สทนช. เผย 18 จังหวัดยังจมบาดาล

29 ก.ย. 2567 – สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ทำการสรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 ก.ย. 67 เวลา 7.00 น.

1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.เชียงใหม่ (74 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ชัยภูมิ (49 มม.) ภาคกลาง : จ.ลพบุรี (153 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ชลบุรี (44 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (51 มม.) ภาคใต้ : จ.ยะลา (112 มม.)

สภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีฝนตกหนัก กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คาดการณ์ :.ช่วงวันที่ 29 ก.ย. – 4 ต.ค. 67 ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

2.สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 73% ของความจุเก็บกัก (58,920 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 60% (34,734 ล้าน ลบ.ม.)

3.สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) :

3.1 เฝ้าระวัง น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขังแม่น้ำยัง ช่วงวันที่ 26 – 29 ก.ย. 67
จากปริมาณฝนตกหนักบริเวณ จ.กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด ส่งผลให้ระดับน้ำในลำน้ำยัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าระดับน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 26 -29 ก.ย. 67 ประมาณ 0.30 – 0.90 ม. และจะไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำนอกเขตพนังกั้นน้ำ ริมสองฝั่งของลำน้ำยัง บริเวณ อ.เสลภูมิ และโพนทอง จ.ร้อยเอ็ด

3.2 เฝ้าระวัง น้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 2 ต.ค. 67

เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ประกอบกับมวลน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำไหลลงมาสมทบ ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำท่วม บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีน ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราว บริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) จึงขอให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง จ.สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ

4.แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (28 ก.ย. 67) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่สำรวจและประเมินสถานการณ์พร้อมติดตามการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหลังเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบเงินช่วยเหลือเยียวยา และมอบชุดอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านเรือน รวมถึงผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่และเด็กให้กับผู้ประสบอุทกภัย พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ให้กลับสู่สภาพปกติภายใน 45 วัน และเร่งประชุมหารือเพื่อพิจารณาจำนวนอุปกรณ์เครื่องมือในการช่วยเหลือให้เพียงพอ นอกจากนี้ กองทัพไทย ได้รายงานแผนการดำเนินงานการฟื้นฟูพื้นที่ตาม 5 ภารกิจได้แก่ 1) เปิดเส้นทางการจราจร ดำเนินการแล้ว 90% 2) ฟื้นฟูสภาพบ้านเรือน ดำเนินการแล้ว 65% 3) ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์4) ร่วมกับตำรวจในพื้นที่ในการควบคุมการจราจร และดูแลความปลอดภัยในช่วงยามวิกาล และ 5) การรักษาพยาบาล

ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอให้รัฐบาลพิจารณาจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ และฟื้นฟูจิตใจเด็กและเยาวชนในชุมชนผู้ประสบภัย รวมถึงมีมาตรการกระตุ้นและสนับสนุนเยาวชนเป็นจิตอาสา หรือมีรายได้พิเศษจากการทำงานในช่วงปิดภาคเรียนนี้
โดยในช่วงบ่ายนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์อุทกภัยและแนวทางการฟื้นฟูในพื้นที่ อ.เมืองฯ จ.เชียงใหม่ พร้อมทั้งมอบถุงยังชีพให้แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย โดยมอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้

ให้กระทรวงสาธารณสุขช่วยฟื้นฟูสภาพจิตผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย

2.ให้จังหวัดเชียงใหม่พิจารณาระบบแบบจำลองการบริหารจัดการสถานการณ์น้ำทั้งประเทศ รวมทั้งการช่วยเหลือประชาชน

สถานการณ์น้ำท่วม : วันที่ 28 ก.ย. 67 ในพื้นที่ 18 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เมืองฯ แม่สรวย เวียงป่าเป้า และแม่ลาว) จ.เชียงใหม่ (อ.เมืองฯ แม่อาย และแม่ออน) จ.ลำพูน (อ.เมืองฯ ป่าซาง บ้านธิ ทุ่งหัวช้าง แม่ทา เวียงหนองล่อง บ้านโฮ่ง และ) จ.ลำปาง (อ.เกาะคา แม่พริก สบปราบ เถิน และแจ้ห่ม) จ.แพร่ (อ.เมืองฯ ลอง สูงเม่น และวังชิ้น) จ.น่าน (อ.นาน้อย นาหมื่น และเวียงสา) จ.ตาก (อ.สามเงา และบ้านตาก) จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสำโรง และสวรรคโลก) จ.พิษณุโลก (อ.เมืองฯ พรหมพิราม บางระกำ บางกระทุ่ม วังทอง วัดโบสถ์ และนครไทย) จ.เพชรบูรณ์ (อ.ชนแดน ศรีเทพ หนองไผ่ หล่มสัก และหล่มเก่า) จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.บางบาล บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา ผักไห่ เสนา และบางไทร) จ.เลย (อ.เมืองฯ) จ.หนองคาย (อ.เมืองฯ ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ และโพนพิสัย) จ.อุดรธานี (อ.เมืองฯ และสร้างคอม) จ.ชัยภูมิ (อ.บ้านแท่น ภูเขียว คอนสวรรค์ และจัตุรัส) จ.มหาสารคาม (อ.เมืองฯ กันทรวิชัย โกสุมพิสัย และเชียงยืน) จ.อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ เขมราฐ โพธิ์ไทร นาตาล โขงเจียม) และจ.ปราจีนบุรี (อ.ประจันตคาม นาดี กบินทร์บุรี และศรีมหาโพธิ)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศปช. อัปเดตสถานการณ์น้ำทั่วไทย ภาคกลางแนวโน้มดี คืบหน้าเยียวยา-ฟื้นฟูพื้นที่อุทกภัย

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. และ ศปช. ส่วนหน้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า จากปริมาณฝนที่ยังตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ภาคใต้ในช่วงนี้

'ศปช. ส่วนหน้า' เตือนเชียงใหม่รับน้ำอีกรอบ ประกาศพื้นที่เสี่ยง 7 โซน

'ศปช. ส่วนหน้า' เตือนเชียงใหม่เตรียมรับน้ำอีกรอบ ประกาศพื้นที่เสี่ยง 7 โซน ด้าน ปภ. ระดมกำลังเสริมเข้าพื้นที่ เชียงรายน้ำลดเร่งฟื้นฟู

เชียงใหม่ยังวิกฤต! มวลน้ำป่าทะลักลงแม่ปิงค่ำนี้ เพิ่มสูงส่อทุบสถิติใหม่

สถานการณ์น้ำท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ยังคงวิกฤตต่อเนื่อง แม้ระดับน้ำปิงที่จุด p1 จะขึ้นสูงสุดช่วงตีสองที่ผ่านมา 4.81 เมตร

'เขื่อนเจ้าพระยา' ระบายน้ำเพิ่มอีก 2 พันลบ.ม. ท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ 3 จังหวัด

หลังจากที่เขื่อนเจ้าพระยาได้ระบายน้ำในอัตรา 1,899 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ติดต่อกัน 6 วัน และได้มีการปรับเพิ่มระบายน้ำแบบขั้นบันได

เตือนพื้นที่ลุ่มต่ำ! เขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มระบายน้ำแบบขั้นบันได

สถานการณ์น้ำเขื่อนเจ้าพระยา เมื่อเวลา 06.00 น. ปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C2. จ.นครสวรรค์ 1,930 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน (26 ก.ย.) 84 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที