25 ก.ย.2567- รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต และรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊กว่า
#ท่วมหนักแล้งรุนแรงท้องถิ่นและองค์กรติดต่อทีมกู้วิกฤตน้ำภาคประชาชนมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จิตอาสาแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง
เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้สร้างความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ (แม้ว่าอุณหภูมิโลกปัจจุบันเพิ่มขึ้นประมาณ 1.2 ℃) ในขณะที่คณะทำงาน IPCC ที่ผมทำงานอยู่ด้วยกว่า 10 ปี ได้คาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะเพิ่มเป็น 1.5 และ 2 ℃ ภายในปี พ.ศ. 2576 และ 2601 ตามลำดับ ในขณะเดียวกันการคาดการณ์สภาพอากาศสุดขั้วมีขีดจำกัดจากเทคโนโลยีปัจจุบัน โลก และประเทศไทยสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปแล้ว หากเราไม่ปรับตัว และเตรียมพร้อมรับสถานการณ์เราจะอยู่ไม่ได้กับโลกใบนี้ โดยเฉพาะลูก หลาน เหลน และรุ่นหลังๆอีกหลายรุ่น เราสามารถคาดการณ์สภาพภูมิอากาศทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทยไป 100 ปีข้างหน้า เรารู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในทุกตารางเมตรบนผืนแผ่นดินไทย มาร่วมกันทำงานกับทีมกู้วิกฤตน้ำภาคประชาชนครับ
เราจะไม่ยอมให้เกิดความสูญเสียอีก ชีวิต และทรัพย์สินพี่น้องประชาชนทุกคนต้องมีหลักประกันความปลอดภัย เราจึงรวมตัววิศวกรมืออาชีพ กับผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือ ป้องกัน และลดผลกระทบด้วย 3 กิจกรรมหลัก 1) พัฒนาระบบเตือนภัยให้ท้องถิ่น พร้อมฝึกอบรมให้สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง 2) ศึกษา ออกแบบ และประมาณราคาโครงการป้องกัน และลดผลกระทบฯ และ 3) ฝึกอบรมการเขียนคำของบประมาณภาครัฐเพื่อดำเนินการโครงการฯตามข้อ 2) สามารถติดต่อทีมงานได้ตามรูปแนบครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘ดร.เสรี ศุภราทิตย์’ แนะปิดจุดอ่อนระบบเตือนภัยท้องถิ่น ป้องกันน้ำท่วมลดความเสียหาย
น้ำท่วมใต้รุนแรงแต่ไม่ควรมีการสูญเสียชีวิตแม้แต่คนเดียวและพฤติกรรมน้ำไหลหลากมาเร็วไปเร็วปิดจุดอ่อนด้วยระบบเตือนภัยท้องถิ่น
‘รศ.ดร.เสรี’ ชี้ ‘เหนือ-อีสาน’ หนาวแรก 14-16 ธ.ค. ห่วงใต้ 12-16 ธ.ค.ฝนตกหนักมาก
แม้ว่าการเกิดน้ำท่วมซ้ำในรอบปีดังกล่าว จะมีโอกาสเกิดน้อย แต่ด้วยข้อมูลอดีตไม่สามารถนำมาใช้ได้ในปัจจุบัน และอนาคตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราจึงต้องเตรียมความพร้อมด้วยความตระหนัก
อากาศแปรปรวน! ดร.เสรี เตือน 23-24 ก.ย. ‘เหนือ-อีสานบน’ ฝนหนัก 26 ก.ย. เริ่มร้อน
สภาพอากาศแปรปรวนโดยจะมีมวลอากาศเย็นจากแผ่นดินใหญ่มาปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 23-24 กันยายนนี้
'ดุสิตโพล' ชี้คนไทยไม่เชื่อมั่น-ไม่พอใจ การทำงานรัฐบาลดูแลเรื่องน้ำท่วม
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับสถานการณ์น้ำท่วม” ระหว่างวันที่ 18 - 20 กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,207 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยประสบปัญหาน้ำท่วม ร้อยละ 68.77
เตือน น่าน เชียงราย พะเยา เฝ้าระวังฝนตกหนัก
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต และรองประธานฯ ที่มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