28 ต.ค.2567-ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ทำเนียบรัฐบาล เครือข่ายชาวเลอันดามัน นำโดย นายวิทวัส เทพสง ผู้ประสานงานฯ พร้อมตัวแทน 10 คน ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ผ่านนายสมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ โดยเรียกร้องกรณี
เมื่อรัฐบาลโอบกอดกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวเลถอนสมอคืนถิ่นอันดามัน ผลักดันนโยบายสู่การปฏิบัติเป็นเวลายาวนานถึง 25 วัน ที่เครือข่ายชาวเล อันดามัน ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการตั้งถิ่นฐานและประวัติศาสตร์ร่วมมาก่อนเป็นรัฐสยาม มีประชากรเครือญาติ 3 เผ่า (ชนเผ่ามอแกน มอแกลนและอูรักลาโว้ย) จำนวนประชากร 14,367 คน เดินทางข้ามน้ำข้ามเกาะกว่าพันกิโลเข้ามากรุงเทพฯ ศูนย์รวมอำนาจทั้งบริหาร ตุลาการและนิติบัญญัติ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งการสูญเสีย ไม่มั่นคงในที่ดินที่อาศัย ที่ทำกินทั้งบนบกและในทะเล พื้นที่ทางความเชื่อและจิตวิญญาณ สุสาน ไร้สิทธิสถานะ ถูกกดทับและอคติทางชาติพันธุ์ เข้าไม่ถึงสวัสดิการและการบริการของรัฐ ยากจน เปราะบางขาดศักยภาพในการร่วมพัฒนาประเทศและถูกมองว่าถ่วงความเจริญ ด้วยการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนและความเป็นสากลของประเทศไทย มีการศึกษาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันของเครือข่ายภาคประชาชน องค์กรเอกชน นักวิชาการ นักกฎหมาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเห็นความสำคัญในสิทธิและการดำรงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์
จึงร่วมกันเสนอแนวนโยบายการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลต่อคณะรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 มีกลไกทุกกระทรวง ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนแนวนโยบายสู่การปฏิบัติ เป็นคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้งมาทุกรัฐบาล แต่ในยุครัฐบาลนายกฯเศรษฐา ครม.สอง จนถึงรัฐบาลนายกฯแพทองธาร รวมถึงกลไกคณะกรรมการแก้ไขของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ก็ชะงักไป ทำให้เกิดการละเมิด ละเลยนโยบายตามมติ ครม.ชาวเล ทั้งนายทุนและเจ้าหน้าที่รัฐอ้างอำนาจกฎหมาย คุกคาม ฟ้องร้อง แย่งชิงทำลายพื้นที่ชาวเล ทวีความรุนแรงขึ้นจนทนไม่ไหว และเนื่องด้วยรัฐบาล พรรคการเมือง ภาคประชาชน ที่มีการเสนอร่างกฎหมายของแต่ละฝ่ายมีการเสนอตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ แต่เมื่อคณะกรรมาธิการฯพิจารณาแล้วเสร็จมีมติผ่านร่างเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร กลับถูกอภิปรายและให้นางสาวปิยะรัฐ ติยะไพรัช ประธานกรรมาธิการ โดย สส.พรรคเดียวกัน เกิดความกังขาและตั้งข้อเสนอสงสัยว่ารัฐบาล โดยเฉพาะ สส.พรรครัฐบาลกำลังเล่นการเมืองจนหลงลืมชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 6.7 ล้านคนหรือไม่
จึงมาเรียกร้องและปักหลักชุมนุมหน้าทำเนียบ ทั้งร่วมกับขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมตั้งแต่วันที่ 4-22 ตุลาคม 2567 เรียกร้อง 3 ข้อเสนอและผลตามข้อเรียกร้องดังนี้
1. ให้นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายตาม มติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 และให้ประธานฯกำหนดวันประชุมเดินหน้านโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิต วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธ์ชาวเล ให้เกิดรูปธรรมและเกิดแนวทางปฏิบัติต่อข้าราชการ ภายใน 3 วัน มีผลที่ได้รับคือ นายกฯแพทองธาร ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง เกิดกลไกเดินหน้านโยบายต่อไป
