งานวิจัยชี้ชัด ช้างไม่ต่างจากคน เลี้ยงในคอกตัวเดียวเครียดกว่ามีควานช้างพาออกข้างนอก

'ดร.อานนท์' ยกงานวิจัย จิตวิทยาพื้นฐาน ช้างไม่ต่างจากคน การเลี้ยงในคอกตัวเดียวมีความเครียดมาก หรือควมมสุขน้อยกว่าการเลี้ยงที่มีควานช้างพาออกไปทำงานข้างนอกบ้าง แม้จะล่ามโซ่เป็นคราวๆ เหมือนเยาวชนในสถานพินิจได้ออกมาฝึกอาชีพ คนคุกได้ออกไปลอกท่อ

11ต.ค.2567- ผศ. ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เผยแพร่บทความ เรื่อง "ช้างไม่ต่างจากคน ไม่อยากถูกขังเดี่ยวในคอก จิตวิทยาพื้นฐาน" มีเนื้อหาดังนี้

ผมเรียนปริญญาโททางจิตวิทยามานะครับ วันนี้ขอมาเล่าเรื่องจิตใจของคนและช้างว่าไม่ได้แตกต่างกัน

เมื่อวานได้คุยกับควาญช้าง ควาญช้างเล่าให้ฟังว่า มีวิทยานิพนธ์ปริญญาทางด้านสัตวแพทย์ ได้เก็บข้อมูลวัดระดับความเครียดของช้าง จากอุจจาระ โดยวัดฮอร์โมนบางตัว แล้วเปรียบเทียบระดับฮอร์โมนที่บ่งชี้ระดับความเครียดของช้างที่เลี้ยงต่างวิธีกัน คือเลี้ยงในคอก กับเลี้ยงแบบใส่โซ่ มีควาญช้างอยู่ด้วย และพาออกไปทำงานข้างนอก แม้จะมีตะขอที่ฝรั่งมองว่าทรมานช้างก็ตาม
การทดสอบความเครียดของคนก็ทดสอบด้วยการวัด Cortisol อันเป็นฮอร์โมนวัดความเครียดตัวหนึ่งในน้ำลาย แต่กับช้างจะเป็นฮอร์โมนตัวไหน ผมไม่ทราบ และคงวัดจากน้ำลายยาก เลยวัดจากขี้ช้างแทน

ผลการวิจัยนั้นพบว่าช้างที่เลี้ยงแบบคอก มีความเครียดมากกว่า หรือมีความสุขน้อยกว่าช้างที่เลี้ยงแบบผูกโซ่และตะขออันเป็นวิธีการแบบโบราณของไทยมาก
ผมไม่แปลกใจอะไรเลย ด้วยเข้าใจจิตวิทยาของคน ว่าไม่แตกต่างกันกับช้าง
เราต้องไม่ลืมว่า
1. ทั้งคนและช้าง ต่างก็เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
2. ทั้งคนและช้างต่างก็เป็นสัตว์สังคม
3. ทั้งคนและช้างต่างก็มีแรงขับทางเพศ (Sex drive)
4. ทั้งคนและช้างต่างก็ต้องการเสรีภาพ
5. ทั้งคนและช้างต่างก็ต้องการสัมผัส (Skinship)

ช้างพลายนั้นโดยธรรมชาติจะดุและก้าวร้าวกว่าช้างพัง เลยทำให้ปางช้างแห่งหนึ่งที่ใช้การตลาดว่าเลี้ยงช้างแบบอิสระเสรี ไม่มีโซ่ ไม่มีตะขอ เลือกนำช้างพลายไปขังเดี่ยวในคอกไว้เก้าเชือก ในมุมที่ห่างตานักท่องเที่ยวมากที่สุด เพราะไม่สามารถจัดการควบคุมช้างพลาย ได้ การขังเดี่ยวจึงเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด

ไม่มีควาญไปคอยอาบน้ำช้าง ขัดตัวให้ช้าง ไม่มีการพาออกไปทำงาน ไม่มีโอกาสได้พบเจอช้างตัวอื่น ๆ มีเสรีภาพในคอก

ผมเล่าเรื่องที่ผมได้เข้าไปทำวิจัยกับนักโทษในคุกและเยาวชนในสถานพินิจกันบ้างดีกว่า จะได้ทำให้คนเราเข้าใจช้างมากยิ่งขึ้น

เยาวชนในสถานพินิจนั้นเท่าที่ผมได้สัมภาษณ์ ร้อยละ 95 มาจากบ้านแตกสาแหรกขาด ขาดความรักความอบอุ่น ขาด skinship คดีส่วนใหญ่คือคดียาเสพติด เพราะจิตใจที่อ่อนแอทำให้ต้องพึ่งยาเสพติด

สถานพินิจบ้างแห่ง จะมีร้านขายของหรือร้านกาแฟที่ด้านหน้าทางเข้าสถานพินิจ แน่นอนว่ามีการให้เยาวชนที่ใกล้จะได้ออกจากสถานพินิจมาฝึกอาชีพด้วยการชงกาแฟขาย ผมก็ไปอุดหนุน และพูดคุยกับบาริสต้าเยาวชน

ผมถามว่าเหนื่อยหรือไม่ ต้องมาทำงานชงกาแฟขาย น้อง ๆ ตอบว่า ไม่เหนื่อยเลย ดีใจ และอยากให้ถึงเวรได้ออกมาขายกาแฟเร็ว ๆ เฝ้ารอคอยวันที่ได้มาขายกาแฟ ผมเลยถามว่าทำไมหละ นอนเล่นนั่งเล่นสบาย ๆ ไม่ต้องทำงานอะไรไม่ดีกว่าหรือ

น้องตอบว่า ได้มาขายกาแฟก็ได้เจอคนมาซื้อกาแฟ (น้องก็คือสัตว์สังคม อยากพบเจอคน) เวลาลูกค้าพูดดี ๆ ด้วย และชมว่าชงกาแฟได้อร่อย ก็มีความสุข (น้องต้องการการยอมรับและความรู้สึกมีคุณค่าในตน) การได้ออกมาแค่หน้าสถานพินิจ ตรงร้านกาแฟนี้ ก็เท่ากับได้ออกมาสูดอากาศแห่งเสรีภาพ ผมถึงกับถามว่า อะไรกัน แค่ผ่านประตูมานี่นะ ไม่ถึง 10 เมตร อากาศก็ต่างกันแล้วหรือ น้องก็ต้องว่า ต่างมากครับ ที่นี่มีเสรีภาพมากกว่า อย่างน้อยก็เห็นถนน เห็นคนเดินผ่านไปมา แล้วผมก็รู้ได้ว่า วันหนึ่งผมจะได้ออกไปจากที่นี่ ผมมีความหวังมากขึ้น ผมอยากออกไปมีเสรีภาพอีกครั้ง ได้ไปที่ไหนต่อที่ไหน

ผมนั้นก็เคยสัมภาษณ์นักโทษในคุกมามากมาย รวมทั้งซื้อไอศกรีมไผ่ทองแจกพี่ ๆ นักโทษของกรมราชทัณฑ์ ที่มาช่วยลอกท่อในหมู่บ้านผมอยู่ทุกปี
อยากออกมาลอกท่อไหม

อยากครับ อยากออกมาทุกวัน ยิ่งมาหมู่บ้านพี่ยิ่งอยากมา จะสกปรกจะเหนื่อยแค่ไหนก็อยากมา
มีความสุขที่ได้ออกมาทำงาน เหนื่อยได้พักก็หาย

สกปรกก็ล้างตัวออกไปก็สะอาด แต่มีความสุข หมู่บ้านพี่ให้เกียรติพวกผม เห็นคุณค่าพวกผม มีน้ำใจ เอาน้ำเอาขนมมาเลี้ยงพวกผม เวลาขอให้ช่วยทำอะไรให้ก็พูดจาขอร้องดี ๆ พวกผมก็อยากจะทำให้ด้วยใจ มีความสุขที่ได้ออกมาลอกท่อ

