เขื่อนเจ้าพระยา ปรับเพิ่มการระบาย หลังน้ำเหนือจ่อไหลมาสมทบ

5 ต.ค.2567 - ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ว่า ตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีลักษณะอากาศแปรปรวนเกิดขึ้น โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกและมีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ นั้น

ปัจจุบันปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท มีปริมาณ 2,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที คาดการณ์สถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ในช่วง 1 - 7 วันข้างหน้า ที่สถานีวัดน้ำ C.2 จ.นครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 2,200 - 2,500 ลบ.ม./วินาที ก่อนจะไหลลงสู่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา โดยการรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ตามศักยภาพของคลองชลประทาน

ทั้งนี้ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เห็นชอบให้กรมชลประทาน ปรับเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันไดผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราไม่เกิน 2,500 ลบ.ม./วินาที แต่เพื่อลดผลกระทบพื้นที่ด้านท้าย กรมชลประทานจะควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในอัตราไม่เกิน 2,400 ลบ.ม./วินาที ให้สามารถรองรับมวลน้ำเหนือ น้ำฝน ที่จะไหลลงมาสมทบในระยะนี้ได้ ซึ่งการระบายน้ำในอัตราดังกล่าว จะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ
60-70 เซนติเมตร อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน บริเวณ

คลองโผงเผง จ.อ่างทอง , คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา แม่น้ำน้อยบริเวณ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา

ดสิงห์ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี

อ.พรหมบุรี อ.เมือง จ.สิงห์บุรี

วัดไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง

ต.โพนางดำตก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท

วัดเสือข้าม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี

อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง

กรมชลประทาน ได้ทำหนังสือแจ้งเตือนไปยังจังหวัดในพื้นที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนถึงสถานการณ์น้ำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม เฝ้าระวังระดับน้ำและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด หากระดับน้ำทางตอนบนเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น จะแจ้งให้ทราบเป็นระยะๆ ต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้

พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67

กรมอุตฯ ประกาศเตือนพายุ 'โทราจี' ฉบับสุดท้าย

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โทราจี” ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 31 จังหวัด 'เหนือ-อีสาน' อุณหภูมิสูงขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบนมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง