25 ก.ย.2567-ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โพสต์เฟซบุ๊กว่า หัวข้อ น้ำท่วมเกิดจากป่าไม้ลดลงจริงหรือ? มีเนื้อหาดังนี้
น้ำท่วมมีปัจจัยมากกว่าพื้นที่ป่าลดลง ทั้งปัจจัยธรรมชาติ เช่น ฝนตกหนักมาก และปัจจัยจากมนุษย์
สำหรับปัจจัยจากมนุษย์ เป็นปัญหาใหญ่ แต่มักไม่ถูกนำมาอธิบาย เช่น
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้อากาศแปรปรวน ฝนตกหนักที่ต่างไปจากธรรมชาติ เช่น น้ำท่วมจากฝนตกหนักในฤดูร้อน ซึ่งหากสาวให้ลึก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็มาจากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นจากอุตสาหกรรม
ผังเมืองที่ผิดพลาด การไม่มีผังเมือง และการไม่มีการวางผังชุมชน ส่งผลให้มีการการรุกลำล้ำน้ำ การทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำ การทำลายสังคมพืชริมน้ำ การไปสร้างชุมชนหรือเมืองในพื้นที่เสี่ยง
เขื่อน การสร้างเขื่อนที่เชื่อว่าป้องกันน้ำท่วม ในระยะแรกที่น้ำยังไม่เต็มเขื่อน เขื่อนก็ช่วยป้องกันน้ำท่วม แต่เมื่อน้ำล้นเขื่อน เขื่อนก็ต้องปล่อยน้ำและทำให้น้ำท่วมหนักจึ้นกว่าตอนไม่มีเขื่อน หลางกรณีน้ำท่วมถึงขั้นอุทกภัยเพราะเขื่อนเร่งปล่อยน้ำ หรือเขื่อนวิบัติ นอกจากนั้นฝายหรือประตูน้ำก็กลายเป็นสิ่งกีดขวางทางน้ำ และทำให้น้ำท่วมรุนแรง
การสร้างโครงสร้างแข็งในการจัดการน้ำท่วม เช่น คันกั้นน้ำ หรือพนังกั้นน้ำ ((dyke) เพืีอป้องกัน ทำให้ตัดขาดพื้นที่รับน้ำท่วมกับลำน้ำ หากคันกั้นน้ำพัง ก็จะเกิดน้ำท่วมรุนแรง หรือหากไม่พัง คันกั้นน้ำจะทำให้น้ำถูกรีดลงไปข้างล่างอย่างรวดเร็ว และทำให้น้ำท่วมทางตอนล่างของลุ่มน้ำหนักขึ้น
ถนน การสร้างถนนที่ขวางทางน้ำ หรือทำให้ทางระบายน้ำแคบลง ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วม
การทำเหมืองเถื่อนบริเวณต้นน้ำ เช่น ที่เขากรุงชิง เขาหลวง
การสร้างพนังบริเวณปากแม่น้ำ เช่น การสร้างพนังกั้นน้ำที่ปากแม่น้ำหลังสวนลงไปในทะเล ทำให้น้ำท่วมตลาดหลังสวน จังหวัดขุมพร เพร่ะน้ำไหลลงทะเลไม่ทัน
การเปลี่ยนแปลงการเกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนจากที่นาเป็นไร่อ้อย ทำให้น้ำไหลงไปในที่ลุ่มอย่างรวดเร็วเนื่องจากไร่อ้อยไม่มีคันนาคอยเก็บน้ำเหมือนการทำนา
การป้องกันน้ำท่วมที่ไม่ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม โดยการป้องกันน้ำท่วมที่หนึ่งเพราะเหตุผลทางเศรษฐกิจหรือการเป็นเมืองหลวง แต่ผลักภาระให้น้ำไปท่วมอีกที่หนึ่ง เช่น คนอยุธยาบางพื้นที่ต้องรับภาระน้ำท่วมอย่างยาวนาน เพื่อไม่ให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ
การทำให้เป็นปัญหาน้ำท่วมของนักจัดการน้ำหรือนักการเมือง โดยการให้นิยามน้ำท่วมตามธรรมชาติว่าเป็นปัญหา เช่น น้ำท่วมพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ที่ราบน้ำลุ่มน้ำ ป่าบุ่งป่าทาม พรุ ทุ่ง ฯลฯ ซึ่งน้ำท่วมในพื้นที่เหล่านี้มีประโยชน์ต่อธรรมชาติและมนุษย์ก็ได้ประโยชน์ด้วย แต่กลับถูกนิยามผิดๆ ว่าเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก
การพิจารณาน้ำท่วมแต่ละที่ แต่ละกรณี จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะอาจมีหลายปัจจัยผสมกัน
ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการอนุรักษ์ป่า แต่ผมไม่เห็นด้วยที่กล่าวอ้างแบบฉาบฉวยว่าน้ำท่วมมาจากป่าไม้ลดลง ซึ่งมันฉาบฉวยพอๆ กับการที่กล่าวว่าแม่น้ำยมน้ำท่วมเพราะยังไม่มีเขื่อน ปัญหาที่จะตามมาก็คือ การฉาบฉวยทำให้สังคมลืมนึกถึงปัจจัยอื่นที่เป็นสาเหตุของภัยพิบัติ
ภาพน้ำท่วมทุ่งกุลาจากเขื่อนห้วยเชียงคำ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม วิบัติเมื่อ 15 กรกฎาคม 2567
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดุสิตโพล' ชี้คนไทยไม่เชื่อมั่น-ไม่พอใจ การทำงานรัฐบาลดูแลเรื่องน้ำท่วม
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับสถานการณ์น้ำท่วม” ระหว่างวันที่ 18 - 20 กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,207 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยประสบปัญหาน้ำท่วม ร้อยละ 68.77
'หลานมาร์ค' แนะทุกฝ่ายต้องร่วมมือแก้ปัญหาน้ำท่วม
'พริษฐ์' ชี้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาน้ำท่วม แนะรัฐบาล รักษาความปลอดภัยชีวิต-ทรัพย์สิน-เยียวยาปชช.ด่วน พร้อมเสนอแก้ปัญหาทั้งระบบ
ครม.รับทราบผลพิจารณาญัตติด่วน เรื่องขอให้สภาฯหาแนวทางแก้น้ำท่วมและมาตรการเยียวยา
นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. มีมติรับทราบผลการพิจารณาศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
อย่าประมาท! ดูกันชัดๆ เขื่อนใหญ่ 3 แห่งกาญจนบุรี อยู่บนรอยเลื่อนเปลือกโลก
ดูกันชัดๆ นักวิชาการชี้เป้า เขื่อนใหญ่ 3 แห่งในกาญจนบุรี ตั้งบนรอยเลื่อนเปลือกโลก ชี้ต้องไม่ประมาทหากเจอแผ่นดินไหว จี้หาแผนเผชิญเหตุเขื่อนพัง