ช้างก็ไม่ต่างกับคน (นักโทษและเยาวชนในสถานพินิจ) โดยเฉพาะช้างในคอกที่ถูกขังเดี่ยว

1. ช้างย่อมอยากเจอโขลงช้าง เพราะช้างเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ต้องการสังคม ช้างและคนต่างเป็นสัตว์สังคม

2. ช้างพลายตัวผู้ต้องการเจอช้างพลายตัวเมีย เพื่อปลดปล่อยแรงขับทางเพศ จะได้ผสมพันธ์ุกัน ลดความก้าวร้าวลงไป ไม่เช่นนั้นช้างพลายที่ถูกขังเดี่ยวก็จะกลัดมัน แล้วก็เครียดมากเช่นกัน

3. ช้างต้องการควานช้าง ที่อาบน้ำให้ ขัดตัวให้ ป้อนอาหารให้ ช้างไม่ต่างกับคน ต้องการสกินชิป การกอด การสัมผัส
ช้างเองยังต้องการสกินชิพจากการสัมผัสหยอกเล่นกันเองในโขลงช้างด้วย

4. ช้างต้องการเสรีภาพ การได้ออกไปทำงาน ให้นักท่องเที่ยวขี่หลังช้าง การได้ออกไปลากไม้ ก็ยังดีกว่าการขังในคอก และดีกว่าการถูกขังเดี่ยวมาก การได้ออกมาทำงานของช้าง ไม่ต่างกับ นักโทษที่อยากออกมาลอกท่อสกปรก ไม่ต่างกับเยาวชนในสถานพินิจที่อยากจะออกมาขายกาแฟหน้าสถานพินิจ นอกจากเสรีภาพแล้ว การได้ออกมาทำงานของช้าง ก็ไม่ต่างกับคน ทำให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง คนกับช้าง ไม่ได้แตกต่างกันแต่ประการใด

สรุปง่าย ๆ คือ ช้าง ไม่ได้แตกต่างกับคน การเลี้ยงในคอกตัวเดียว เลวร้ายกว่าการเลี้ยงที่มีควานช้าง แม้จะล่ามโซ่เป็นคราว ๆ หรือถูกตะขอบังคับบ้าง ก็ยังดีกว่าการเลี้ยงในคอก ที่เครียดและมีความสุขน้อยกว่ามาก

ลองคิดว่าถ้าเราเป็นช้าง ลองคิดดูว่า หากเราผู้เป็นคน ถูกขังเดี่ยวในคุกหลาย ๆ ปี แม้จะมีอาหารและน้ำให้เป็นอย่างดี แต่ไม่มีใคร แล้วเราจะรู้สึกอย่างไร

ช้างก็มีจิตใจไม่ต่างจากคน
เรารู้สึกอย่างไร ช้างก็รู้สึกแบบนั้นไม่ต่างจากเรา เพราะช้างเป็นสัตว์ที่ฉลาดมากไม่ต่างจากคน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ค่าเงินบาทแข็งดีต่อการส่งออก ครูที่เคยสอนเศรษฐศาสตร์ได้ยินคงตกใจแทบสิ้นสติ

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า

ดร.อานนท์ เย้ยด้อมส้มได้ผู้แทนอ่านตัวเลขไม่เป็น สะท้อนคนเลือกโง่

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์เฟซบุ๊กว่า ผมรู้สึกว่า คุณภาพประชาชนชาวไทย มีปัญหาอย่างยิ่ง เพราะเลือกสส. พรรคประชาชนมามากที่สุด

‘อานนท์’ รีบแจ้ง! มีเหตุการณ์น่าสนใจสองอย่างเวลานี้ จากพวกกร่างเหลิงอำนาจ

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ มันมีเหตุการณ์น่าสนใจสองอย่างเวลานี้

'ดร.อานนท์' เห็นพ้อง 'ดร.ไชยันต์' ยุค 'ลุงตู่' ไม่ได้ปฏิรูป คงได้เห็น 'สงครามกลางเมือง' ในไม่นาน

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้แชร์โพสต์ของ ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้โพสต์บทความเรื่อง “ถ้าปฏิรูปไม่สำเร็จ ก็ว่ากันด้วยสงครามกลางเมือง”