กรมอุตุฯ อัปเดตเส้นทางพายุโซนร้อน 'จ่ามี' อีสานเฝ้าระวังช่วง 26-27 ต.ค.

22 ต.ค.2567 - 15.45 น. กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก เวลา 04.00น.(22/10/67) : พายุดีเปรสชันในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "จ่ามี (TRAMI)"แล้ว (“จ่ามี(TRAMI)”หมายถึง ชื่อดอกไม้ชนิดหนึ่งในสกุลดอกกุหลาบ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็นพายุลูกที่ 20 จากการนับจำนวนพายุของ RSMC โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น) กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตก พายุนี้ยังอยู่ห่างจากประเทศ คาดว่าจะเคลื่อนตัวผ่านเกาะลูซอล ประเทศฟิลิปปินส์ ในช่วงวันที่ 24- 25 ต.ค.67 ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบน และเคลื่อนไปทางตะวันออกของประเทศจีน เข้าใกล้เกาะไหหลำ และชานฝั่งประเทศเวียดนาม คาดว่าพายุนี้ยังไม่มีผลกระทบกับสภาพอากาศประเทศไทยในระยะนี้

แต่ยังต้องติดตามในช่วงวันที่ 26 -27 ต.ค.67 เมื่อพายุเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนาม ซึ่งอาจจะมีผลกระทบทางตะวันออกของภาคอีสานได้ อาจมีลมแรงเนื่องจากมีมวลอากาศเย็นอยู่ด้านหน้าของพายุ แผ่ลงมาปกคลุม เตือนผู้ที่จะเดินทางไปประเทศฟิลิปปินส์ ขอให้ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ ข้อมูลอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)

โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้

ลมหนาวมาต่อเนื่อง กรมอุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อุณหภูมิลดฮวบ 2-4 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉ.1 พายุไต้ฝุ่น ‘หม่านหยี่’ บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน

พายุไต้ฝุ่น “หม่านหยี่” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 17.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 118.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง