นายกฯ ชู 3 ประเด็นถกอาเซียน-ญี่ปุ่น

นายกฯอิ๊งค์ ร่วมเวทีประชุมอาเซียน-ญี่ปุ่น เสนอ 3 แนวทาง 'ดิจิทัล-พลังงานสีเขียว -นวัตกรรม' เพิ่มความร่วมมือระหว่างกัน

10 ต.ค.2567 - น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมผู้นำและผู้แทนสมาชิกอาเซียน ร่วมประชุมกับ นายชิเกรุ อิชิบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 27 โดยนางสาวแพทองธาร กล่าวแสดงความยินดีต่อนายชิเกรุ อิชิบะ ในโอกาสที่เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยญี่ปุ่นนับเป็นพันธมิตรที่อาเซียนเชื่อถือไว้วางใจ มีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ และมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ ดังนั้น อาเซียนและญี่ปุ่น จะเร่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันให้เข้มแข็ง ผ่านการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุม 3 ประการ ดังนี้

นายกฯ กล่าวต่อว่า ประการที่หนึ่งการเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่โลกแห่งดิจิทัล ทั้งนี้ประเทศไทยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของญี่ปุ่นในด้านดิจิทัลที่กำลังเกิดขึ้นใหม่เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล นอกจากนี้ อาเซียนและญี่ปุ่นควรเพิ่มความร่วมมือในการพัฒนาทักษะและเพิ่มทักษะใหม่ให้แก่ MSMEs รวมถึงเปิดโอกาสให้MSMEs เข้าถึงตลาดใหม่ ๆ อย่างไรก็ตามการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ได้นำมาซึ่งประโยชน์มากมายต่อพลเมือง แต่ก็เปิดโอกาสให้เกิดการใช้งานในทางที่ผิดได้เช่นกัน ดังนั้น อาเซียนและญี่ปุ่น ควรร่วมมือกันส่งเสริมความปลอดภัยทางไซเบอร์และต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ให้มากขึ้น ผ่านศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้าน ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

นายกฯ กล่าวว่า ประการที่สองการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียว เน้นย้ำว่าความมุ่งหวังของรัฐบาลในการส่งเสริมการผลิตพลังงานสะอาด และยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาค พร้อมแสดงความยินดีต่อการดำเนินการของโครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่นสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต (ASEAN-Japan Co-Creation Initiative for the Next-Generation Automotive Industry) และไทยหวังว่าจะได้ร่วมมือกันมากขึ้นในการประชุม Asia Zero Emission Community เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านรูปแบบพลังงานใหม่ๆ ของภูมิภาคนี้

นายกฯ กล่าวอีกว่า สำหรับประการที่สามคือ การขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม เห็นว่านวัตกรรมเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ประเทศไทยขอบคุณญี่ปุ่นที่สนับสนุนการเพิ่มความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งการแลกเปลี่ยนงานวิจัย พร้อมหวังว่าจะได้ร่วมมือกันเพิ่มเติมในด้านเทคโนโลยีเกษตร อาหาร และการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าท้องถิ่น ผ่านการขับเคลื่อนนวัตกรรมต่อไป ซึ่งเชื่อมั่นว่าหากมีการพัฒนาตามกรอบ 3 ประการนี้ จะทำให้ประเทศไทยพัฒนาได้อย่างรวดเร็วขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ลงพื้นที่จชต. ยันไม่สู้เรื่องความรุนแรง แต่ต้องไปแก้ปัญหาหลายด้าน

นายกฯ บอกอย่ามองเหตุไม่สงบ ก่อนลงพื้นที่จชต. เป็นสัญลักษณ์ถึงรัฐบาล ยันไม่สู้เรื่องความรุนแรง แต่ต้องไปแก้ปัญหาทุกเรื่อง ชี้ เราโตช้า พร้อมซัพพอร์ตทุกจว.ให้สงบ

ลามหนัก! นายกฯอิ๊งค์ เผยโดนแก๊งคอลฯอ้างเป็นผู้นำประเทศ หลอกให้โอนเงินบริจาค

นายกฯอิ๊งค์ เตือน ปชช. ระวังแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ เผยโดนมาแล้วหลอกให้โอนเงินบริจาค ใช้ AI เอาเสียง อ้างเป็นผู้นำ แต่ไหวตัวทัน สั่ง 'ประเสริฐ' ช่วยดูต่อ

เปิดกำหนดการ นายกฯ ลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 16 ม.ค.นี้

นายกฯ ลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 16 ม.ค.นี้ ร่วมมหกรรมแก้หนี้ -พบปะผู้นำศาสนา-ผู้ประกอบการ ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาจังหวัด

ถามตรง นายกฯอุ๊งอิ๊ง ลาว กัมพูชา เมียนมา เปิดบ่อนกาสิโน มากมายนับสิบปี เศรษฐกิจดีจริงหรือ

นายสมชาย แสวงการ อดีตสมชิกวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ถามตรงนายกอุ๊งอิ๊ง แบบไม่ต้องหันไปถามพ่อ

'นายกฯอิ๊งค์' ขอเคลียร์ปม 'พ.ร.บ.กาสิโน' หลังถก ครม.

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยก่อนการประชุมผู้สื่อข่าวสอบถามว่าจะมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถานบันเทิงครบวงจร หรือเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์

ข้องใจ! เงินให้กู้ยืมคู่สมรส ร้อง ป.ป.ช. สอบ 'นายกฯอิ๊งค์'

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร กรณีเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)