9 ต.ค.2567 - นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง กรณีที่มีบุคคลสวมใส่ชุดปกติขาว อ้างยศนาวาตรี และถ่ายรูปบริเวณป้ายสำนักประธานสภาผู้แทนราษฎร นำไปแอบอ้างหาประโยชน์ว่า ตนเดินทางมาประชุม สมัชชารัฐสภาอาเซียนจึงยังไม่ได้รับรายงาน แต่หลังกลับไปคงต้องตรวจสอบว่ามีการแอบอ้างอย่างไร ซึ่งโดยปกติจะมีกล้องวงจรปิดอยู่แล้ว คงจะรู้ว่าเกิดขึ้นตอนไหนและจะต้องไปตรวจสอบในรายละเอียด แต่อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่ารัฐสภาไม่เหมือนกับทำเนียบรัฐบาลหรือหน่วยราชการอื่น เพราะสภาเป็นที่ของประชาชน ที่สามารถมาเยี่ยมชมและพบประธานสภาได้ เนื่องจากประธาน รองประธานและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้แทนของปวงชน จึงต้องเปิดให้บุคคลภายนอก เข้ามาพบเพื่อยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ต่างๆ หรือเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จึงมีประชาชนมาพบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เราต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้น
“ เรื่องของการแอบอ้าง ผมก็ไม่ทราบว่าจะไปแอบอ้างเรื่องอะไร เนื่องจากสภาไม่ได้มีผลประโยชน์ แต่ก็ไม่ ควรที่จะวางใจมาก ซึ่งก็มีกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับบุคคลหนึ่งใส่ชุดขาวมาที่สภา และอ้างกับตำรวจว่าลองสวมใส่ชุดขาวราชการดูซึ่งทราบว่าบุคคลดังกล่าวถูกจับมาหลายครั้งแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นกรณีนี้ และเมื่อดูจากภาพ เดินอยู่หน้าห้องประธาน หรือหน้าบัลลังก์ก็เข้าไม่ได้อยู่แล้ว คงเป็นกรณีที่ตอนเดินเข้ามาที่เดินเข้ามาในสภา ซึ่งสภาคนเยอะและมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 500 คน ก็ไม่ทราบว่าเป็นข้าราชการจากที่ไหนก็ข้าราชการมาชี้แจง และกรณีนี้สภาตามมาพอสมควรแล้วจนมาจับได้ที่สภา ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจจะ มาด้วยความไม่สุจริตหรือสติไม่ดี เพราะยากที่จะมีคนใส่ชุดขาวมาทำเช่นนี้”ประธานรัฐสภา กล่าว
ประธานรัฐสภากล่าวว่า หลังจากนี้จะไปดูว่ามีสิ่งใดที่จะต้องกลับไปแก้ไข ในมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัย แต่การจะไปเข้มงวดการเข้าออกมากจนเกินไปก็จะกระทบกับประชาชนที่จะมาหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่บางครั้งที่บางชั้นโดยปกติก็ไม่ได้อนุญาตให้ประชาชนเข้าไปแล้วเข้าไปยกเว้นมีการมีการขอมาเป็นกรณีพิเศษและมีและมีบัตรให้สามารถผ่านได้
ส่วนจะถึงขั้นยกระดับการรักษาความปลอดภัยหรือไม่นั้นประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวว่ายังไม่ถึงขั้นนั้น แต่ก็ต้องไปปรึกษาหารือกันเรื่องการดูเรื่องการดูแลสถานที่และความปลอดภัยนั้นมอบหมายให้นายนายพิเชษฐ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งไปดูแล ก็ต้องไปพูดคุยกัน เพื่อออกมาตรการ แต่กระชับแต่จะเข้มงวดเหมือนสถานที่สถานก็มียากส่วนราชการอื่นก็คงยาก เพราะรัฐสภา เป็นสถานที่ที่อยากให้ประชาชนแสดงการแสดงความคิดเห็น และการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการแม้กระทั่งประธานสภาตนก็ไม่ขัดข้องหากแจ้งล่วงหน้าที่จะพบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน
ประธานวิปรัฐบาล โทษเงื่อนประชามติทำรธน.สะดุด
“วิสุทธิ์" รับ หากกมธ.ตกลงไม่ได้เงื่อนไขประชามติ 2 ชั้น เสี่ยงแก้รธน.ไม่ทัน ยันไม่ใช่ความรับผิดชอบทำสะดุด
คนไทยไม่ได้โง่! อดีตสว.สมชาย จี้รัฐบาลชงยกเลิก MOU2544 เข้าสภาเห็นชอบ
อดีตสว.เสนอ รัฐบาล นำเรื่องยกเลิก MOU2544 เข้าสู่รัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา178 โดยเร็ว
สภาฯถกด่วน 'คดีตากใบ' ก่อนหมดอายุความเที่ยงคืนนี้
สภาฯถกด่วน 'คดีตากใบ' หมดอายุความเที่ยงคืนนี้ 'รอมฏอน' ตั้งคำถามจำเลยลอยนวลต้องรับผิดชอบหรือไม่ 'กมลศักดิ์' ขอบคุณนายกฯ แสดงความเสียใจ ขอรัฐบาลแก้กม.ไม่ให้ขาดอายุความ
'ประเสริฐ' โลกสวย! 'พิเชษฐ์- ชลน่าน' ฟาดกันกลางสภาฯ แค่กระเซ้าเย้าแหย่
'ประเสริฐ' ชี้ 'พิเชษฐ์- ชลน่าน' ปะทะคารมกลางสภาฯ แค่กระเซ้าเย้าแหย่ ปัดตอบ สส. เพื่อไทย โหวตคว่ำข้อสังเกต กมธ.นิรโทษกรรม โยนถามวิปรัฐบาล
'ภูมิธรรม' ชี้ 'นิรโทษกรรม' จบแล้ว! หลังสภาโหวตคว่ำข้อสังเกต กมธ.
นายภูมิธรรม เวชชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีสภาผู้แทนราษฎรรับทราบรายงานผลการศึกษาแนวทางการตรากฎหมายนิรโทษกรรมคดีการเมือง