถือว่าที่สุด แต่กลับมีมติเอกฉันท์ไม่เพิกถอนหรือแก้ไขเอกสารสิทธิที่ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ นั้นโดยมีผลกระทบต่อสถานภาพสิทธิของการรถไฟฯ
พื้นที่เขากระโดงได้ผ่านการพิสูจน์สิทธิชัดเจนแล้วว่าพื้นที่เขากระโดงจำนวน ๕,๐๘๓ ไร่ เป็นของการรถไฟฯ ดังจะดูรายละเอียดได้จากหลักฐานการพิพากษาของศาลฎีกาและศาลอุธรณ์ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบแห่งชาติ และความเห็นของกฤษฎีกาและแผนที่พื้นที่เขากระโดงของการรถไฟนั้น ได้กำหนดไว้ชัดเจนแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๒ และกำหนดกรรมสิทธิชัดเจนตามพระราชบัญญัติการจัดวางรางแลทางรถไฟ และแผนที่ทหาร จึงไม่จำเป็นที่ต้องนำมาพิสูจน์สิทธิอีก เพียงแต่คณะกรรมการตรวจสอบดูรายละเอียดเป็นรายแปลง เพื่อนำไปสู่การเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ถูกต้อง และการที่มติคณะกรรมการตามมาตรา ๖๑ มีมติดังกล่าวนั้นจึงเป็นการละเมิดคำตัดสินของศาลฎีกาและขัดต่อพระราชโองการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งกรมที่ดินอยู่ภายใต้การบริหารงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขอให้ท่านมีบัญชาให้มีการแก้ไขให้ถูกต้องตามคำพิพากษา ให้เป็นไปตามกฎหมาย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดสั่งการให้ทบทวนมติคณะกรรมการดังกล่าวด้วย จักขอบคุณยิ่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เอาแล้ว!เรื่องถึงศาลฯ 'ณฐพร' ฟ้องกราวรูด 'บิ๊กขรก.มหาดไทย' เซ่นที่ดินเขากระโดง
นายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า "วันนี้ยื่นฟ้องคดีที่ดินเขากระโดง ต่อ ศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ศาลนัดตรวจฟ้องและพยานหลักฐานวันที่ 9 ธันวาคม เวลา09.30 น."
ภาคปชช.งัดคำพิพากษา จี้ 'อธิบดีกรมที่ดิน' เพิกถอนสิทธิ์ 'ที่ดินเขากระโดง' ให้เป็นไปตามกฎหมาย
นายพลภาขุน เศรษฐญาบดี ตัวแทนผู้ประสานงาน คณะราษฎรไทยแห่งชาติ (ครช.) และอดีตผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา(สว.) กลุ่ม 17 จ.นครปฐม ได้ยื่นหนังสือทักท้วง อธิบดีกรมที่ดิน กรณีที่ดินเขากระโดง ใช้อำนาจไม่เป็นไป ตามกฎหมาย ม.61 มีใจความว่า
'ณฐพร' ซัด 'มหาดไทย' ยุค 'ศรีธนญชัย' ฟันธง 'ที่ดินเขากระโดง' จะถูกโทษเช่นเดียวกับคดีจำนำข้าว
ดร.ณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เผยแพร่ข้อความกรณี กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง ว่า
'อนุทิน' ยันไม่คิดเอาคืนใคร ปมที่ดินเขากระโดงอย่าโยงการเมือง ไม่อย่างนั้นก็หมดสภาฯ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงข้อพิพาทพื้นที่เขากระโดงระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกรมที่ดิน ซึ่งกระทรวงคมนาคมยืนยันสิทธิ์ตามกฎหมาย
ให้จริง! กมธ.ที่ดินฯ ลุยสอบปมที่ดิน 'เขากระโดง' โวลั่นไม่หวั่นภูมิใจไทยเล่นเกมสกัด
นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สส.ภูเก็ต พรรคประชาชน ฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทน