30 ต.ค. 2567 - .ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่..พ.ศ… หรือกฎหมายห้ามตีเด็ก ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยเป็นการพิจารณาวาระที่2 และวาระที่3
นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ประธานกมธ.ฯ ชี้แจงว่า ในที่ประชุมกมธ.ได้มีการถกเถียงกัน โดยกมธ.เสียงข้างมากให้มีวลีที่ว่า “ไม่เป็นการเฆี่ยนตี”ส่วนกมธ.เสียงข้างน้อย เห็นว่าไม่ต้องมีข้อความว่าเป็นการเฆี่ยนตี นอกจากนี้กมธ.ได้มีข้อสังเกตเพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงกฎหมายในความรับผิดชอบ และดำเนินกการให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โดยที่ประชุมแสดงความคิดเห็นว่า การทำโทษบุตรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน หรือปรับพฤติกรรม โดยต้องไม่เป็นการกระทำทารุณกรรมหรือทำร้ายด้วยความรุนแรงต่อร่างกาย จิตใจ หรือกระทำโดยมิชอบ เช่น น.ส.ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สส.กทม. พรรคประชาชน อภิปรายว่า การไม่ตีเด็ก หรือการทารุณกรรม ยังเป็นหลักการสากลที่ยอมรับกัน และในฐานะที่ตนมีลูก 2 คน ตั้งแต่เขาเกิดมาจนถึงตอนนี้ ตนยังไม่เคยตีลูกเลยแม้แต่ครั้งเดียว และเชื่อว่าถ้าเราไม่ตีลูกก็สามารถสั่งสอนด้วยวิธีการอื่นได้ หากในบ้านยังมีการตีเพราะความรัก หรือเพื่อการสั่งสอน เราจะไม่สามารถสอนบุตรหลานของเราในอนาคตได้เลยว่าการทำร้ายกันนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะฉะนั้นการเขียนปกป้องเด็กระบุไปในกฎหมายแพ่งครั้งนี้ เป็นเพียงเราต้องการจะจุดประกายในการที่จะเริ่มต้นคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่จะเป็นบุคลากรของประเทศในอนาคต ที่จะปลอดภัย จาการถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจ และอยากจำว่าปัญหาของสังคมที่เกิดขึ้นก็เกิดจากการบ่มเพาะในวัยเด็กตั้งแต่ 0-6 ขวบ ที่อาจจะได้รับการเลี้ยงดูมาไม่สมบูรณ์ มีการตีหรือมีการทำร้าย ทำให้เกิดปัญหาในสังคมในปัจจุบัน
ด้านนายณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะกรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า ในกมธ.มีการถกเถียงกันมาก และเสียงข้างมาก ยังยืนยันว่าอยากให้มีการใส่คำว่า”ไม่เป็นการเฆี่ยนตี”ในกรณีการลงโทษ หรือการปรับพฤติกรรมของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง แม้กมธ.เสียงข้าน้อยจะตัดคำว่า “ไม่เป็นการเฆี่ยนตี”ออกไป ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ปกครองจะสามารถเฆี่ยนตีบุตรได้ เพราะการเฆี่ยนตีเป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้ในการสนับสนุนการเลี้ยงดูบุตรเชิงบวกหรือแม้กระทั้งการเฆี่ยนตีด้วยความรุนแรงที่ส่งผลต่อร่างกาย และจิตใจนั้นก็ย่อมมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก หรือประมวลกฎหมายอาญาอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ที่ประชุมลงมติเห็นด้วยกับเสียงข้างน้อย 253 เสียงให้ตัดคำว่า“ไม่เป็นการเฆี่ยนตี” เห็นด้วยกับเสียงข้างมาก ให้ใส่คำว่า “ไม่เป็นการเฆี่ยนตี” 145 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง
จากนั้นเป็นการลงมติวาระ 3 ที่ประชุมเห็นด้วย 391 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง ไม่ลงคะแนน 5 เสียง ถือว่าที่ประชุมเห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ และเห็นด้วยกับข้อสังเกตุ จากนั้นจะส่งร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวให้วุฒิสภา พิจารณาต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จบข่าว! สภาโหวตคว่ำข้อสังเกต กมธ.นิรโทษกรรม 'ชลน่าน-พิเชษฐ์' หวิดวางมวย
ประชุมสภาฯ หวิดปะทะ “ชลน่าน” อารมณ์ขึ้นชี้หน้า “รองพิเชษฐ์” โต้ “อยากเป็นให้ขึ้นมา” สุดท้ายได้โหวต คว่ำข้อสังเกตรายงานนิรโทษกรรม ส่งให้รัฐบาลเฉพาะตัวรายงานอย่างเดียว
สภาฯเถียงกันวุ่น 'กฎหมายห้ามตีเด็ก' ก่อน กมธ.ยอมถอนร่างกลับไปทบทวนใหม่
ที่รัฐสภา มีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. ... ซึ่งมีนายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญ ในวาระสอง
'วันนอร์' บอกเป็นเรื่องส่วนตัว 'ประวิตร' ไม่มาประชุมสภาฯ หากมีธุระ-ป่วยต้องส่งใบลา
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการตั้งข้อสังเกตเรื่องการเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎรของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)
วิป 3 ฝ่าย เคาะวันแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา 12-13 ก.ย.นี้
มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการกำหนดวันแถลงนโยบายรัฐบายต่อรัฐสภา ล่าสุด เมื่อช่วงเย็นมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ เนื่องจากในวันที่ 11 ก.ย. จะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ค
เริ่มแล้ว สภาฯถกวาระ 2 ร่างกม.งบฯ68 ปรับลด 7.8 พันล้านบาท เพิ่มให้ 10 หน่วยงาน
เมื่อเวลา 09.30 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่สอง เป็นประธานกา
ฉับไว! เคาะ 16 สิงหา เลือกนายกฯ สะพัด เพื่อไทยส่งชื่อ 'ชัยเกษม นิติสิริ'
ว่าที่ร.ต.ต.อาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงสส.ทุกคน ที่ สผ 0014/ผ 49 ลงวันที่ 14ส.ค.2567 ระบุว่า ด้วยประธานสภาผู้แทนราษฎรได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการนัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 16 สิงหาคม 2567