21 ต.ค.2567 - กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ในช่วงวันที่ 22 - 23 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนยังคงปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้
สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอุณหภูมิลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนืออุณหภูมิจะลดลง 1 – 2 องศาเซลเซียส
คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยยังคงมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คาดว่าจะเคลื่อนลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนในช่วงวันที่ 24 – 25 ต.ค. 67 และจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตอนใต้ของประเทศจีนในช่วงวันที่ 27 – 28 ต.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย
ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 21 – 22 ต.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมทั้งฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม และดูแลรักษาสุขภาพเนื่อจาสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง
คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 21 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 21 – 22 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 23 – 27 ต.ค. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส ทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 19 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 21 – 22 ต.ค. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบน กับมีลมแรง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 27 ต.ค. 67 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส โดยมีฝนร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 21 – 23 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 ต.ค. 67 มีฝนร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค
ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 36 องศาเซลเซียส
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 21 – 23 ต.ค. ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 ต.ค. 67 มีฝนร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่
ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 21 – 23 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 30 ของพื้นที่
ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 24 – 27 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 21 – 23 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค
ตั้งแต่ จ.พังงา ขึ้นไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ลงมา ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 24 – 27 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส
กรุงเทพและปริมณฑล
ในช่วงวันที่ 21 – 23 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 27 ต.ค. 67 มีฝนร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่
ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เหนือ-อีสาน อากาศเย็นตอนเช้า ภาคใต้ฝนตกหนัก ถึงหนักมากบางแห่ง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้
กรมอุตุฯเตือน 9 จังหวัดภาคใต้มีฝนตกหนัก หวั่นเกิดน้ำท่วมฉับพลัน
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 4 (304/2567) (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567) มีใจความว่า
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
'เหนือ-อีสาน' ยังเย็นต่อเนื่องส่วน 'ภาคใต้' ฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
ลมหนาวมาต่อเนื่อง กรมอุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อุณหภูมิลดฮวบ 2-4 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้