ปภ.สร้างความเชื่อมั่นระบบเฝ้าระวังการเกิดสึนามิของประเทศไทย

16 ม.ค. 2565 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เผยแพร่ระบบการติดตามและเฝ้าระวังการเกิดสึนามิของไทย โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) ได้มีการติดตามข้อมูลจากเครื่องมือเฝ้าระวังของหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภายในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อประกอบการวิเคราะห์ แจ้งเตือนการเกิดสึนามิ ดังนี้

1 การเฝ้าระวังการเกิดสึนามิฝั่งอันดามัน จะมีข้อมูลจากทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของประเทศไทย จำนวน 2 ตัวตัวแรกติดตั้งในมหาสมุทรอินเดีย (สถานี 23401) กรณีเกิดสึนามิสามารถยืนยันคลื่นสึนามิที่จะกระทบชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ล่วงหน้า 1 ชั่วโมง 45 นาที ตัวที่สองติดตั้งในทะเลอันดามัน (สถานี 23461) กรณีเกิดสึนามิสามารถยืนยันคลื่นสึนามิที่จะกระทบชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ล่วงหน้า 45 นาที และใช้ข้อมูลจากต่างประเทศมาประกอบการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ข้อมูลจากทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของสาธารณรัฐอินเดีย โดยสามารถติดตามข้อมูลได้จากจากเว็บไซต์ของ National Data Buoy Centre (https://www.ndbc.noaa.gov/) ข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวในทะเลแถบมหาสมุทรอินเดียจากหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหวกรมอุตุนิยมวิทยา GFZ German Research Centre for Geosciences (GEOFON) European Mediterranean Seismological Centre (EMSC) The United States Geological Survey (USGS) International Oceanographic Commission (IOC) INCOIS BMKG JATWC (TSPs) และข้อมูลสถานีวัดระดับน้ำทะเลจากเว็บไซต์ของ The Intergovernmental Oceanographic Commission : IOC (http://www.ioc-sealevelmonitoring.org/map.php) ดังนี้ สถานีตรวจระดับน้ำทะเล Port Blair ของสาธารณรัฐอินเดีย สถานีตรวจระดับน้ำทะเลสถานี Nancowry ของสาธารณรัฐอินเดีย สถานีตรวจระดับน้ำทะเลเกาะซาบัง ของประเทศอินโดนีเซีย และยังใช้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลบริเวณสถานีเกาะเมียง จังหวัดพังงา ของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และสถานีเกาะราชาน้อย จังหวัดภูเก็ต ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

2 การเฝ้าระวังการเกิดสึนามิฝั่งอ่าวไทย จะใช้ข้อมูลจากทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของประเทศในฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก โดยสามารถติดตามข้อมูลได้จากจากเว็บไซต์ของ National Data Buoy Centre (https://www.ndbc.noaa.gov/) ข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวในทะเลหรือภูเขาไฟระเบิดในทะเลแถบมหาสมุทรแปซิฟิก จากหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา GFZ German Research Centre for Geosciences (GEOFON) European Mediterranean Seismological Centre (EMSC) The United States Geological Survey (USGS) Pacific Tsunami Warning Centre (PTWC) South China Sea Tsunami Advisory Centre (SCSTAC) International Oceanographic Commission (IOC) INCOIS BMKG JATWC (TSPs) และข้อมูลสถานีวัดระดับน้ำทะเลจากเว็บไซต์ของ The Intergovernmental Oceanographic Commission : IOC (http://www.ioc-sealevelmonitoring.org/map.php) ดังนี้ สถานีตรวจระดับน้ำทะเล สถานี Pulau Perhentian ของประเทศมาเลเซียและสถานีตรวจระดับน้ำทะเลสถานี Vung Tau ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ซาบีดา' ลุยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รายงานมีฝนตกหนักทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ. อุทัยธานี

'อนุทิน' นั่งหัวโต๊ะเปิดศูนย์บัญชาการแก้น้ำท่วมทุกมิติ

“อนุทิน” นั่งหัวโต๊ะเปิดกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เพิ่มประสิทธิภาพแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยครอบคลุมทุกมิติ พร้อมจับมือ อว.เปิดวอร์รูมน้ำแจ้งเตือนข้อมูลสถานการณ์การทำงานเป็นเอกภาพ

รล.ประจวบฯ เก็บกู้ทุ่นตรวจวัดสึนามิ หลุดออกจากตำแหน่งกลางทะเลอันดามัน

เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ได้พบ ทุ่นฯ อยู่ห่างจากเกาะสุรินทร์ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร (16 ไมล์ทะเล)