11 ต.ค. 2567 – กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น. วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 11 – 20 ต.ค. 67 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) (วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ) เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนัก สีเขียวหมายถึงฝนเล็กน้อย : ยังเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู (ปลายฝนต้นหนาว)
ช่วง 11 – 20 ต.ค. 67 ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน เริ่มมีอากาศเย็นในตอนเช้า และยังมีฝนบางแห่ง ส่วนด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑล ยังมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง ตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ยังต้องเฝ้าระวังฝนที่ตกสะสม ทิศทางลมแปรปรวน ส่วนใหญ่เป็นลมตะวันออก ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม เนื่องจากมวลอากาศเย็นยังแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบทั้งหมดแล้วเพียงแต่ยังมีกำลังอ่อน
ส่วนภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นตกต่อเนื่อง และมีตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ยังต้องระวังฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก คลื่นลมแรงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง (ข้อมูลนี้ใช้เป็นแนวทางในการติดตามสภาพอากาศ ยังต้องติดตามด้วยข้อมูลจากผลการตรวจอากาศอื่นๆ ร่วมด้วย อาจมีการเปลี่ยนแปลง ตามข้อมูลที่มีการประมวลผลใหม่).
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
'เหนือ-อีสาน' ยังเย็นต่อเนื่องส่วน 'ภาคใต้' ฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
ลมหนาวมาต่อเนื่อง กรมอุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อุณหภูมิลดฮวบ 2-4 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้