‘ธนกร’ ชง 7 ข้อ แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ หนุนตั้ง ‘ศูนย์แก้หนี้แห่งชาติ’ รื้อกฎหมาย คุมนายทุนปล่อยกู้ดอกเบี้ยโหด กระทุ้ง ‘นายกฯ-มท.1-ผบ.ตร.’ เร่งเครื่องสะสางจริงจังทั้งวงจร
11 ต.ค. 2567 – นายธนกร วังบุญคงชนะ สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวถึงปัญหาหนี้นอกระบบว่า ยังคงเป็นปัญหาที่ฝังลึกในสังคมไทยมานาน และกำลังส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างรุนแรง โดยในไตรมาส 4 ปี 2566 ข้อมูลระบุว่า หนี้นอกระบบในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 3.48 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 19% ของ GDP ประเทศ หรือประมาณ 1 ใน 5 ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด โดยมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว หนี้นอกระบบไม่เพียงเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อโครงสร้างสังคมและความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การบังคับให้ประชาชนต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงทำให้หลายคนติดอยู่ในวงจรหนี้อย่างไม่มีทางออก ซึ่งเกิดจากการขาดแคลนเงินออมและรายได้ที่ไม่เพียงพอ สะท้อนถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย
จึงขอฝากนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รวมถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ เร่งแก้ปัญหาหนี้นอกระบบและหาแนวทางแก้ไขอย่างบูรณาการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยเสนอให้รัฐบาลนำข้อมูลรายงานของคณะกรรมาธิการแก้ปัญหาหนี้สิน ความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำ ที่ได้เสนอแนวทางการบริหารจัดการปัญหาหนี้นอกระบบไว้มาใช้แก้ปัญหา เพื่อบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเสนอให้มีการจัดตั้ง “ศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ”และการปรับปรุงข้อจำกัดของกฎหมาย ซึ่งแนวทางนี้ถือว่ามีศักยภาพมากในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างครอบคลุม 7 แนวทางดังนี้
แนวทางแรก คือการส่งเสริมสินเชื่อถูกกฎหมาย สนับสนุนการสร้างแหล่งเงินทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ เช่น สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์หรือธุรกิจสินเชื่อรายย่อยที่อยู่ภายใต้การกำกับ โดยกระทรวงการคลังดำเนินการอยู่แล้ว สามารถขยายโครงการที่มีอยู่ ปัจจุบันมีนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์จำนวน 1,142 ราย ครอบคลุม 75 จังหวัด เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ปลอดภัยมากขึ้น
แนวทางที่ 2 รัฐบาลอาจจัดตั้งโครงการสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ เช่น สินเชื่อสำหรับผู้มีรายได้น้อย หรือสินเชื่อที่สนับสนุนการเริ่มต้นธุรกิจโดยยึดข้อมูลจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีอยู่เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แนวทางที่ 3 การปรับโครงสร้างทางการเงินและการแข่งขัน โดยส่งเสริมการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและไมโครไฟแนนซ์ โดยเปิดโอกาสให้บริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเข้ามาแข่งขันในตลาดการเงินมากขึ้น เพื่อลดการผูกขาดของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยลดลงและสร้างทางเลือกให้กับประชาชนในการเข้าถึงสินเชื่อ
แนวทางที่ 4 การปราบปรามกลุ่มนายทุนหนี้นอกระบบ ควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยการปรับโครงสร้างกฎหมายเพื่อปราบปรามกลุ่มนายทุนหนี้นอกระบบที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด และจัดตั้งหน่วยงานพิเศษที่ทำงานร่วมกับตำรวจในการตรวจสอบและจับกุมเจ้าหนี้ที่กระทำผิดกฎหมายให้มีโทษเพิ่มขึ้น
แนวทางที่ 5 การให้การศึกษาและคำปรึกษาทางการเงิน สร้างโปรแกรมให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชนในระดับชุมชนเพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับ การจัดการหนี้ ให้ความรู้เรื่องการออมเงิน และการป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของหนี้นอกระบบ โดยใช้โรงเรียน สถาบันชุมชน และการฝึกอบรมออนไลน์เป็นสื่อกลาง
แนวทางที่ 6 การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้ประชาชน โดยรัฐบาลควรลงทุนในโครงการฝึกอบรมทักษะและการพัฒนาทักษะใหม่ (Reskilling/Upskilling) เพื่อเพิ่มโอกาสการจ้างงานที่มีรายได้สูง ลดการพึ่งพาหนี้สินในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
และแนวทางที่ 7 การปรับปรุงกฎหมาย ควรมีการปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีการอนุญาตให้ผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบสามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ โดยไม่ต้องกลัวการถูกดำเนินคดีหรือถูกข่มขู่ นอกจากนี้ ควรกำหนดเพดานดอกเบี้ยที่ชัดเจนและเป็นธรรม รวมถึงบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับเจ้าหนี้ที่คิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
“หลังจากที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้แก้ปัญหา เรื่องการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบมาบางส่วนแล้ว จึงขอฝากนายกรัฐมนตรี รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการความร่วมมือ แก้ปัญหาหนี้นอกระบบให้ครบทั้งวงจร รวมถึงแก้กฎหมายควบคุมนายทุนปล่อยกู้นอกระบบให้คิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด และคุ้มครองผู้กู้หรือลูกหนี้ไม่ให้เกิดการถูกคุกคามข่มขู่ทำร้าย ควบคู่กับการพัฒนาและการให้สินเชื่อที่ประชาชนและผู้ค้ารายย่อยสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ จะช่วยลดปัญหาหนี้นอกระบบให้อยู่ในระบบได้มากขึ้น เชื่อว่า หากทำจริงจังและแก้ปัญหาให้ต่อเนื่อง จะเกิดความยั่งยืน ช่วยให้พี่น้องประชาชนหลุดออกจากวงจรหนี้สินได้แน่นอน“ นายธนกร ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ สั่งเกาะติด 7จังหวัดภาคใต้ที่เจอฝนถล่มหนัก
นายกฯ กำชับทุกหน่วยงานติดตามสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงจากฝนตกหนักในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้
นายกฯ อิ๊งค์ฝากติดตามแถลง 12 ธ.ค.ผลงานรัฐบาล 90 วัน
นายกฯอิ๊งค์ ลั่นรัฐบาล มุ่งสร้างโอกาสจับต้องได้ให้ประชาชน ปากท้องอิ่ม ดึงศักยภาพคนไทย ลั่นปรับสมดุลการค้าสหรัฐ-จีน ย้ำ รบ.อยู่ครบเทอม ฝากติดตามแถลงผลงานรัฐบาล 12 ธ.ค.นี้
เปิดโปรแกรมทัวร์ 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรกที่เมืองเหนือ
เปิดโปรแกรม 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรก จัดที่แม่ริม เชียงใหม่ 29 พ.ย. ก่อนถก 'คลังสัญจร' เชียงราย ฟื้นฟูพื้นที่เศรษฐกิจ พร้อมพบประชาชน
'บิ๊กต่าย' สั่งสอบ 'พ.ต.ต.' อาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ กระทำอนาจาร
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เปิดเผยกรณีเพจดังเผยแพร่ข้อมูลระบุว่า มีนักเรียนนายร้อยตำรวจ ถูกอาจารย์ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และสารวัตร (สอบสวน) สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล
'เทพไท' วิเคราะห์ชัดๆ 'ทักษิณ-อุ๊งอิ๊งค์' ใครคือนายกฯตัวจริง
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช
'ธนกร' ชี้หลัง 22 พ.ย.ประเทศก็ยังเดินหน้าต่อ!
'ธนกร' มองทุกคดีศาล รธน.ยึดตามหลักกฎหมาย เชื่อการเมืองหลัง 22 พ.ย.นี้ประเทศต้องเดินหน้าต่อ ขอทุกฝ่ายอย่าคาดเดาจนอาจก้าวล่วงอำนาจ ฝากรัฐบาลเร่งทำผลงาน