22 ก.ย.2567-กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM รายงานสถานการณ์อุทกภัยระหว่างวันที่ 16 ส.ค. – 22 ก.ย. 67 เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 32 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองคาย นครพนม บึงกาฬ หนองบัวลำภู ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ระยอง ชุมพร ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง และสตูล รวม 172 อำเภอ 753 ตำบล 3,962 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 158,066 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตรวม 46 ราย และได้รับบาดเจ็บรวม 24 คน
ปัจจุบัน ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ลำปาง ตาก พิษณุโลก หนองคาย นครพนม พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 25 อำเภอ 121 ตำบล 565 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 16,960 ครัวเรือน รายละเอียด ดังนี้
1) เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย และ อ.เมืองฯ รวม 4 ตำบล 26 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,268 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 2) ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.งาว อ.เมืองฯ และ อ.ห้างฉัตร รวม 5 ตำบล 16 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง 3)ตาก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.สามเงา รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 25 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 4)พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ และอ.เมืองฯ รวม 7 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 576 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 5) หนองคาย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.สังคม อ.ศรีเชียงใหม่ อ.ท่าบ่อ อ.เมืองฯ อ.รัตนวาปี และ อ.โพนพิสัย รวม 27 ตำบล 151 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,132 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 6) นครพนม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ท่าอุเทน อ.ศรีสงคราม อ.เมืองฯ รวม 8 ตำบล 53 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 250 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 7) พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน และ อ.บางไทร รวม 67 ตำบล 301 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,702 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 8. ปทุมธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมืองฯ รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ปภ. ได้ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย KA-32 เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่างขนาด 200 KVA รถบรรทุกเล็ก รถลากเรือเคลื่อนที่เร็ว เรือท้องแบน อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่ พื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในภาคอื่นที่ไม่มีสถานการณ์ภัย เข้าร่วมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ภัย รวมถึงช่วยฟื้นฟูถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน ในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67
กรมอุตฯ ประกาศเตือนพายุ 'โทราจี' ฉบับสุดท้าย
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โทราจี” ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า
อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 31 จังหวัด 'เหนือ-อีสาน' อุณหภูมิสูงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบนมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง