ศปช. เผยฝนตกหนักเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เตือนอ่างทอง-อยุธยา ระดับน้ำเพิ่มสูง 30-50 ซม.

25 ต.ค.2567 - นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. เปิดเผยว่า วันนี้ (25 ต.ค.) กรมชลประทานได้เพิ่มการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ที่สถานีจังหวัดชัยนาท อยู่ที่อัตรา 1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเพิ่มขึ้น โดยพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และแม่น้ำน้อย ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 30 - 50 เซนติเมตร
 
"ทั้งนี้เป็นผลมาจากฝนตกหนักในพื้นที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา โดยคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านสถานี C.2 จ.นครสวรรค์ ช่วง 1-7 วันข้างหน้าจะอยู่ที่ 1,900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และจะส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนเพิ่มขึ้น และหากมีความจำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ศปช. จะรีบแจ้งให้ทราบทันที“
 
นายจิรายุ กล่าวว่า ส่วนการฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยใน จ.เชียงใหม่ นั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดกำลังพลและเครื่องจักรออกปฏิบัติงานทำความสะอาดพร้อมจัดเก็บกระสอบทรายบนถนนสายเศรษฐกิจหลักทั่วเมืองเชียงใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว โดยมีเจ้าหน้าที่และประชาชนจิตอาสา จำนวน 400 คน พร้อมเครื่องมือและเครื่องจักร ร่วมปฏิบัติการฟื้นฟู
 
“เจ้าหน้าที่และประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน ทำความสะอาดเมืองเชียงใหม่ ทั้งในถนนสายหลัก ถนนสายรอง และตามตรอกซอกซอยต่างๆ เพื่อคืนผิวการจราจร และเร่งฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด และพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวในวันที่ 1 พ.ย.นี้ ส่วนการบริหารจัดการขยะน้ำท่วมกว่า 42,000 ตัน นั้น ได้จ้างเหมาเอกชนเข้าไปคัดแยก กำจัด โดยบางส่วนได้นำไปเข้าสู่กระบวนการผลิตเชื้อเพลิงขยะมูลฝอย (Refuse Derived Fuel : RDF) และบางส่วนนำไปฝังกลบต่อไป”
 
ส่วนกรณีที่มีข่าวการเรียกเก็บค่าไฟในพื้นที่ประสบอุทกภัยนั้น นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ส่วนหน้า หรือ ศปช. ส่วนหน้า ยืนยันว่าไม่มีการเรียกเก็บค่าไฟในรอบบิลเดือนกันยายน 2567 จากประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย ส่วนบิลเดือน ตุลาคม 2567 กฟภ.ลดค่าไฟ 30% ตามมติ ครม. เมื่อ 24 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งสามารถสอบถามได้ที่สายด่วน 1129 สำหรับผู้ที่ใช้แอปพลิเคชัน PEA Smart Plus สามารถตรวจสอบค่าไฟของแต่ละเดือนได้ ซึ่งสามารถตรวจสอบค่าไฟย้อนหลังได้ 1 ปี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศปช.เร่งโอนเงินเยียวยาน้ำท่วม 9 พันบาท ใน 5 จังหวัด ย้ำลงทะเบียนภายใน 15 ม.ค.นี้

น.ส.ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ศปช. รับทราบการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยกรณึพิเศษ 9,000 บาท รอบที่ 5 ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ตรัง สงขลา ยะลา และนครศรีธรรมราช วันที่ 6 และ 7 ม.ค. 68 นี้ “กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยคาดว่าธนาคารออมสินจะโอนเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ

อุตุฯ เตือนอากาศเย็นถึงหนาว ยอดดอยมีน้ำค้างแข็ง ใต้ฝนฟ้าคะนอง 20-30%

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้

นายกฯสั่งทุกหน่วยงานดูแลประชาชนในทุกมิติ มุ่งจัดการยาเสพติด

รัฐบาล เน้นย้ำ เดินหน้าเสริมสร้างความมั่นคง  นายกฯให้ทุกหน่วยงานมั่นคง ช่วยเหลือประชาชน ควบคู่เตรียมพร้อมรับมือภัยคุกคามให้ครอบคลุมทุกมิติ มุ่งเสริมสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน 

ตีปี๊บ '30 รักษาทุกที่' เต็มรูปแบบ ครอบคลุมทุกพื้นที่ 77 จังหวัดของไทย

รัฐบาล ประกาศ '30 รักษาทุกที่' เต็มรูปแบบ ด้วยโอกาสของคนไทยนับจากนี้ ต้องมีชีวิตดี สุขภาพดี เริ่มแล้วครอบคลุมทุกพื้นที่ 77 จังหวัดของประเทศไทย

'ภูมิธรรม' สั่ง ศปช. ถอดบทเรียนน้ำท่วมดินถล่มเชียงราย ทำแผนแม่บทเสนอนายกฯ

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในฐานะ ผอ.ศปช. ได้ติดตามสถานการณ์น้ำ

พยากรณ์อากาศ 15 วันล่วงหน้า เตรียมรับลมหนาวช่วงต้นปีใหม่

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 30 ธ.ค. 67 - 13 ม.ค. 68