นายจ้างแฉส่วยระบบขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว เรียกเก็บเงินไร้ใบเสร็จ แถมล่าช้าทำหลุดระบบนับแสนคน

นายจ้างแฉส่วยระบบขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว เผยศูนย์ CI เรียกเก็บเงินไร้ใบเสร็จแถมทำงานไม่ทันเป็นเหตุลูกจ้างข้ามชาติหลุดจากระบบนับแสนคน

6 พ.ย.2567 - นางนิลุบล พงษ์พยอม ตัวแทนกลุ่มนายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าว (นายจ้างสีขาว)เปิดเผยถึงปัญหากระบวนการทำ CI (Certificate of Identity) เพื่อรับรองสถานบุคคลสำหรับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ โดยระบุว่ามีการเรียกเก็บเงินโดยไม่มีใบเสร็จรับเงิน อีกทั้งยังมีขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนและยุ่งยาก สร้างภาระให้กับทั้งนายจ้างและแรงงานในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซาและประสบปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัด จึงไม่ทันเวลาที่ต้องขึ้นทะเบียนให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2567 ทำให้แรงงานหลายแสนคนต้องหลุดออกจากระบบ

นางนิลุบล กล่าวว่า ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา นายจ้างประสบปัญหาคำสั่งซื้อลดลง ส่งผลให้ไม่มีการทำงานล่วงเวลา (OT) กระทบต่อรายได้ของลูกจ้างที่ต้องพึ่งพาเพียงค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ไม่มีเงินเก็บ ปัญหาสำคัญคือ มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่ออกมาไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงที่หลายจังหวัดประสบปัญหาน้ำท่วม อีกทั้งกระทรวงแรงงานไม่เคยเสนอแนวทางที่จะอำนวยความสะดวกในการดำเนินการตาม มติ ครม. ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว หรือการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน แม้ได้ยื่นหนังสือถึงสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว

นางนิลุบลกล่าวว่า แม้ทางหน่วยงานได้เคยทำหนังสือชี้แจงถึงความเป็นไปได้ในการขอมติ ครม. โดยไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการ CI ซึ่งเคยดำเนินการสำเร็จมาแล้วในอดีต แต่ปัจจุบันกลับมีการบรรจุเงื่อนไข CI เข้าไปในทุกมติ ครม. นอกจากนี้ ศูนย์ CI ที่เปิดให้บริการยังมีจำนวนจำกัดและกระจายตัวไม่ทั่วถึง ส่งผลให้แรงงานต้องเดินทางข้ามจังหวัดเพื่อดำเนินการ ปัจจุบันมีศูนย์ CI เพียง 7 แห่งทั่วประเทศ ไม่สอดคล้องกับการกระจายตัวของแรงงานที่มีอยู่ในทุกจังหวัด

“ในการขึ้นทะเบียนแรงงานที่เหลือประมาณ 400,000 คน พบปัญหาการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินอย่างเป็นทางการ ระบบการจองคิวทั้งแบบออนไลน์และ walk-in สำหรับการทำบัตรชมพู การตรวจลงตราวีซ่า หรือการทำ CI ขาดความโปร่งใสและเอื้อต่อการทุจริต โดยเฉพาะที่ศูนย์ CI สมุทรปราการ มีการเรียกเก็บเงินประมาณ 3,800-4,000 บาท โดยไม่มีใบเสร็จรับเงินจากภาครัฐ กระบวนการที่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน”นางนิลุบลกล่าว

ขณะที่ผู้ประกอบการรายหนึ่งที่จ้างแรงงานต่างด้าวกล่าวว่า หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกรมการจัดหางาน ไม่ได้เข้าไปควบคุมดูแลการดำเนินงานของศูนย์ CI อย่างเข้มงวด มักอ้างว่าเป็นความรับผิดชอบของประเทศต้นทาง แม้จะได้รับค่าสัมปทานจากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้เกิดปัญหาการขายคิว การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จ นอกจากนี้ยังมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการทำบัตรชมพูเพิ่มเติมอีก 500 บาทต่อราย

“ที่น่าห่วงคือการไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายในวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา แรงงานกลุ่มนี้กลายเป็นแรงงานผิดกฎหมายทันที โดยเฉพาะแรงงานในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีตัวแทนนายจ้างคอยช่วยเหลือ สำหรับกลุ่มแรงงานที่จะหมดอายุใบอนุญาตทำงานวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ก็ประสบปัญหาเช่นกัน เนื่องจากมติ ครม. กำหนดให้ต้องดำเนินการในรูปแบบ MOU ซึ่งต้องออกนอกประเทศและขอ Name List จากประเทศต้นทาง อีกทั้งยังมีเงื่อนไขการเสียภาษีให้กับประเทศต้นทาง ที่ต้องเปิดบัญชีธนาคารและโอนเงินกลับประเทศ ซึ่งธนาคารจะรับเฉพาะผู้มีบัตรชมพูและ ทร.38/1 เท่านั้น เราได้ทำหนังสือถึงสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว ชี้แจงว่าการดำเนินการแบบนี้สร้างความยากลำบากให้กับผู้ที่ไม่มีเงิน ควรตัดขั้นตอน CI ที่ไม่จำเป็นออกไป และปรับปรุงกระบวนการให้มีความโปร่งใสมากขึ้น”ผู้ประกอบการ กล่าว

ด้าน นางชะเว (นามสมมติ) แรงงานชาวพม่าวัย 30 ปี กล่าวว่า ทำงานในบริษัทใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร เป็นแรงงานที่ทำงานอย่างถูกกฎหมายมาโดยตลอด แต่เนื่องจากความไม่เข้าใจในระบบของการขึ้นทะเบียนแรงงานเพราะมีความซับซ้อนอีกทั้งต้องเดินทางบ่อย

"ฉันทำงานที่นี่ จ่ายภาษี มีประกันสังคม ทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่พอขั้นตอนที่ยุ่งยาก ดำเนินการทำยังไม่เสร็จและพลาดขึ้นทะเบียนไม่ทัน ตอนนี้ต้องกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมาย ไม่รู้จะทำยังไงต่อดี นอกจากนี้ยังมีเพื่อนแรงงานชาวพม่าอีกหลายคนที่ประสบปัญหาเดียวกัน บางคนถึงขั้นต้องยอมเป็นแรงงานเถื่อนทั้งที่เป็นแรงงานฝีมือและทำงานกับบริษัทมานาน”นางชเวกล่าว

ขณะที่ นายตูระ (นามสมมติ) แรงงานชาวพม่า วัย 28 ปี กล่าวว่า เป็นแรงงานที่จะหมดอายุใบอนุญาตทำงานวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 และต้องดำเนินการในรูปแบบ MOU ซึ่งต้องออกนอกประเทศเพื่อต่อ MOU จากประเทศพม่า แต่ตนไม่ได้เสียภาษีให้กับประเทศเพราะกังวลว่าเงินที่ต้องจ่ายภาษีจะไปเข้ากองทัพพม่าที่กำลังสู้รบกับกองกำลังชาติพันธุ์และฝ่าบต่อต้าน ซึ่งหากต้องเดินทางกลับไปต่อ MOU ก็ไม่มีสิทธิที่จะกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยอีก

“ผมไม่สามารถเดินทางกลับไปพม่าได้เพราะไม่อยากเสี่ยงต่อชีวิตและไม่การต้องจ่ายภาษีให้กับรัฐบาลทหารพม่า ผมมีความกังวลว่าเงินเหล่านี้จะถูกนำไปสนับสนุนกองทัพที่มีการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน ความคาดหวังคือจากรัฐบาลไทยควรพิจารณาปรับปรุงกฎหมายแรงงานเพื่อให้แรงงานต่างด้าวสามารถต่ออายุใบอนุญาตทำงานได้โดยไม่ต้องออกนอกประเทศ” นายตูระกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม มอบเงินช่วยเหลือ ผู้รับเหมา ผู้ประกันตนที่เสียชีวิตเหตุอาคารถล่ม ปราจีนบุรี แล้ว “พิพัฒน์” กำชับดูแลสิทธิประโยชน์ให้ทายาท

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กำชับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ เหตุการณ์อาคารโรงงานถล่มในนิคมอุตสาหกรรม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี วันที่ 30 ธันวาคม 2567 ทับคนงานของผู้รับเหมาที่กำลังปฏิบัติงาน เสียชีวิต 5 ราย พร้อมมอบให้สำนักงานประกันสังคม

“พิพัฒน์” ห่วงใย เหตุเครื่องบินตกรันเวย์ สนามบินมูอัน เกาหลีใต้ มอบ ประกันสังคมเยียวยาทายาทผู้เสียชีวิตชาวไทย กว่า 1.8 แสนบาท .

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ได้เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินของสายการบินเจจูแอร์ ไถลออกนอกรันเวย์ ของท่าอากาศยานนานาชาติมูอัน สาธารณรัฐเกาหลี

กระทรวงแรงงาน มอบของขวัญปีใหม่ 2568 ลูกจ้าง นายจ้าง กว่า 20 ล้านบาท

เมื่อเข้าสู่เทศกาลปีใหม่แต่ละกระทรวงได้เตรียมของขวัญให้แก่พี่น้องประชาชน เมื่อเร็วๆ นี้ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ข่าวดี ! ผู้ประกันตนรับเงินสงเคราะห์บุตรเพิ่มเป็นหนึ่งพันบาทต่อบุตรหนึ่งคน มีผลบังคับใช้มกราคม 68

นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เผยว่าตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคมศึกษาการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร เพื่อส่งเสริมการมีบุตรให้กับผู้ประกันตน ด้วยสาเหตุจากประเทศไทยมีอัตราการเกิดของประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง

ตอบเคลียร์ “พิพัฒน์” แจงกระทู้ถามสด กรณีศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคล (CI) จะขยายเวลาลงทะเบียน อำนวยความสะดวกไม่ต้องบินกลับประเทศ

วันที่ 26 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตอบกระทู้ถามสด ของ นายสหัสวัต คุ้มคง สส.พรรคประชาชน ในสภาผู้แทนราษฎร

ข่าวดี รมว.แรงงาน “พิพัฒน์” จัดเต็มของขวัญปีใหม่ปี 68 มอบประกันสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้ประกันตน “ตรวจและรักษามะเร็งฟรี SSO Cancer Care”

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงาน ได้มอบนโยบายสำคัญให้สำนักงานประกันสังคมดูแลสุขภาพด้านการรักษาที่มีคุณภาพครอบคลุมทุกโรคให้แก่ผู้ประกันตนทุกคนอย่างดี