ครม. ไฟเขียวร่างพ.ร.ฎ. 2 ฉบับ แก้ปัญหาที่ดินทำกินในเขตป่าอนุรักษ์ ยันไม่ได้จำกัดสิทธิเสรีภาพ

ครม. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ แก้ปมที่ดินทำกินในเขตอุทยานฯ-เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สางปัญหาม็อบเรียกร้องรัฐบาลแก้ไข แจง กำหนดคุณสมบัติชัดใน4 อุทยานฯ 2 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ย้ำ ต้องมีสัญชาติไทย-ให้อยู่อาศัยทำกิน-ไม่สามารถโอนครอบครองได้

12 พ.ย.2567 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา โครงการอนุรักษ์ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ มาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามมาตรา 121 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนสัตว์ป่าพ.ศ. 2562 เพื่อพิจารณาผลกระทบและมีประชาชน มายื่นเรื่องเรียกร้องที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลแก้ไข โดยร่างทั้งสองฉบับได้มีการบังคับใช้มานานจึงต้องมีการทบทวน

นายภูมิธรรม กล่าวว่า สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2.ฉบับ กำหนดให้มีโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ,เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าไม่มีกำหนดระยะเวลา 20 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ เพื่อให้ประชาชนอยู่อาศัยหรือทำกินในพื้นที่ดังกล่าว เป็นการชั่วคราว โดยมีการกำหนดเขตพื้นที่อยู่อาศัยและทำกินให้ชัดเจน ไม่ให้ขยายพื้นที่อีก และกำหนดให้โครงการดำเนินการในพื้นที่ตามที่ระบุไว้ในบัญชีแนบท้ายพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมีแนวเขตโครงการที่กำหนด ไว้ในแผนที่ท้าย จำนวน6แห่ง ซึ่งสอดคล้องกับแผนที่วันที่มีข้อยุติแล้ว ได้แก่ อุทยานแห่งชาติมีจำนวน4แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว, อุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ,อุทยานแห่งชาติเขา15ชั้นจังหวัดจันทบุรี และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า2แห่ง คือ เขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง จังหวัดเพชรบูรณ์ และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จังหวัดลพบุรี

นายภูมิธรรม กล่าวว่า โดยผู้ที่จะอยู่อาศัยและทำกินจะต้องอยู่ภายใต้โครงการ และมีรายชื่อตามผลสำรวจการถือครองที่ดินของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ทำเสร็จไปแล้วครอบครัวละไม่เกิน 20 ไร่ และในกรณีที่มี2ครอบครัวขึ้นไป ซึ่งทำกินอยู่ในสถานที่ทำกินเดียวกัน ให้อยู่อาศัยหรือทำกินได้ไม่เกิน40ไร่ และผู้ที่อยู่อาศัยหรือทำกินในโครงการดังกล่าว จะแบ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดิน สมาชิกในครอบครัว โดยต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยไม่มีที่ทำกินหรือที่อยู่อาศัย ไม่เคยต้องคำพิพากษา หรือถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับการทำลายป่าหรือการล่าสัตว์สัตว์ป่า นอกจากนั้นผู้ที่ครอบครองไม่สามารถโอนการครอบครองหรือยินยอมให้บุคคลบุคคลอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัวหรือครัวเรือน เข้ามาอยู่อาศัยทำกินไม่ได้ และผู้ที่อยู่อาศัยหรือทำกิน ต้องมีหน้าที่ดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

"เรื่องนี้ได้เสนอกฤษฎีกาไปแล้ว และครม.ได้เห็นชอบตามนี้แล้ว โดยยังมีปัญหาและข้อขัดแย้งอยู่บ้าง ซึ่งพ.ร.บ.นี้ได้ใช้มาอยู่ 5 ปีแล้ว  ฉะนั้นได้เวลาที่จะทบทวน ดังนั้น ครม.จึงมอบหมายให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกันในการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อทบทวน ดูแลและแก้ไขปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ต่อไป"นายภูมิธรรม กล่าว

ด้าน นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะรองประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือพีมูฟ แถลงว่า ก่อนจะนำร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับเข้าสู่ที่ประชุมครม. รัฐบาลได้ทำความเข้าใจกับประชาชนผู้มาร้องสิทธิ์ โดยที่ประชุมได้ผ่านความเห็นชอบพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ คือ ร่างพระราชกฤษฎีกา โครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติตามมาตรา64 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ 2562 และพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามมาตรา 121 แห่ง พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2562 โดยมีสาระสำคัญคือการช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกินและสามารถอาศัยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าได้ โดยประชาชนเหล่านั้นไม่มีสิทธิ์ในที่ดินทำกิน เพราะฉะนั้นจะมีอยู่พื้นที่จังหวัดจันทบุรี ลพบุรี และ เพชรบูรณ์ และเรื่องนี้รัฐบาลได้ทำความเข้าใจกับประชาชนถึงสิทธิ์ที่จะได้มาโดยตลอด

