ครม.อนุมัติร่างกฎกระทรวงเก็บเงินเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ชดเชย 2 กรณี ลาออก-ตาย

ครม.มีมติเห็นชอบหลักการร่างกฎกระทรวงแรงงาน ให้ "นายจ้าง-ลูกจ้าง" ส่งเงินเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ต.ค.68 เป็นต้นไป กำหนด 5 ปีแรก เรียกเก็บฝ่ายละ 0.25% ของค่าจ้าง โดยชดเชยใน 2 กรณี "ออกจากงานหรือตาย"

5 พ.ย.2567 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) และร่างกฎกระทรวงรวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ได้แก่ พ.ร.ฎ.กำหนดระยะเวลา เริ่มดำเนินการ จัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบทุนกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ.... โดยกำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสะสม และเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 68 เป็นต้นไป

ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสะสมและเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ.... ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.68 เป็นต้นไป โดยกำหนดอัตราเงินสะสมจากลูกจ้างและเงินสมทบจากนายจ้างที่แต่ละฝ่าย จะต้องนำส่งเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ดังนี้ (1) ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค 68- 30 ก.ย 73 ลูกจ้างและนายจ้าง ต้องนำส่ง เข้ากองทุนฯ ในอัตราร้อยละ 0.25 ของค่าจ้าง (2) ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค 73 เป็นต้นไปลูกจ้างและนายจ้าง ต้องนำส่งเข้ากองทุน ในอัตราร้อยละ 0.5 ของค่าจ้าง

ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในกรณีที่ ลูกจ้างออกจากงานหรือตาย พ.ศ. ... ทั้งนี้หากนายจ้างไม่ได้จัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และไม่ได้จัดให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง นายจ้างต้องจัดให้มีการส่งของลูกจ้างตามหลักเกณฑ์ในร่างกฎกระทรวงนี้ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 68 เป็นต้นไป

เนื่องด้วย เศรษฐกิจปัจจุบัน มีความไม่แน่นอน ส่งผลให้สถานประกอบกิจการหลายแห่ง มีการเลิกจ้างลูกจ้าง ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และเป็นหลักประกันในการทำงานให้กับลูกจ้างกรณีต้องออกจากงานหรือตาย จึงต้องมีการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบ เพื่อเป็นเงินสงเคราะห์ลูกจ้างในกรณีดังกล่าว โดยกำหนดให้นายจ้าง หักค่าจ้างลูกจ้าง เพื่อเป็นเงินสะสม และให้นายจ้าง จ่ายเงินสมทบตามอัตรา ที่นายจ้างและลูกจ้างถูกลงทุนไว้ โดยเมื่อลูกจ้างลาออกหรือเกษียณอายุ หรือตกลงเลิกสัญญา ให้นายจ้าง มีหน้าที่คืนเงินสะสม และเงินสมทบพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้าง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครม. ไฟเขียวขึ้นค่าแรง 400 บาท ประเดิม 4 จังหวัด 1 อำเภอ มีผล 1 ม.ค.68

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.รับทราบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2568 ตามมติคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22

รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขา อารี ลงพื้นที่ จ.ระยอง เปิดอาคาร สปส. สาขาปลวกแดง สร้างความเชื่อมั่น พร้อมยกระดับการให้บริการ

ในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

”พิพัฒน์“ เปลี่ยนกระทรวงสู่ยุคAI สร้างทักษะการใช้ AI บริการหางาน พัฒนาฝีมือ แจ้งข้อร้องเรียน รับสิทธิประกันสังคม ให้สะดวก รวดเร็วขึ้น .

วันที่ 23 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในงานการประชาสัมพันธ์ด้านปัญญาประดิษฐ์และการนำไปใช้สำหรับบุคลากรภาครัฐ (Kick off Artificial Intelligence Literacy for Government officer)

"พิพัฒน์" รมว. แรงงาน มอบ "มารศรี" เลขาธิการ สปส. รุดตรวจสอบ พร้อมให้การช่วยเหลือลูกจ้างประสบเหตุถังแก๊สระเบิดโรงงานเหล็ก จังหวัดระยอง

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 67 เวลาประมาณ 09.40 น. เกิดเหตุการณ์ถังแก๊สระเบิด และเกิดเพลิงไหม้โรงงานผลิตเหล็ก ของบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 8 ราย

“พิพัฒน์” นำกระทรวงแรงงาน Roadshow Matching งานให้คนไทย เพิ่มโอกาสทำงานต่างประเทศ เปิดที่แรกกรุงโตเกียว

วันที่ 19 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรือเอก สาโรจน์ คมคาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน

“พิพัฒน์” เยือนญี่ปุ่น ถกรัฐมนตรีแรงงาน นายจ้างญี่ปุ่นต้องการแรงงานทักษะ16 สาขา 820,000คน ที่แรกกรุงโตเกียว

วันที่ 19 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงานเข้าพบเข้าพบ Mr. Takamaro FUKUOKA