'รวมไทยยูไนเต็ด' อัดกฎหมายคุมสื่อ! ลั่นถ้ามีโอกาสเป็นรัฐบาลจะปกป้องสิทธิเสรีภาพ ยุบศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
19 ม.ค.2565 - นายวรนัยน์ วาณิชกะ หัวหน้าพรรครวมไทยยูไนเต็ด โพสต์เฟซบุ๊กว่า สมัยเป็นนักวิจารณ์การเมืองในสื่อหนังสือพิมพ์แห่งหนึ่ง ไม่ว่ารัฐบาลไหน ก็โทรมาเตือนบ่อยครั้งว่าเบาๆ หน่อย แต่ทาง บ.ก. ก็เป็นด่านป้องกันให้ ด้วยการตอบกลับไปว่า เราต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณของสื่อ นั่นคือ สิทธิเสรีภาพของการแสดงออกและตรวจสอบผู้มีอำนาจ เพื่อสร้างความสมดุลทางอํานาจระหว่างรัฐกับประชาชน มี บ.ก. ดี และปกป้อง สื่อก็ทํางานได้อย่างซื่อสัตย์ และสุจริต แต่คําถามคือ ทําไมผู้มีอำนาจจึงพยายามควบคุมสื่อ?
ในรัฐประชาธิปไตย สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบอำนาจรัฐ ในรัฐเผด็จการ สื่อคือลำโพงของรัฐมีหน้าที่โฆษณาชวนเชื่อให้ผู้มีอำนาจ ในรัฐเผด็จการแต่แอบอ้างประชาธิปไตย รัฐจะใช้อำนาจกฎหมายเพื่อควบคุมสื่อ อย่างเช่น อาทิตย์ที่แล้ว หรือวันที่ 11 ม.ค. ที่ผ่านมา ครม.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน นัยยะสำคัญคือ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมสื่อมวลชน แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ผมเป็นอาจารย์สอนการสื่อสารทางการเมืองที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถ้าวันนี้มีคลาส ผมจะวิเคราะห์กับนักศึกษาว่า : มี 3 วาทกรรมสวยงามที่ผู้มีอำนาจมักเอามาใช้เพื่อหลอกลวงสังคม : เสรีภาพ, จริยธรรม และ ศีลธรรมอันดี แต่เสรีภาพและจริยธรรมถูกกำหนดโดยศีลธรรมอันดี และศีลธรรมอันดีจะถูกกำหนดโดยสภาวิชาชีพสื่อมวลชน และคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน ซึ่งบุคลากรจะเป็นผู้ที่อยู่ในโอวาทของภาครัฐ
เพราะฉะนั้น นี่คือวิธีที่ภาครัฐจะควบคุมสิทธิเสรีภาพสื่อ และดัดแปลงสื่อให้เป็นลำโพงของรัฐ และเอาความปลิ้นปล้อนไม่เป็นธรรมนี้ ขายกับสังคมว่า นี่แหละคือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ถ้าพรรครวมไทยยูไนเต็ดเป็นรัฐบาล เราจะปกป้องสิทธิสื่อ เพราะสื่อนี่แหละจะตรวจสอบเพื่อไม่ให้เราหลงระเริงในอำนาจ เราจะยุบศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เพราะในประเด็นข่าวปลอม สื่อและสังคมสามารถค้านกันเองได้ ตรวจสอบกันเองได้ ในยุคโซเชียลมีข่าวปลอมมา เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงโซเชียลก็ขุดความเป็นจริงมาได้แล้ว พอกันทีกับยุคอำนาจรัฐที่แทรกแซงสื่อ !
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดีอี' เตือนอย่าหลงเชื่อ ข่าวปลอม ไทยถูกพายุถล่ม 24 ลูก
ดีอี เตือน ข่าวปลอม “ตั้งแต่ต้นปีมีพายุเข้าไทยมาแล้ว 11 ลูก คาดการณ์ว่าทั้งปีจะเข้ามาทั้งหมด 24 ลูก” ขออย่าเชื่อ-แชร์ หวั่นสร้างวิตกกังวลให้ ปชช.
ดีอี เตือนระวัง 'โจรออนไลน์' อ้างเป็นแบงค์รัฐ 'ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ'
ดีอี ตรวจพบข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์รายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “ธ.อิสลาม ช่วยเหลือประชาชน รับรวมหนี้ ต่อธุรกิจ ปิดหนี้ และหมุนธุรกิจ” รองลงมาคือเรื่อง “กรุงไทยปล่อยสินเชื่อ ผ่านเพจสินเชื่อส่วนบุคคล SME” โดยขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน และมีผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง
'ดีอี' วอนอย่าแชร์ข่าวปลอม 'แก๊งค้าอวัยวะระบาดในไทย'
ดีอีพบข่าวปลอมรายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 “ตำรวจเตือน มีแก๊งค้าอวัยวะระบาดในประเทศไทย” รองลงมาคือ “สส. ที่มีอายุงาน 4 ปี มีสิทธิได้รับเงินบำนาญตลอดชีพ โดยขอให้ประชาชน อย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรือการสร้างการรับรู้ที่ไม่ถูกต้องในสังคม
'ปกรณ์วุฒิ' ประเดิมชงหั่นงบศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมเหี้ยน!
ถกงบฯต่อวันที่ 2 'ปกรณ์วุฒิ' เดือดขอตัดงบศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมทั้งโครงการ ลั่นไม่เคยเป็นกลาง เป็นแค่เครื่องมือของรัฐ ผูกขาดความจริง
เตือน! ออมสินไม่มีนโยบายปล่อยกู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
'รัดเกล้า' เตือนธนาคารออมสินไม่มีนโยบายให้เงินกู้ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ ตรวจสอบก่อนทุกครั้ง
อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพ อ้างกฟภ. ส่ง SMS แจ้งมิเตอร์ไฟฟ้าเสี่ยงชำรุดเปลี่ยนฟรี เตือนอย่ากดลิงก์
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พบ 10 ข่าวปลอมประจำสัปดาห์ คนสนใจสูงสุด มิจฉาชีพแอบอ้าง“กฟภ. ส่ง SMS แจ้งมิเตอร์ไฟฟ้าเสี่ยงชำรุด คิดค่าไฟเกินจริง เปลี่ยนมิเตอร์ฟรี พร้อมรับเงินคืน”– หลอกทำใบขับขี่ออนไลน์ ผ่าน Pages DTL Noline” ยังมาแรง เตือนเช็คให้ดี อย่ากด อย่าส่งต่อ