ถกค่าแรง 400 บาทล่ม ประชุม 3 ฝ่ายสะดุด!

21 ก.ย.2567 - เมื่อวันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา  นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 22 เป็นประธานการประชุมบอร์ดค่าจ้าง ครั้งที่ 9/2567 ที่กระทรวงแรงงาน เพื่อพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ครั้งที่ 3 ในรอบปี 2567 ตามแนวนโยบายของรัฐบาลที่จะให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ในบางประเภทกิจการทั่วประเทศ ที่จะให้มีผลในวันที่ 1 ตุลาคมนี้

โดยการประชุมวันนี้ ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในรอบสัปดาห์ หลังจากที่การประชุมครั้งที่ 8/2567 เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา กรรมการฝ่ายนายจ้าง 5 คน ได้ลาประชุมจนที่ประชุมไม่สามารถลงมติปรับตัวเลขอัตราค่าจ้างรอบใหม่ได้

สำหรับวาระเร่งด่วนที่จะหารือครั้งนี้ คาดว่า ที่ประชุมจะมีการหารือประเด็นสำคัญที่ค้างมาจากการประชุมครั้งก่อนเกี่ยวกับการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรอบใหม่ โดยจะพิจารณาผลการกลั่นกรองข้อเสนออัตราค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละจังหวัดรอบใหม่ รวมทั้งพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของสถานประกอบการขนาดใหญ่ที่มีลูกจ้าง 200 คนขึ้นไป ที่มีค่าจ้างเฉลี่ย 400 บาทต่อวัน ขณะเดียวกัน ยังคาดว่าบอร์ดไตรภาคี จะหารือเกี่ยวกับการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือกลุ่มเอสเอ็มอี ว่า จะเลื่อนเวลาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อไปหรือไม่ เช่น อาจไม่ปรับขึ้นค่าแรง 3 เดือน เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้มีเวลาปรับตัวด้วย

จนกระทั่ง เมื่อถึงเวลานัดหมายเวลา 13.30 น. ปรากฏว่ากรรมการไตรภาคี รวม 15 คน ยังเข้าประชุมไม่ครบ มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม เพียง 9 คน จากไตรภาคี (15 คน) ขาดไป 6 คน แต่รอบนี้ ปรากฏว่า ฝ่ายนายจ้าง มาครบทั้ง 5 คน ส่วนฝ่ายลูกจ้างมาเพียงแค่ 3 คน (ขาด 2 คนติดต่อไม่ได้) และฝ่ายรัฐบาล ไม่มาทั้ง 4 คน ซึ่งมาเพียงแค่ปลัดกระทรวงแรงงาน เพียงผู้เดียวที่ทำหน้าที่ประธานการประชุม

จากนั้นเวลา 15.10 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีการปิดการประชุมในวันนี้ และนัดประชุมครั้งต่อไปในช่วงเช้าของวันที่ 24 กันยายนนี้

สำหรับรายชื่อคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 22 มีดังนี้ 1. นางโสภา เกียรตินิรชา ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล (ไม่มา) 2. นางสาววรวรรณ พลิคามิน ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล (ไม่มา) 3.นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล (ไม่มา) 4. นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล (ไม่มา) 5. นางสาวศุภานัน ปลอดเหตุ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 6. นายณัฏฐกิตติ์ เขตตระการ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 7. นายอรรถยุทธ ลียะวณิช ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 8. นายเนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 9. นายชัยยันต์ เจริญโชคทวี ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 10. นายกัมปนาท ศรีพนมวรรณ ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง 11. นายสมชาย มูฮัมหมัด ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง 12. นายอ่อนสี โมฆรัตน์ ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง (ไม่มา)

13. นายไพโรจน์ วิจิตร ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง (ไม่มา) 14. นายวีรสุข แก้วบุญปัน ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง

รายงานข่าวจากหอการค้าภาคใต้ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆได้มีการประชุมหอการค้าภาคใต้และมีมติคัดค้านการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ ตามที่ รมว.แรงงานให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เนื่องจากมติของอนุกรรมการไตรภาคีแต่ละจังหวัด ที่ได้ข้อสรุปและนำเสนอไปยังส่วนกลาง คือให้มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามบริบทของแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีค่าแรงขั้นต่ำแตกต่างกัน โดยไม่ได้วิ่งตามนโยบายฝ่ายการเมือง กลุ่มแรงงานที่ได้ประโยชน์โดยตรงคือแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยๆประมาณ 2-3 ล้านคน แล้วส่งเงินกลับประเทศ สินค้าขึ้นราคารับการปรับค่าแรงขั้นต่ำแล้ว คนที่เดือดร้อนอีกกลุ่มคือกลุ่มรากหญ้าที่ต้องบริโภคสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้น

นายทรงพล จังศิริวัฒนธำรง ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา กล่าวว่า สมาชิกหอการค้า จ.สงขลาไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแบบพุ่งพรวดรวดเดียว 400 บาททั่วประเทศ เพราะผลประโยชน์ไม่ได้กับทุกฝ่าย แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือผู้ประกอบการขนาดเล็กส่วนใหญ่พึ่งพาเกษตร และเอสเอ็มอี ซึ่งใช้กำลังคนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์และมีทุนต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่จ้างแรงงานต่างด้าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์" ระดมทีมช่างฝีมือแรงงาน ทั่วภาคเหนือ ซ่อมฟรี! ระบบใช้ไฟฟ้าในบ้าน มอเตอร์ไซค์ อุปกรณ์ประกอบอาชีพ ช่วยบรรเทาผู้ประสบอุทกภัยเชียงราย

วันที่ 25 กันยายน 2567 เวลา 10.30น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ผม พร้อมด้วยนางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และนางบังอร มะลิดิน

ปัดเตะถ่วง! นายกฯแพทองธาร ยันค่าแรง 400 บาท จะขึ้นภายในปีนี้

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงความชัดเจนในเรื่องของค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทที่ดูเหมือนจะเลื่อนการจ่ายเงินจากวันที่ 1 ต.ค. 2567 ออกไป

พิพัฒน์ เรียกร้องนายจ้าง เห็นใจลูกจ้าง ขึ้นค่าแรง 400 บาท วอนเข้าร่วมประชุมไตรภาคี พรุ่งนี้ 13.30 น. แย้ม ก.คลัง เห็นด้วยมาตรการบรรเทาผลกระทบนายจ้าง

วันที่ 19 กันยายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการขึ้นค่าแรง 400 บาทว่า ในวันพรุ่งนี้ (20 ก.ย.67) เวลา 13.30

พิพัฒน์ ย้ำ 1 ต.ค.ค่าแรง 400 บาท เผยมีข้อเสนอ 7 มาตรการ ช่วยบรรเทาผลกระทบทั้งนายจ้าง-ลูกจ้าง

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงข้อเสนอจากกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือนายจ้างกรณีขึ้นค่าแรง 400 บาทในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ว่า กระทรวงแรงงานได้รับข้อหารือจากผู้ประกอบการ