2. ให้นายกฯมีคำสั่งแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่ชาวเลที่กำลังถูกคุกคาม ฟ้องร้อง ขับไล่ เช่น ชุมชนชาวเลเกาะหลีเป๊ะ , ชุมชนชาวเลราไวย์ , บาฆัดเกาะจำ , ชุมชนชาวเลทับปลา-ลำปี , ชุมชนชาวเลเกาะพีพี , ชุมชนชาวเลเกาะพยาม กรณีเอกชนออกเอกสารสิทธิ์ทับนางลาภ หาญทะเล – ขุมเขียว ทับตะวัน , กรณีธนารักษ์ให้ต่างชาติเช่าที่ดินทำโรงแรมทับซ้อนเขตคุ้มครองฯชาวเล หาดไม้ขาว รวมถึงกรณบัตรประชาชน , กรณีชาวเลที่เจ็บป่วยทะยอยเสียชีวิตเข้าไม่ถึงมาตรฐานการรักษาพยาบาล , ชาวเลเปราะบาง ยากจนไม่ได้รับเงิน 10,000 บาท ผลที่ได้รับคือ นายกฯแพทองธารลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม และ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงกรณีปัญหาพิพาทในที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุมชนชาวเลเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล เกิดกลไกนโยบายและการแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมและตรงจุด
3. เร่งให้มีการออกกฎหมายกฎหมาย คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 70 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่เขียนให้มี พระราชบัญญัติคุ้มครองวิถีชีวิตส่งเสริมสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่าพื้นเมือง ภายใน ปี 2565 แต่ล่วงเวลามาแล้ว 2 ปี ผลที่ได้รับคือ สส.ของพรรครัฐบาลเข้ายืนยันต่อคณะกรรมาธิการ วิสามัญ พิจารณากฎหมายชาติพันธุ์ว่าไม่ได้ค้านกฎหมายและหารือจนเกิดความเข้าใจร่วม มีแนวทางการพิจารณาปรับปรุงให้สอดคล้องทั้งหลักนิติรัฐและนิติธรรม พร้อม สส.ก็สัญญาพร้อมสนับสนุนในการนำเสนอเข้าสู่สภาฯในครั้งต่อไปและในระดับกระทรวง ชาวเลได้ร่วมกับพีมูฟ มีการเจรจาหารือจนเกิดความเข้าใจและกำหนดแนวทางในการนำสู่การปฏิบัติของข้าราชการภายใต้กระทรวงและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและต้องเกิดการมีส่วนร่วมของชาวเลด้วยแม้ว่ามีข่าวถึงเสถียรภาพของรัฐบาลนี้จะอยู่ได้ไม่นาน แต่การหยุดความสูญเสีย แม้แต่ชั่วโมงเดียวก็สำคัญ รัฐบาลจะพิสูจน์ศักยภาพการบริหาร ดูแล จริงใจกับชาวเลและกลุ่มชาติพันธุ์แค่ไหน บนต้นทุนที่มีนโยบายและการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องทุกรัฐบาล ชาวเลและกลุ่มชาติพันธุ์พร้อมให้ความร่วมมือและให้กำลังใจรัฐบาลนี้เช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘แพทองธาร’ ยันพรรคร่วมไร้ปัญหา หลังภาพ 'ทักษิณ-อนุทิน' ออกรอบตีกอล์ฟด้วยกัน
ความจริงแล้วตนและนายอนุทิน ก็คุยกันอยู่แล้ว ถึงจะมีปัญหาอะไรก็คุยกันเคลียร์กันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพรรคภูมิใจไทยหรือพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆถึงเวลาถ้ามีอะไรก็คุย
อย่างหล่อ! ‘อนุทิน’ ปัดตีกอล์ฟเคลียร์ขัดแย้ง ‘ทักษิณ’ ยันการกระทำสำคัญกว่าคำพูด
‘อนุทิน’ ปัดตีกอล์ฟ ‘ทักษิณ’ เคลียร์ปมขัดแย้ง ยัน ‘การกระทำสำคัญ กว่าคำพูด’ ย้ำอีแอบ ไม่ได้หมายถึงตัวเอง - ภูมิใจไทยชัดเจน เพราะข้อเท็จจริงเข้าประชุมครม.
การเมืองมกรา’68 พรรคร่วมร้อนรุ่มแตกหัก ‘ทักษิณ’ หนาวสะท้านชั้น 14
ทักษิณขยี้หนัก โชว์ภาพตีกอล์ฟขนาบข้างทุนผูกขาด ส่อสื่อสัญญาณรุก “พีระพันธุ์-รวมไทยสร้างชาติ” คาดชะตากรรมไม่แตกต่าง “ประวิตร-พปชร.” ประเมินปี 68 ปมชั้น 14 ทำการเมืองร้อนแรง
สัญญาณชัด! ‘เทพไท’ ฟันฉับความขัดแย้งในรัฐบาล เกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็วแน่นอน
เป็นเรื่องปกติที่พรรคการเมือง ซึ่งมีจุดยืนและอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน แต่กระโดดข้ามขั้วจัดตั้งรัฐบาลด้วยกัน
นักเขียนค่ายผู้จัดการ มองทางเลือก ‘ทักษิณ’ ยุบสภาล้างไพ่ใหม่ เหตุมั่นใจกระแส ’อิ๊งค์-ตัวเอง’
ทักษิณโชว์ร่วมก๊วนกอล์ฟอนุทิน โดยมีเจ้าสัวพลังงานร่วมด้วย โดยสื่อบอกว่าสยบรอยร้าว2พรรค ซึ่งจริงๆแม้ 2 พรรคจะขบเหลี่ยมทิ่มแทงกันบ้าง ก็ไม่ใช่เป้าหมายที่ทักษิณขู่ฟอด
ระอุ สนามอบจ.อุบลฯ เร่งสอบร้องเรียน 3 เรื่อง
'แสวง' เผย 'เลือกตั้ง อบจ.อุบลฯ' มีคนร้องเรียน 3 เรื่อง กรณีคนมาช่วยหาเสียง บอก อยู่ระหว่างตรวจสอบ คาดราบรื่น หากคะแแนนไม่สูสี 4 ทุ่มคืนนี้ รู้ผล