'จุลพันธ์' แจงแนวคิดภาษีรูปแบบใหม่ Negative income tax คืนภาษีผู้มีรายได้น้อย

"จุลพันธ์" แจงแนวคิดภาษีรูปแบบใหม่ "negative income tax" บรรจุในนโยบาย เพื่อเร่งศึกษาให้ตอบโจทย์ปัญหาสังคม ย้ำไม่ได้นำมาทดแทนสวัสดิการที่มีอยู่ แต่เป็นแนวคิดที่ต้องการสร้างตาข่ายรองรับประชาชนไม่ให้ใครตกไปอยู่ในกรอบแห่งความยากจน

13 ก.ย.2567 - เวลา 14.12 น. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ลุกขึ้นชี้แจงนโยบายการศึกษาระบบภาษีรูปแบบใหม่ หรือ negative income tax ว่า แนวความคิดนี้ เป็นแนวความคิดที่ถูกนำมาบรรจุในแนวนโยบายแห่งรัฐ เพื่อให้เกิดการศึกษาอย่างละเอียด และเป็นแนวคิดตอบโจทย์ปัญหาต่างๆ เช่น เรื่องแรงงาน ซึ่งขณะนี้ มีมากกว่า 50% อยู่นอกระบบ ทำให้เราไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างเป็นรูปธรรม

ขณะเดียวกัน ประชาชนผู้มีรายได้ต่ำมีราว 4 ล้านคน ที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน และมีประมาณ 5 ล้านคน ที่อยู่ในจุดที่เรียกว่าเกือบจน ซึ่งกลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเปราะบาง และรัฐบาลก็มีแนวคิดหาหนทางช่วยเหลือมาตลอด

สำหรับปัญหาระบบฐานภาษีของประเทศไทย ที่มีคนเข้าสู่ระบบฐานภาษีค่อนข้างน้อย มีคนยื่นแบบภาษีเงินได้เพียงแค่ 10 ล้านคน แต่มีคนเสียภาษีจริงๆ ประมาณ 3-4 ล้านคนเท่านั้น ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่ผูกโยงเข้าด้วยกันทั้งหมด

แนวความคิดข้างต้น เป็นการนำตัวอย่างจากต่างประเทศ ที่ต้องการสร้างตาข่ายรองรับสังคมไม่ให้ใครสามารถตกไปอยู่กรอบแห่งความยากลำบากและความยากจน โดยจะมีเกณฑ์เพื่อวัดเส้นแห่งความยากจนที่มีความเหมาะสม หากประชาชนสามารถยื่นแบบภาษีได้ทุกคน เมื่อใครเกินเส้นนี้ ก็เสียภาษีตามอัตราที่เหมาะสมต่อไป

ในขณะที่คนที่ตกต่ำกว่าเส้นที่กำหนด กลไกของภาษีจะสามารถเป็นภาษีติดลบ ที่สามารถกลับไปเพื่อไปชดเชยอุดหนุนให้เขาสามารถลืมตาอ้าปากต่อสู้ได้ รวมถึงทำให้ประชาชนเกิดความกล้าความคิดในการลงทุน

นายจุลพันธ์ ชี้ว่า แนวคิดนี้ จะเป็นหนึ่งในแรงจูงใจที่ทำให้ประชาชนรู้อยู่เสมอว่าข้างหลังมีรัฐบาลที่คอยประคับประคองให้เขากลับมาลุกขึ้นยืนได้ใหม่ไม่ว่าจะล้มอีกกี่ครั้งก็ตาม และทำให้คนในประเทศเปลี่ยนแนวความคิด เพิ่มแรงจูงใจในการประกอบอาชีพ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปด้วยกัน โดยกระทรวงการคลังจะเป็นแม่งานในการศึกษารายละเอียดให้ครบถ้วนต่อไป

นายจุลพันธ์ กล่าวถึงข้อสงสัยว่าแนวคิดนี้จะเป็นการชดเชยหรือทดแทนสวัสดิการที่มีอยู่หรือไม่ ว่า ในสวัสดิการแต่ละประเภทมีหลักในการคำนวณที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นคนละประเด็น เนื่องจากเป็นคนละวัตถุประสงค์ แต่แน่นอนว่าด้วยเม็ดเงินที่จำกัดของภาครัฐ เราต้องบริหารจัดการให้เกิดความเหมาะสมต่อไป

อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลา 1-2 ปี กระทรวงการคลังจะเร่งรัดการศึกษาแนวคิดนี้ เพื่อในที่สุดแล้วประชาชนคนไทยทุกคน จะได้สามารถมีตาข่ายที่มั่นใจได้ว่า จะคอยรองรับเขาอยู่ในทุกสถานการณ์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ชวน' อบรมรัฐบาลแพทองธาร ต้องให้เกียรติข้าราชการ ยึดหลักซื่อสัตย์ไม่เอาตำแหน่งมาเป็นราคา

นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า เมื่อวันที่ 12 ก.ย.66 ได้เคยอภิปรายนโยบายรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกฯ วันนั้นเป็นการพูดในฐานะฝ่ายค้าน ส่วนวันนี้พูดในฐานะรัฐบาล แต่ไม่ว่าตนจะอยู่พรรคใดก็ตาม

'ชูศักดิ์' ยันรัฐบาลแพทองธาร พร้อมแก้รธน.บางมาตราที่เร่งด่วนควบคู่จัดทำฉบับใหม่

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงกรณีที่ น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เปรียบเทียบการแถลงนโยบายของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

'ขุนคลัง' เคาะแล้ว 25 ก.ย. แจกเงินสด 1 หมื่นบาท กลุ่มแรก 14.2 ล้านคน

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ชี้แจงตอนหนึ่งว่าไม่มีใครแก้ไขค่าราคาพลังงานลดลงได้ เพราะราคาพลังของบ้านเรา นำเข้า 90เปอร์เซ็นต์ของน้ำมัน และนำเข้ากว่า65เปอร์เซ็นต์ของก๊าซธรรมขาติ

เดือด! ก๊วนลุงป้อม-ก๊วนธรรมนัสซัดกันนัวเวทีแถลงนโยบาย

พลังประชารัฐ ซัดนัวกลางที่ประชุมรัฐสภา 'เด็กลุงบ้านป่า' อัด ครม.สืบสันดาน-ตระบัดสัตย์ สุดช้ำยกมือโหวต 39 เสียงไล่ให้เป็นฝ่ายค้าน 'เด็กผู้กอง' เหน็บ 2 เดือนก่อนอาจเห็นด้วยกับรัฐบาล