นายประเสริฐ กล่าวว่า นายภูมิธรรม ได้สั่งการในที่ประชุมครม. ให้รีบดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ. วนอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ มาแก้ไขกฎหมายอีกสองฉบับให้สมบูรณ์ขึ้น มอบหมายให้คณะกรรมการที่ดินแห่งชาติ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว ขณะนี้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาของประชาชน ซึ่งโครงการ และพระราชกฤษฎีกา ทั้งสองฉบับเป็นประโยชน์กับประชาชน

ด้าน นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึงเหตุผลในการตราพระราชกฤษฎีกาสองฉบับนี้ หลักการสำคัญคือเพื่อให้คนที่ขณะนี้อยู่ในป่าสามารถทำมาหากิน และอยู่อาศัยในพื้นที่ได้ระหว่างที่ตรวจสอบหรือพิสูจน์สิทธิในที่ดิน ว่าตกลงพวกเขาอยู่มาก่อนหรืออยู่หลังประกาศเขตอุทยานฯ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

ซึ่งตามกฏหมายเดิมระบุว่าใครก็ตามอยู่ในพื้นที่ป่าจะต้องมีความผิดทางอาญาสถานเดียว ทำให้เกิดปัญหาระหว่างพี่น้องประชาชนกับหน่วยงานราชการเสมอมา จึงมีการแก้ไขกฎหมายสองฉบับนี้ในปี 2562 โดยมีการกำหนดกฎบทเฉพาะกาลว่าประชาชนที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สิทธิ สามารถอยู่อาศัยทำมาหากินระหว่างมีการพิสูจน์สิทธิได้โดยไม่เป็นความผิดอาญา นี่คือหัวใจสำคัญของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้

นายปกรณ์ กล่าวอีกว่า พระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับนี้ไม่ได้ตัดสิทธิพี่น้องประชาชนเพื่อพิสูจน์สิทธิ และไม่ได้เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่เป็นการบรรเทาความผิดจากสิ่งที่เกิดขึ้นจากกฎหมายเก่า ดังนั้น พี่น้องประชาชนสามารถอยู่ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และสามารถทำมาหากินได้ตามปกติไม่ถือเป็นความผิดทางอาญาอีกต่อไป  แต่ระหว่างนั้นจะมีการพิสูจน์สิทธิ โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมีแนวทางการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

"หลักการจริงๆคือการที่คนอยู่กับป่าได้อย่างมีความสุขถูกต้องตามกฎหมาย เราไม่ได้คิดเหมือนระบบดั้งเดิมว่าใครก็ตามที่อยู่ในป่าแล้วจะมีความผิดตลอดเวลา เป็นการอยู่เพื่อพิสูจน์สิทธิหากเขาอยู่ในที่ดินนั้นมาก่อนที่จะมีการประกาศเขตอุทยานฯ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่า หากพิสูจน์ได้ทางราชการก็ต้องเพิกถอนพื้นที่ที่เขาอยู่ออกจากการเป็นเขตอุทยานฯ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่า"เลขาฯกฤษฎีกา ระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ประเสริฐ' แจงม็อบพีมูฟ ครม.เห็นชอบร่างพ.ร.ฎ. 2 ฉบับ แก้ที่ทำกินให้คนอยู่กับป่าได้

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(พีมูฟ) นำโดย นายจำนงค์ หนูพันธ์ ประธานและที่ปรึกษาพีมูฟ รวมตัวจัดกิจกรรมคัดค้านการพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 64 แห่งพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562

'เผ่าภูมิ' เผย ครม.อนุมัติโครงการสินเชื่อสร้างอาชีพ 1.5 หมื่นล้าน

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า กระทรวงการคลังได้เสนอ 2 เรื่องเข้าสู่ที่ประชุม โดยเรื่องที่ 1.เป็นเรื่องสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ เป็นโครงการของธนาคารออมสิน ยอดวงเงิน 15,000 ล้านบาท

ครม. ตั้ง 5 ข้าราชการการเมือง 'อ๋อม สกาวใจ' เป็นที่ปรึกษา รมว.วัฒนธรรม

น.ส.ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีแต่งตั้งคณะกรรมการเมือง ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เสนอ ประกอบด้วย

ครม. ไฟเขียววันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ปี 2568-2569

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2568 และปี 2569 โดย 1.กำหนดให้วันจันทร์ที่ 2 มิ.ย. 2568 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติม

ชาวบ้านลุกฮือ ค้าน พรฎ.ของกรมอุทยานฯ ชี้สร้างความขัดแย้งชุมชนกับภาครัฐ

ชมรมนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จ.แม่ฮ่องสอน ได้ทำหนังสือถึงนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เพื่อขอให้ยกเลิกการออกพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ

ฉีกสัญญาพีมูฟ 'กรมอุทยาน' ดันร่างกม.ลูกเข้า ครม.ส่อพิพาทป่าทับคนรุนแรงขึ้น

ส่อความขัดแย้งเพิ่ม พีมูฟเบรกร่างกม.ลูกกรมอุทยานฯ เข้า ครม . ชี้ยิ่งจุดชนวนสร้างข้อพิพาทป่าทับคนรุนแรงขึ้น