'อ.เสรี ศุภราทิตย์' จับตาพายุในมหาสมุทรแปซิฟิกจะเกิดขึ้นอีก 6 ลูก บางลูกกระทบภาคใต้

24 ต.ค.2567 - รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต และรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ภาพกราฟิกพร้อมข้อความทางเฟซบุ๊กระบุว่า "พายุจ่ามี" ส่งอิทธิพลไม่มากต่อประเทศไทยแต่ควรไม่ประมาทเพราะความชื้นในทะเลมีสูง

#สภาพอากาศปีนี้จะเริ่มหนาวเมื่อไร ?

จากการติดตามสถานการณ์ล่าสุด การคาดการณ์โดยแบบจำลองหลากหลายพบว่าแม้ว่าพายุจ่ามีจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อฟิลิปปินส์ และจะมีแนวโน้มจะพัฒนาเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันที่ 26 ตุลาคม เนื่องจากมีความชื้นในทะเลจีนใต้สูง อย่างไรก็ตามด้วยอิทธิพลของความกดอากาศสูงจากแผ่นดินใหญ่ (ความหนาวเย็น) กำลังแผ่มาปกคลุมภาคเหนือ ภาคอีสาน และทะเลจีนใต้ ประกอบกับการคาดการณ์ว่าจะเกิดพายุในระดับที่รุนแรงกว่าตามมาทางทิศตะวันออกของฟิลิปปินส์ซึ่งดึงความชื้นจากพายุจ่ามีไปรวมตัวกัน (พายุลูกใหม่ยังไม่มีการตั้งชื่อ และมีแนวโน้มทิศทางขึ้นบน) ทำให้พายุจ่ามีอ่อนกำลังลงตามลำดับ สภาพอากาศแปรปรวนสูงได้จึงควรติดตามต่อเนื่องน่ะครับ

อย่างไรก็ตาม พายุจ่ามียังคงส่งผลกระทบให้มีฝนตกในระดับปานกลาง (ความรุนแรงประมาณ 50 %) ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคมนี้ในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยอุณหภูมิจะลดลงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2-3 oC ลมแรงในภาคใต้ (โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดน) โดยในระยะนี้ต้องเฝ้าระวังการเกิดพายุในมหาสมุทรแปซิกตะวันตกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะยังคงเกิดขึ้นอีกประมาณ 6 ลูก และอาจจะมีบางลูกส่งผลกระทบต่อประเทศไทย (โดยเฉพาะภาคใต้) หากมีการคาดการณ์ว่าฝนจะตกหนักจากกรมอุตุฯในพื้นที่ใด ทีมกู้วิกฤติน้ำ มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะเร่งประเมินสถานการณ์น้ำท่วม และแจ้งเตือนประชาชนต่อไป

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ทำให้สภาพอากาศแปรปรวน โดยอุณหภูมิน้ำทะเลสูงกว่าอดีตเกือบ 2 oC ตั้งแต่ต้นปี 2567 และบนแผ่นดินสูงกว่าอดีตเกือบ 1.2oC สภาพอากาศโดยทั่วไปในปี La Nina มักจะหนาวเย็นกว่าปกติ (ดูรูปแนบ) ตัวอย่างในปี 2565 ความหนาวเย็นมาเยือนตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม โดยกรมอุตุฯประกาศเข้าสู่ฤดูหนาววันที่ 29 ตุลาคม ต่อมาในปี 2566 อิทธิพลของปรากฏการณ์ El Nino ทำให้เราแทบไม่เจอความหนาวเย็น โดยกรมอุตุฯประกาศเข้าสู่ฤดูหนาววันที่ 14 พฤศจิกายน สำหรับปี 2567 แม้ความกดอากาศสูง หรือความหนาวเย็นจะแผ่ลงมาช่วงตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม ถึง 4 พฤศจิกายน (ดูรูปแนบ) แต่สัปดาห์ถัดมาจนถึงปลายเดือนพฤศจิกายนกลับมีอุณหภูมิสูงขึ้นตามลำดับ ดังนั้นคงต้องรอดูว่ากรมอุตุฯ จะประกาศเข้าสู่ฤดูหนาวเมื่อไร ? แต่ที่แน่ๆปีนี้จะหนาวกว่าปีที่แล้วครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประกาศพายุ 'จ่ามี' ฉบับ 15 เตือน 'อีสาน-ใต้' รับมือน้ำท่วม

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “จ่ามี” ฉบับที่ 15 โดยมีใจความว่า

ดร.ธรณ์ แจ้งพายุ ‘จ่ามี’ อีสานล่างโดนแล้ว ‘อุบลฯ’ มาแต่เช้า เคลื่อนเข้า ‘โคราช-ขอนแก่น’

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม

เช็กพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนัก! กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 9 พายุจ่ามี ผลกระทบเริ่มคืนนี้

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุ “จ่ามี” ฉบับที่ 9 ระบุว่า เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (26 ต.ค. 2567) พายุโซนร้อนกำลังแรง “จ่ามี