โฆษก มท. เผยมติ ครม. 29 ต.ค. 67 เป็นการเร่งรัดแก้ปัญหาคนไทยที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ไม่ใช่การให้สัญชาติคนต่างด้าว ย้ำทั้ง 4.8 แสนรายยังต้องผ่านขั้นตอนตามกฎหมาย และเพิกถอนได้ทันทีกรณีขาดคุณสมบัติ
31 ต.ค.2567 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติ และสถานะให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาในอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 67 ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม และมีบางส่วนที่ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนนั้น
ในข้อเท็จจริงแล้ว มติ ครม. ดังกล่าวเป็นการปรับแก้หลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร ให้มีขั้นตอนและระยะเวลาใหม่เพื่อให้เร่งรัดกระบวนการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่ใช้บังคับก่อนอยู่แล้ว มิได้เป็นการยกเว้นการต้องดำเนินการตามข้อกฎหมายที่อยู่แต่อย่างใด และในปัจจุบันบุคคลทั้ง 2 กลุ่ม ตามมติ ครม. ก็เป็นผู้ที่ได้ยื่นต่อทางการและอยู่ในกระบวนการเพื่อขอมีถิ่นที่อยู่ถาวร และขอมีสัญชาติแล้ว
"ตามหลักเกณฑ์ที่สภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอต่อ ครม. และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการต่อนี้ ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ด้วยว่ากรณีบุคคลที่ได้รับสัญชาติไทยตามมติ ครม. ได้รับสัญชาติแล้ว ปรากฏในภายหลังว่า มีพฤติกรรมหรือคุณสมบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย เช่น มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชนหรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสามารถถอดถอนสัญชาติไทยในภายหลัง ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติได้" น.ส.ไตรศุลี กล่าว
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า หลักเกณฑ์ฯ ที่ผ่าน ครม. เป็นการดำเนินการตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการสร้างความเท่าเทียมในชีวิตขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวเป็นกลุ่มที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ก่อนปี พ.ศ. 2542 จำนวน 3.4 แสนคน และเป็นคนไทยที่เกิดในประเทศไทย จำนวน 1.4 แสนคน แต่ติดเงื่อนไขจากกฎหมายในอดีต ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างคนไทยได้ตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมา เพราะไม่มีสถานะทางทะเบียน ไม่ใช่เป็นการให้สัญชาติแก่คนต่างด้าวแต่อย่างใด
ทั้งนี้ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้สำรวจจัดทำทะเบียนประวัติของกลุ่มคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยไว้ในอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2542 และสำรวจเพิ่มเติมตั้งแต่ปี 2548 - 2554 พบว่ามีกลุ่มคนไร้สัญชาติคงเหลืออยู่ทั้งสิ้น ประมาณ 4.8 แสนราย อาทิ ชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน มากกว่า 20 ปี จำนวน 19 กลุ่ม ในจำนวนนี้ เป็นบุคคลบนพื้นที่สูงและชุมชนบนพื้นที่สูง ประมาณ 124,000 ราย รวมถึงผู้ที่ตกหล่นจากการสำรวจในอดีตประชากร ประมาณ 215,000 คน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรของชนกลุ่มน้อย 29,000 คน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรของบุคคลที่ไม่มีสถานะตามทะเบียนประมาณ 113,000 คน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ณฐพร' ซัด 'มหาดไทย' ยุค 'ศรีธนญชัย' ฟันธง 'ที่ดินเขากระโดง' จะถูกโทษเช่นเดียวกับคดีจำนำข้าว
ดร.ณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เผยแพร่ข้อความกรณี กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง ว่า
'อนุทิน' ยันไม่คิดเอาคืนใคร ปมที่ดินเขากระโดงอย่าโยงการเมือง ไม่อย่างนั้นก็หมดสภาฯ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงข้อพิพาทพื้นที่เขากระโดงระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกรมที่ดิน ซึ่งกระทรวงคมนาคมยืนยันสิทธิ์ตามกฎหมาย
“ผู้ประกอบการ ราชบุรี” ชม “อนุทิน” ฟื้นกีฬาวัวลาน ให้แข่งตอนกลางคืน มั่นใจ เป็นงานเฟสติวัลระดับโลก
จากกรณีที่กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวง ให้การแข่งขันวัวลานจัดขึ้นในเวลากลางคืน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 โดยล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางไปเปิดการแข่งขันวัวลานที่
กมธ.ที่ดินฯ วืดสอบเขากระโดง องค์ประชุมไม่ครบ
กรรมาธิการ(กมธ.)ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโดยนายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานกมธ. , นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สส.ภูเก็ต พรรคประชาชน ในฐานะโฆษกกมธ
'ภูมิธรรม' แบ่งงาน 'บิ๊กแป๊ะ-บิ๊กรอย-สุรสิทธิ์-ธิติรัฐ' ลุยงานมั่นคง
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้นำนายธิติรัฐ อดิศรพันธ์กุล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองของนายภูมิธรรม พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ ที่ปรึกษารองนายกฯ
มท.2 คิ๊กออฟปล่อยคาราวานโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ 69 จังหวัด
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ บริเวณอาคารรังวัดและทำแผนที่ กรมที่ดิน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วย นายสมเกียรติ กิจเจริญ คณะทำงานฯ