ชู 'อบจ.' ขับเคลื่อนงานฟื้นฟูสมรรถภาพ เชื่อมระบบฟื้นฟูกายใจชุมชนครบวงจร

สสส.ชวน อบจ.เข้าร่วมกองทุนฟื้นฟูฯเกิดขึ้นทั่วประเทศ ขณะที่ นายกสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป และ นายกสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยชี้ระบบต้องเชื่อม ฟื้นฟู -กาย -ใจ ชุมชนให้ครบวงจร

20 ต.ค.2567 –       จากสถานการณ์ ผู้ป่วย ผู้พิการ ที่เกิดจากปัญหาอุบัติเหตุ ยาเสพติด หรือ ผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้งานฟื้นฟูสมรรถภาพ ทั้งทางกายและ ทางจิตใจ ให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีความสำคัญ 

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์  ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า การฟื้นฟู สมรรถภาพมันจะเกิดขึ้น ตอนที่มีความเจ็บป่วย และพอความพิการและความเจ็บป่าวยเกิดขึ้นแล้ว จำเป็นจะต้องฟื้นฟูให้กับเข้าสู่ปกติ สามารถไปทำงานเป็นกำลังสำคัญของสังคมได้  เพราะฉะนั้นบทบาทของการฟื้นฟูจึงเหมือนกับการส่งเสริมสุขภาพ  ก็คือการป้องกันก่อนที่จะแย่เกินไปเพราะถ้าช้าไปจนกระทั่งกลับไปสู่สภาพเดิมไม่ได้ ก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย

ทั้งนี้ จากเดิมที่งานฟื้นฟูฯเป็นเรื่องของกายอุปกรณ์ ที่ผู้ป่วย และผู้พิการจำนวนมากประสบปัญหา เข้าถึงอุปกรณ์ เช่น รถเข็น ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ หรืองานฟื้นฟู จึงทำหน้าที่เพียงให้ยืมอุปกรณ์ แต่ปัจจุบันบทบาทของงานฟื้นฟูต้องเพิ่มมากขึ้น โดยต้องสามารถฟื้นฟูความเจ็บป่วย ความพิการที่เกิดขึ้นแล้วอย่างทันท่วงที เพื่อให้สามารถเข้าสู่ภาวะปกติ ทำงานได้ หรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

“ สสส.พยายามเข้าไปชวยเสริมในกระบวนการ ต่างๆ ให้ดำเนินการไปได้ด้วยดี และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ ในเรื่องการฟื้นฟูแบบครบวงจร โดยจะเข้าไปหนุนเสริมการทำงานกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช) กับ องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ)และภาคีทีค่เกี่ยวข้องห้มีการแลกเปลี่ยนการทำงานให้ดีขึ้น โดยขณะนี้มีกองทุนกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพยังไม่ครบทุกจังหวัดมีเพียง 70 จังหวัด  จึงอยากเชิญชวน อบจ.เข้ามาร่วมทำงานฟื้นฟูให้ครบทั่วประเทศ “   นพ.พงศ์เทพ ระบุ

 ขณะที่ แพทย์หญิงสุพัตรา ศรีวณิชชากร นายกสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า  งานฟื้นฟูมีความสำคัญมากขึ้นจากสังคมผู้สูงอายุ หรือปัญหายาเสพติดที่มีผู้ป่วยจิตเวชจากการเสพยามากขึ้นแต่งานฟื้นฟูต้องขยายจาการดูแลผู้พิการด้านร่างกาย ที่ต้องอาศัยเครื่องมือ อุปกรณ์อย่างเดียวเป็นการฟื้นฟูทั้งทางกายและทางใจ เป็นระบบที่เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม

“ เดิมงานฟื้นฟูเริ่มจากผู้พิการ ทำให้โรงพยาบาลไม่มีฝ่ายฟื้นฟูโดยตรง แม้จะมีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแต่ ก็มีจำนวนน้อย ขณะที่งานบริการสุขภาพส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญเรื่อง การรักษา ส่งเสริม  ป้องกัน  ส่วนงาน ฟื้นฟู จะอยู่ปลายทาง บางครั้งแพทย์ก็หมดแรงไปกับ การรักษา ส่งเสริม  ป้องกัน  จนทำให้งานฟื้นฟูไม่ได้รับความสำคัญมากนัก ทั้งนี้โอกาสในอนาคตของ ของกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีนิยามครอบคลุมเรื่องของกาย-ใจ ซึ่งในส่วนงานบริการฟื้นฟู อยากให้มีกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างท้องถิ่น หน่วยบริการใกล้บ้าน  นักกายภาพ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว   แพทย์แผนไทยมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบฟื้นฟูให้เกิดขึ้นทั่วประเทศได้” แพทย์หญิงสุพัตรา ระบุ

ขณะที่ รศ.ดร.กภ.มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์ อาจารย์ประจำคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า  ถ้ามองประเทศไทยจริงๆวางแผนของงานฟื้นฟูไว้ดีพอสมควร เพียงแต่ยังขาดภาพหลัก โดยเฉพาะเมื่อลงไปถึงปฐมภูมินโยบายเรื่องการฟื้นฟูในพื้นที่ยังไม่ชัดเจน จึงเห็นว่า กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจะช่วยเติมเต็ม ทำให้มีการดึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในงานฟื้นฟูเพราะท้องถิ่นมีความสำคัญเพราะดึงชุมชนเข้ามาร่วมได้

“กองทุนฟื้นฟูฯเป็นกลไกที่ดี ทำให้เกิดความร่วมมือคนในพื้นที่ และกลไกลทุกหน่วยงานรวมถึงโรงพยาบาลในพื้นที่ ซึ่งเห็นปัญหาจริงๆ  ถ้ามีนโยบายจากส่วนกลางจริงๆ ที่ชัดเจนการทำงานของกองทุนฯก็อาจจะเข้าไปถึงชาวบ้านที่มีปัญหา  จึงเห็นว่าควรจะพัฒนากลไกลของกองทุนฟื้นฟูฯให้ครบคลุมมากขึ้น” รศ.ดร.กภ.มัณฑนา ระบุ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สิ้นท่า 'ท้าวตู้' ตัวตึงค้ายาฝั่งโขง ยอมแฉหมดเปลือกแลกอิสรภาพ

นครพนม-จู่โจมจับกลางลำน้ำ “ท้าวตู้ตัวตึงฝั่งโขง” พร้อมชาวประมงคนไทยรวม 2 ราย ทำทีหาปลาแฝงขนยาบ้า ลูกเล่นอ้างจะแฉชื่อเอเยนต์ เพื่อแลกกับอิสรภาพ

อึ้ง! ชาวโลกเผชิญความอดอยาก เกือบ 300 ล้านคน ขาดสารอาหาร 2 ใน 3 อยู่ในเอเชีย น่าห่วง 1 ใน 10 ของเด็กไทยผอมโซ เนื่องในวันอาหารโลก 2567

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 15 ต.ค. 2567 ที่โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จ.นนทบุรี นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในพิธีเปิดงานประชุมเวทีบูรณาการและนวัตกรรมสังคมด้านอาหาร ประจำปี

รณรงค์เปิดพื้นที่..เข้าใจวัยรุ่น ลดปัจจัยเสี่ยงทำร้ายสุขภาวะ

จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบเยาวชน อายุ 15-24 ปี สูบบุหรี่อยู่ที่ 12.7% แม้จะลดจากปี 2560 ที่อยู่ที่ 15.4% แต่ก็ยังมีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้น

“อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.” ได้รับรางวัล “MEA ENERGY AWARDS พรีเมียม ระดับ PLATINUM”

สุดปัง! สสส. คว้ารางวัลสุดยอดอาคารประหยัดพลังงาน “MEA ENERGY AWARDS พรีเมียม ระดับ PLATINUM” จากการไฟฟ้านครหลวง รับรองเป็นต้นแบบอาคารสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสุขภาวะ

เด็ก3จังหวัดชายแดนใต้สุดรันทด เผชิญทุพโภชนาการเหลื่อมล้ำสูงสุด

เชื่อหรือไม่? เมืองไทยเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ปลูกข้าวเลี้ยงคนทั้งประเทศ และติดอันดับการส่งออกข้าวเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยกินข้าวคนละ 195 กก./ปี