29 ต.ค. 2567 - นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนออนุมัติหลักเกณฑ์ เพื่อเร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหาสัญชาติ, สถานะของกลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาในไทยเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย
โดยปัจจุบัน มีกลุ่มผู้อพยพเข้ามาเป็นเวลานาน ที่มีการสำรวจตั้งแต่ พ.ศ. 2527-2542 ประมาณ 120,000 คน และเป็นอีกหนึ่งกลุ่มอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน ซึ่งมีการสำรวจตั้งแต่ปี 2548-2554 มีประมาณ 215,000 คน กลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรของชนกลุ่มน้อย 29,000 คน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักรของบุคคลที่ไม่มีสถานะตามทะเบียนประมาณ 113,000 คน รวมทั้งหมดประมาณ 483,000 คน
การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันนี้ เพื่อเป็นการลดขั้นตอนมอบสัญชาติให้กับบุคคลเหล่านี้ ที่ต้องใช้ระยะเวลาถึง 44 ปี เนื่องจากปัจจุบันการให้สัญชาติไทยให้กับบุคคลข้างต้น จะเป็นการยกเลิกขั้นตอนต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งมีข้อสังเกตจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ หากให้สัญชาติไทยกับบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานาน ว่าจะเกิดผลกระทบใดตามมาหรือไม่ ประมาณ 2-3 ข้อ
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามที่ สภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ และส่งให้กระทรวงมหาดไทย ประกาศบังคับใช้ในรายละเอียดไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน
ทั้งนี้ ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจำนวนกว่า 400,000 คนที่อยู่ในไทยอยู่แล้ว เป็นบุคคลที่อยู่มานาน และมีบ้านอาศัย สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งการที่ทำให้ถูกต้องบุคคลเหล่านี้ จะสามารถสัญจรไปมาได้ กระตุ้นเศรษฐกิจได้ และรู้ถิ่นฐานที่อยู่ของบุคคลเหล่านี้ได้ ซึ่งที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี เล็งเห็นว่าเป็นประโยชน์ และมีการสอบถามความรอบคอบจากหลายหน่วยงานมาก่อนแล้ว
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติในหลักการตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) เสนอ คือหลักเกณฑ์การเร่งรัดแก้ไขปัญหาสัญชาติ และสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มที่เกิดในราชอาณาจักร ที่ปัจจุบันมีชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ อยู่ในไทยจำนวนทั้งสิ้น 825,635 ราย โดยคงเหลือบุคคลที่รอการพิจารณากำหนดสถานะ จำนวน 483,626 ราย สมช.จึงขออนุมัติหลักเกณฑ์ ซึ่งยึดกรอบตามหลักเดิม แต่เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหลักเกณฑ์เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความรวดเร็ว เช่น การปรับระยะเวลาในการดำเนินงานในภาพรวม จากเดิมต้องใช้เวลา 270 วัน เปลี่ยนเป็น 5 วัน ซึ่งเรื่องนี้เป็นไปตามกระบวนการที่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องพิจารณา และหามาตราการป้องกันในทุกประเด็นตามกฎหมาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วางคิว ‘นายกฯอิ๊งค์’ ลงพื้นที่แม่สายเดือนพ.ย. ก่อนประชุม ครม.สัญจรครั้งแรก จ.เชียงใหม่
ในเดือนหน้า นายกฯมีกำหนดลงพื้นที่ตรวจราชการที่ จ.เชียงราย และเป็นประธานประชุม ครม.สัญจร ที่จ.เชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นการประชุม ครม.สัญจรนัดแรกของรัฐบาลชุดนี้
‘รัฐบาล’ ปลื้มนิด้าโพล ประชาชนเชื่อมั่น ‘นายกฯอิ๊ง’ นำ รบ.อยู่ครบเทอม
รัฐบาลขอขอบคุณ ประชาชนที่ตอบแบบสอบถามของศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในหัวข้อเรื่อง 'รัฐบาลนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ไปไหวไหม'
'แพทองธาร' เตรียมถก กกร. วางแผนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
”แพทองธาร“ พร้อมจับเข่าคุย คกก.ร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
โฆษกรบ. โชว์สินค้าเกษตรของไทยขึ้นแท่นเบอร์ 1 อาเซียน
โฆษกรบ. เผย สินค้าเกษตรขึ้นแท่นที่ 1 อาเซียน ติดอันดับ 8 ของโลก หลัง 8 เดือน ส่งออกพุ่ง4.3แสนล้านบาท นายกฯสั่ง เร่งลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรค ดันติด Top5 โลกให้ได้ต้นปีหน้า
ศปช. เผยฝนตกหนักเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เตือนอ่างทอง-อยุธยา ระดับน้ำเพิ่มสูง 30-50 ซม.
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. เปิดเผยว่า วันนี้ (25 ต.ค.) กรมชลประทานได้เพิ่มการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา
ศปช. เตือน 11 จังหวัดท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เตรียมรับมือน้ำสูงขึ้น 30-50 ซม.
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. เปิดเผยว่า จากปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนเจ้าพระยาในพื้นที่บริเวณจังหวัดอุทัยธานี