20 ก.ย. 2567 – สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ เวลา 7.00 น. ดังนี้
1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคใต้ : จ.ระนอง (94) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.บุรีรัมย์ (72) ภาคกลาง : กรุงเทพมหานคร (67) ภาคเหนือ : จ.แพร่ (65) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (49) ภาคตะวันตก : จ.เพชรบุรี (25)
สภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ ภาคตะวันออก และอ่าวไทย ประกอบกับมีพายุดีเปรสชันปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในภาคตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ในภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 20–25 ก.ย. 67 ร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ตลอดช่วง ประกอบกับพายุโซนร้อน “ซูลิก” บริเวณประเทศลาวได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว โดยมีศูนย์กลางบริเวณแขวงคำม่วน ประเทศลาว ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดนครพนม พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนืออย่างช้าๆ คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในระยะต่อไป ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง
2.สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 68% ของความจุเก็บกัก (54,592 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 52% (30,407 ล้าน ลบ.ม.)
3.ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 16/2567 ลงวันที่ 17 ก.ย. 67 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 19 – 25 ก.ย. 67 ดังนี้
3.1 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร..นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง และสตูล
3.2 เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80
3.3 เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำสาย แม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำยม แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเลย ห้วยหลวง แม่น้ำสงคราม แม่น้ำจันทบุรี และแม่น้ำตราด
4.การให้ความช่วยเหลือ : วันที่ 19 ก.ย. 67 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมหน่วยบริหารจัดการน้ำครั้งที่ 9/2567 พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด และพื้นที่ภาคเหนือ 12 จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมพระใส ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดหนองคาย จ.หนองคาย และประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัย จ.หนองคาย ในจุดต่างๆ ได้แก่ จุดสูบน้ำประตูระบายน้ำวัดหายโศก ชุมชนหายโศก สถานีสูบน้ำวัดพระธาตุหล้าหนอง ชุมชนวัดธาตุ ศูนย์สำรวจอุทกวิทยา หนองคาย (สถานีวัดน้ำ MRC หนองคาย)
สำหรับการบริหารจัดการลุ่มน้ำโขงนั้น สำนักงานเลขาธิการกรรมาธิการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยได้ติดตามและบริหารจัดการสถานการณ์น้ำร่วมกับประเทศจีน ประเทศเมียนมา และประเทศสมาชิก MRC อย่างใกล้ชิด โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์น้ำ เพื่อนำไปสู่การประกาศแจ้งเตือนล่วงหน้าในพื้นที่เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุด สทนช. ได้รับข้อมูลคาดการณ์จาก MRC ว่าในวันที่ 23–24 ก.ย. 67 ระดับน้ำในแม่น้ำโขงจะสูงขึ้นประกอบกับปริมาณฝนที่คาดว่าจะตกเพิ่มในช่วงเวลาดังกล่าว จะส่งผลกระทบในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชี และมูล โดยเฉพาะที่ จ.นครพนม และ จ.อุบลราชธานี (อ.โขงเจียม) ในการประชุมวันนี้ จึงได้แจ้งให้ทั้งสองจังหวัดพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมการบริหารจัดการล่วงหน้าเชิงป้องกัน ได้แก่ การแจ้งเตือนประชาชนเตรียมยกของขึ้นสูง เตรียมความพร้อมเครื่องผลักดันน้ำและเครื่องจักรเครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงวางแผนการระบายน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ เพื่อรองรับสถานการณ์ได้ทันท่วงทีและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด
5.สถานการณ์น้ำท่วม : วันที่ 19 ก.ย. 67 ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.แม่สาย และเมืองฯ) จ.พิษณุโลก (พรหมพิราม บางระกำ และเมืองฯ) จ.นครสวรรค์ (อ. เมืองฯ) จ.หนองคาย (สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ เมืองฯ รัตนวาปี และโพนพิสัย) จ. บึงกาฬ (โซ่พิสัย บึงโขงหลง เซกา พรเจริญ ปากคาด เมืองฯ บุ่งคล้า และศรีวิไล) จ.พระนครศรีอยุธยา (บางบาล บางปะหัน ผักไห่ เสนา พระนครศรีอยุธยา และบางไทร) จ.สตูล (ควนโดน เมืองฯ ท่าแพ
และมะนัง).
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับสุดท้าย เตือน 9 จังหวัด ระวังฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 7 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
ศปช. ส่งจนท.-เครื่องจักร เร่งช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อุทกภัย 3 จังหวัดใต้
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ในฐานะโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง
ผอ.ศปช. สั่งเกาะติดฝนถล่มภาคใต้สัปดาห์นี้ เสี่ยงวาตภัยน้ำท่วมฉับพลันใน 10 จังหวัด
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า หลังวานนี้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อ.เมือง และ ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป