3 พ.ย. 2567 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ทนายความจิตอาสาจริง ๆ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อทนายความ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงการมีอยู่จริงของทนายความจิตอาสาที่ช่วยเหลือประชาชนด้วยใจ ไม่สนใจผลประโยชน์หรือการสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 52.44 ระบุว่า มีจริง แต่ไม่มากเท่าไร รองลงมา ร้อยละ 26.56 ระบุว่า ไม่มั่นใจว่ามีจริง ร้อยละ 16.88 ระบุว่า ไม่มีจริง และร้อยละ 4.12 ระบุว่า มีจริง จำนวนมาก
ด้านบุคคลหรือหน่วยงานที่ประชาชนไว้ใจในการขอความช่วยเหลือหากไม่มั่นใจในความยุติธรรมจากคดีความที่ฟ้องร้องผู้อื่นหรือถูกผู้อื่นฟ้องร้อง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.06 ระบุว่า ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย รองลงมา ร้อยละ 21.83 ระบุว่า ชมรม สมาคม มูลนิธิ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 19.16 ระบุว่า สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด ร้อยละ 13.44 ระบุว่า ไม่ไว้ใจใครเลย ร้อยละ 11.68 ระบุว่า ทนายอาสาจากสภาทนายความ ร้อยละ 11.37 ระบุว่า ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 ร้อยละ 9.01 ระบุว่า ทนายทั่วไป ร้อยละ 8.17 ระบุว่า ทนายอาสาจากเนติบัณฑิตยสภา ร้อยละ 6.87 ระบุว่า ทนายที่มีชื่อเสียง ร้อยละ 1.60 ระบุว่า นักการเมือง และร้อยละ 4.96 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อสังคมออนไลน์
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความไว้วางใจของประชาชนต่อความช่วยเหลือที่จะได้รับจากการใช้บริการหรือขอคำปรึกษาจากทนายความ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.06 ระบุว่า ค่อนข้างไว้วางใจ รองลงมา ร้อยละ 36.11 ระบุว่า ไม่ค่อยไว้วางใจ ร้อยละ 12.52 ระบุว่า ไม่ไว้วางใจเลย ร้อยละ 8.78 ระบุว่า ไว้วางใจมาก และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โพลชี้ ปี 67 คนเหนื่อยหน่าย ‘รายได้ต่ำ-เศรษฐกิจตก’
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา”
คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด
นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด
ผลโพลสูสี คนอยากแก้ กับ ไม่อยากแก้ 'รธน.' มีใกล้เคียงกัน
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
‘เทพไท’ สะท้อนประสบการณ์ตรง ‘ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์การเมือง’ ทำได้แค่ไหน
ในฐานะผู้มีประสบการณ์ตรง และถูกศาลอาญาพิพากษาตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี จนถูกคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) ห้ามใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งในทุกกรณี
'นิด้าโพล' ชี้ประชาชน กว่า 61% ไม่เห็นด้วยกับโทษยุบพรรค ในคดีล้มล้างการปกครอง
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
โพลชี้คนเกินครึ่งไม่เข้าใจ MOU44 - เกาะกูด
นิด้าโพลเผยผลสำรวจประเด็น MOU 44 และเกาะกูด พบว่าประชาชนไม่เข้าใจเลย สูงถึง 58.86% และส่วนใหญ่ไม่ต้องการเข้าใจข้อโต้แย้งและสถานการณ์ที่ชัดเจน ส่วนคนที่เข้าใจมากและค่อนข้างเข้าใจ ชี้ 1 ใน 3 ไม่ไว้วางใจรัฐบาลปกป้องผลประโยชน์ของชาติได้