'นักวิชาการ' อัดจนท.ปล่อยปละละเลย ปลูกพืช ทำเกษตรบนภูเขา สาเหตุหลักน้ำท่วมรุนแรง

25 ก.ย.2567- ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า

ปลูกพืช ทำเกษตรกรรมบนภูเขาทำได้อย่างไร? กฎหมายชัดเจนแต่ปล่อยปะละเลย สาเหตุหลักของการทำให้เกิดน้ำท่วมภาคเหนือรุนแรงในปีนี้

1..คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2528 เห็นชอบด้วยกับนโยบายป่าไม้แห่งชาติตามมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กำหนดให้พื้นที่ที่มีความลาดชันโดยเฉลี่ย 35% ขึ้นไปเป็นพื้นที่ป่าไม้โดยไม่อนุญาตให้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่ที่มีความลาดชันโดยเฉลี่ย 35 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปเป็นพื้นที่ที่มีการชะล้างหน้าดินสูงไม่เหมาะสมแก่ การทำเกษตรกรรม สมควรเป็นพื้นที่ป่าไม้และไม่อนุญาตให้มีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน แต่ไม่รวมถึงที่ดินซึ่งผู้ครอบครองมีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายที่ดินคือครอบครองมาก่อนอย่างถูกกฎหมายก่อนวันที่1ธค. 2497หรือมีหลักฐานครอบครอง เช่น นส 3 ก หรือ สค.1

2. กฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497ข้อ14 (2)กำหนดให้พื้นที่เขา ที่ภูเขาและปริมณฑลรอบที่เขาหรือภูเขาระยะ40เมตร เป็นพื้นที่ต้องห้ามไม่ให้ออกโฉนดที่ดิน แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้ครอบครองมีสิทธิครอบครองโดยชอบตามประมวลกฎหมายที่ ดิน(ได้มาก่อน1ธค.2497)

3.คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 พฤษภา คม 2538กำหนดนิยามของ เขา หมายถึง ส่วนของพื้นที่ที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ (Surrounding) น้อยกว่า 600 เมตร ปรากฎในแผนที่ว่าเป็นเขา พื้นลาดชันร้อยละ 20- 35และที่ภูเขา หมายถึงส่วนของพื้นที่ที่สูงจากบริเวณรอบๆ (Surrounding) ตั้งแต่ 600 เมตร ขึ้นไปพื้นที่ลาดชันมากกว่าร้อยละ 35

4.ผู้บุกรุกป่าที่ถูกจับในกรณีแผ่วถ้างหรือเผาป่า เพื่อที่จะได้ครอบครองที่ดินนั้นในเขตอุทยานแห่งชาติ หรืออุทยานต่างๆ ของประเทศไทยจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 20 ปี หรือปรับสูงถึง 2 ล้านบาท นอกจากนี้ห้ามยึดถือ/ครอบครอง/ทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัย/ก่อสร้าง/แผ้วถาง/เผาป่า/ทำไม้/เก็บหาของป่า หรือทำให้ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมสภาพ บทลงโทษ : จำคุก 1 – 10 ปี และปรับ 20,000 – 200,000 บาท

5. จากกฎหมายดังกล่าว ประชาชนได้บุก รุกภูเขาไปปลูกพืช ทำเกษตรกรรมได้อย่างไร? หน่วยงานภาครัฐที่ดูแลพื้นที่ยินยอมได้อย่างไร?..สุดท้าย ฝนตกหนัก น้ำป่าจากภูเขาไหลเชี่ยวกราก พัดพาดินโคลนจากภูเขามาถล่มเมืองในพื้นที่ราบ ทั้งเชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน ลำปาง เป็นต้นในปี2567เพราะทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โค่นป่า ปลูกพืชล้มลุกบนภูเขาทำผิดกฎหมายแต่เจ้าหน้าที่ปล่อยปะละเลย

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตือนควันไฟไหม้ โรงงานพลาสติกและเคมีภัณฑ์ มาบตาพุด อันตรายสารก่อมะเร็ง

เกิด ไฟไหม้ บริเวณ Plant VCM1 ภายในโรงงานบริษัทไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด ในพื้นที่นิคมมาบตาพุด จ.ระยอง ทำให้เกิดกลุ่มควันสีขาวและสีดำปริมาณมาก

นักวิชาการ เผยแนวทางฟื้นฟูภายหลังน้ำท่วมของนานาชาติ แต่ไทยกลับทำตรงข้าม

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง การฟื้นฟูภายหลังจากน้ำท่วม ..นานาชาติเขาทำกันอย่างไร? มีเนื้อหาดังนี้

'นักวิชาการ' เผยระบบเตือนภัย J-Alert - L-Alert สุดยอดของญี่ปุ่นในการเตือนภัยเข้าถึงทุกที่

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กเกี่ยวกับระบบเตือนภัย ว่า

มีสะดุ้ง! นักวิชาการสิ่งแวดล้อม เปิดภาพ ‘น้ำรอการระบาย..กรรมของคนพื้นที่’

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat หัวข้อ “น้ำรอการระบาย..กรรมของคนพื้นที่”

แนะศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์-SEA ตอบโจทย์ แก้ไขปัญหาพื้นที่ลุ่มน้ำยม เขื่อนแก่งเสือเต้น

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย แนะ ศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์(SEA) ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งของพื้นที่ลุ่มน้ำยม เพื่อลดความขัดแย้ง หาทางออก สร้างหรือไม่ควรสร้าง เขื่อนแก่งเสือเต้น

'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' แฉ โรงงานสีเทาผิดกฎหมายจำนวนมาก ตั้งอยู่ในพื้นที่ของท้องถิ่น

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า