นักวิชาการ ตั้งข้อสังเกต 4 ข้อ สาเหตุน้ำท่วมหน้ามหาวิทยาลัยพะเยา

18 ก.ย.2567- ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โพสต์เฟซบุ๊กว่า

ข้อสังเกตเบื้องต้นสาเหตุน้ำท่วมหน้ามหาวิทยาลัยพะเยา
นอกจากฝนตกแล้ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศควรเป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณาเหตุน้ำท่วมที่หน้ามหาวิทยาลัยพะเยา เมื่อรุ่งสางวันนี้

จากการตรวจเช็ค Google map มีประเด็นที่เป็นข้อสังเกต ดังนี้

1.มีน้ำห้วยสองสายที่ไหลมาบริเวณน้ำท่วม คือ หนองเม็ง-นาปอย ซึ่งเป็นน้ำห้วยที่ยาวที่สุดในโซนนี้ และห้วยแม่กาหลวงที่ไหลไปบรรจบกันที่หน้ามหาวิทยาลัยพะเยา ก่อนไหลงกว๊านพะเยา ซึ่งเป็นจุดน้ำไหลหลากรุนแรง (ภาพ 1 และ 2)

2.ทางต้นน้ำของห้วยหนองเม็ง-นาปอย มีอ่างเก็บน้ำห้วยตูบขอบ และฝายเล็กๆ (ในวงกลมสีเหลือง ภาพ 1)

3.บริเวณทางตอนบนของห้วยกาหลวงมีการก่อสร้างอุโมงค์โครงการรถไฟทางคู่คร่อมลำห้วยแม่กาหลวง น่าจะมีการถมลำน้ำจนรถบรรทุกวิ่งได้ (ภาพ 3) เมื่อเกิดน้ำมา ถนนดังกล่าวก็กลายเป็นเขื่อนย่อมๆ และบริเวณทางทิศใต้ของถนนก็กลายสภาพเป็นอ่างเก็บน้ำที่น้ำสะสมในปริมาณมาก ซึ่งต่อมาได้มีคนถ่ายภาพมุมสูงพบว่าถนนนั้นขาดหลังเกิดเหตุการณ์ น้ำไหลหลาก ชมภาพถนนขาดได้จากเพจ คนอนุรักษ์ https://www.facebook.com/share/p/L2rsVsh6EdCaKXKn/
ขณะเกิดเหตุน้ำไหลหลากลงมา ในตอนเช้า ผู้ใช้เฟสบุ๊ครายหนึ่งระบุว่า น้ำไหลหลากมาจากเขื่อนแตกซึ่งสาเหตุอาจมาจาก 2 หรือ 3 ก็ได้ และอาจเข้าใจผิดว่าเขื่อนพัง ดูคลิปที่นี่ https://www.facebook.com/share/v/XZ5DSddb8whVFYgB/?mibextid=SphRi8

4.หน้ามหาวิทยาลัยพะเยาที่เรียกกันว่ากาดหลุม บริเวณนี้เป็นที่ สปก. หลังมีมหาวิทยาลัย บริเวณนี้มีการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า และหอพักหนาแน่นทั้งบริเวณห้วยแม่กาหลวงที่อาจสร้างรุกล้ำหรือกีดขวางทางน้ำ รวมทั้งถนนที่ข้ามลำน้ำที่ทำทางไหลของน้ำแคบมาก
ภาพแผนที่ทั้งหมดเป็นแผนที่จากการตรวจเช็คจาก Google map ในเบื้องต้นเพื่อตั้งข้อสังเกตในกรณีน้ำไหลหลากหน้ามหาวิทยาลัยพะเยาในครั้งนี้เท่านั้น ส่วนความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลต้องมีการตรวจเช็คซ้ำจากพื้นที่จริงอีกครั้ง เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งอาจมาจากหลายสาเหตุรวมกัน และหาแนวทางป้องกันและแก้ปัญหาต่อไป

ขอบคุณเพื่อนมิตรที่ช่วยกันเช็คข้อมูลครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไม่โอเค! ล้อเรื่อง 'คนอีสานกับปลาหมอคางดำ' เป็นการเอาวัฒนธรรมการกินมาเหยียด

ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โพสต์เฟซบุ๊กถึงเรื่องดังกล่าวว่า