ลมหนาวระลอกใหม่ 9-11 พ.ย. อุณหภูมิลดลง 1-3 องศา กทม.ต่ำสุด 22 องศา

6 พ.ย.2567 - กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 6 – 11 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิลดลงอีก 1 - 2 องศาเซลเซียส

ในขณะที่ในช่วงวันที่ 6 – 8 พ.ย. 67 จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเมียนมาและด้านตะวันตกของภาคเหนือ ประกอบกับยังคงมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ในระดับบนพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางแห่ง และฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน

สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านอ่าวไทยตอนล่าง ภาคใต้ตอนล่าง และทะเลอันดามันตอนล่าง ประกอบกับในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ย. 67 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมที่พาดผ่านในบริเวณดังกล่าว ในขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

หลังจากนั้นในวันที่ 12 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในภาคเหนือตอนบน

สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง และประเทศมาเลเซีย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองทางตอนล่างของภาค ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “หยินซิ่ง” บริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มเคลื่อนผ่านตอนบนของประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนในช่วงวันที่ 7 – 8 พ.ย. 67 และคาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ตอนใต้ของเกาะไหหลำ ประเทศจีน และชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 10 – 12 พ.ย. 67 โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยแต่มีแนวโน้มอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนาม เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมในบริเวณดังกล่าว ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย

ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 8 พ.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร และในช่วงวันที่ 8 – 10 พ.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 6 – 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 6 – 8 พ.ย. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.

ในช่วงวันที่ 9 – 12 พ.ย. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 6 – 8 พ.ย. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม.

ในช่วงวันที่ 9 – 11 พ.ย. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17 – 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.

หลังจากนั้นในวันที่ 12 พ.ย. 67 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 – 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 6 – 8 พ.ย. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง โดยมีฝน/ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.

ในช่วงวันที่ 9 – 11 พ.ย. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.

หลังจากนั้นในวันที่ 12 พ.ย. 67 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 – 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 6 – 8 พ.ย. 67 อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค กับมีลมแรง โดยมีฝน/ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียส

ในช่วงวันที่ 9 – 11 พ.ย. 67 อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค และอุณหภูมิจะลดลง 1 – 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากตามแนวชายฝั่งทะเล อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

หลังจากนั้นในวันที่ 12 พ.ย. 67 มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 – 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 6 - 11 พ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 8 – 11 พ.ย. 67 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

หลังจากนั้นในวันที่ 12 พ.ย. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 – 33 องศาเซลเซียส


ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 34 องศาเซลเซียส

กรุงเทพและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 6 – 8 พ.ย. 67 มีฝน/ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.

ในช่วงวันที่ 9 – 11 พ.ย. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 – 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.

หลังจากนั้นในวันที่ 12 พ.ย. 67 มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 – 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)

ลมหนาวมาต่อเนื่อง กรมอุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อุณหภูมิลดฮวบ 2-4 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉ.1 พายุไต้ฝุ่น ‘หม่านหยี่’ บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน

พายุไต้ฝุ่น “หม่านหยี่” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 17.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 118.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

อากาศเปลี่ยนแปลง ‘กทม.’ อุณหภูมิลดลง ‘เหนือ-อีสาน’ หนาวเย็น ‘ภาคใต้’ ฝนตก

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว