3 พ.ย. 2567- ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล โพสต์ว่า มาถึงวันนี้ ฟูจิซังก็ยังไม่มีหิมะ ไม่ใช่แค่ครั้งแรกในรอบ 130 ปี ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ด้วยซ้ำ เพราะสถานีตรวจวัดเริ่มตั้งในค.ศ.1894 ก่อนหน้านั้นเราไม่รู้
เหตุผลแสนง่าย เพราะโลกกำลังร้อนจัด ช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมาของญี่ปุ่นคือร้อนจัดที่สุดในประวัติศาสตร์ อุณหภูมิสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยถึง 1.76 องศา ! (เฉลี่ย 30 ปี 1991-2020)
ความร้อนยังส่งผลต่อมาถึงตุลาคม เมืองต่างๆ 74 เมืองในญี่ปุ่นร้อนเกือบ 30 องศา ทะลุสถิติเกณฑ์เฉลี่ยในอดีต
แม้แต่ปีที่แล้วเป็นช่วงเอลนีโญ หิมะยังตกบนยอดฟูจิตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม ปีนี้เป็นปีปรกติกึ่งลานินญา หิมะยังไม่มาจนถึงบัดนี้
ว่าง่ายๆ คือเลตไปเกือบเดือนแล้วจ้ะ แล้วก็ยังไม่มีครั้งไหนในประวัติศาสตร์ที่หิมะไม่ตกบนยอดฟูจิในเดือนตุลาคม
ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า หากมนุษย์ยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบนี้ต่อไป หน้าหนาวจะสั้นลงเรื่อยๆ หิมะจะหายไปและหายไป ยอดเขาหลายแห่งจะไม่มีหิมะอีกแล้ว
ตัวอย่างง่ายสุดคือคิลิมันจาโร ยอดเขาสูงสุดในแอฟริกา สูงกว่าฟูจิตั้ง 2,000+ เมตร (3,776/5,895)
ยอดเขาเคยปกคลุมด้วยหิมะเห็นเป็นสีขาวแต่ไกล ผมยืนยันได้เพราะเคยเห็นมาแล้วสมัยไปแอฟริกาครั้งแรก (40+ ปีก่อน) ยังถ่ายภาพช้างกับยอดเขาหิมะไว้เลยครับ ถือเป็นชอตเด็ดของช่างภาพในยุคนั้น
มาสมัยนี้ มองวิวจากข้างล่าง แทบไม่เห็นหิมะแล้ว ต้องปีนขึ้นไปดูข้างบน ใครอยากเห็นต้องรีบปีน เพราะในอีก 10-15 ปี จะไม่มีหิมะเหลือให้ดูอีกเลย หมดเกลี้ยง บ๋อแบ๋
ยังมีข่าวเรื่องยอดเขาในฮาวายมีหิมะตก คงต้องอธิบายว่า Mauna Kea สูง 4,207 เมตร สูงกว่าฟูจิหลายร้อยเมตร แม้เป็นภูเขาในเขตร้อน แต่หิมะตกได้เนื่องจากสูงมาก
ผมเคยไปยอดเขาเพื่อดูลาวา ตอนนั้นก็มีหิมะบางๆ แต่อาจไม่เห็นเป็นยอดหิมะเหมือนฟูจิ
สุดท้ายคือข่าวหิมะจะตกในเมืองไทย ถ้าเป็นแบบวูบๆ ตามยอดดอยสูง ก็เคยมีตกนะครับ ผมยังเคยเห็นรูปหิมะบนหลังคาบ้านที่ทำการเขาใหญ่
แต่ถ้าเป็นกรุงเทพหรือที่ราบ บอกได้ว่าเสียใจ ไม่มีหรอก อยากเก่งก็ลูกเห็บตกซึ่งมีเป็นระยะอยู่แล้ว และไม่ได้เกี่ยวอะไรกับความหนาว
ทั้งหมดนี้คงทำให้เพื่อนธรณ์เข้าใจสถานการณ์ โลก แต่เพื่อความชัวร์ เดี๋ยวธรณ์จะไปดูที่ญี่ปุ่นให้เองฮะ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.ธรณ์ แจ้งพายุ ‘จ่ามี’ อีสานล่างโดนแล้ว ‘อุบลฯ’ มาแต่เช้า เคลื่อนเข้า ‘โคราช-ขอนแก่น’
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม
'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์
เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม
'ดร.ธรณ์' ดึงสติ ไม่ต้องตื่นตระหนกพายุลูกใหญ่ถล่ม หากมาจริงจะแจ้งล่วงหน้า
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
พายุเข้ามาที่ชายฝั่งเวียดนาม 'ดร.ธรณ์' แนะหน่วยงานในพื้นที่เตรียมตัวแจ้งเตือนหากฉุกเฉิน
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
'ดร.ธรณ์' เปิดภาพ 'ไต้ฝุ่น ยางิ' เห็น Eye of a storm ชัดเจน เหนือ อีสาน เตรียมรับมือ
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า
'ดร.ธรณ์' เปิดข้อมูล 'สี่เทพโลมา' ที่จะสู้ 'ปลาหมอคางดำ' หากลงมาสู่ทะเล
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีปลาหมอคางดำลงทะเล ก็มี 4 เทพจัดการ ว่า