13 ก.ย.2567 - ที่สำนักงานประกันสังคม พล.ต.ท.นพ.ธนา ธุระเจน ประธานคณะกรรมการการแพทย์กองทุนประกันสังคมเปิดเผยว่า ในปี 2568 คณะกรรมการการแพทย์ กองทุนประกันสังคม เตรียมพร้อมปรับสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วยรักษารวดเร็ว ครอบคลุมทุกโรค เพื่อดูแลผู้ประกันตนอย่างยั่งยืน รองรับเทคโนโลยีด้านการรักษา เช่น การผ่าตัดแผลขนาดเล็กผ่านกล้อง เพื่อลดระยะเวลาพักฟื้น ลดภาระค่าใช้จ่ายในการนอนพักรักษาตัว เพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มการใช้นวัตกรรมผ่าตัดอย่างแม่นยำด้วยการใช้หุ่นยนต์ (Robotic surgery) เพิ่มการเข้าถึงการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งกับสถานพยาบาลที่มีศักยภาพ เพิ่มการตรวจสุขภาพจากการตรวจสุขภาพพื้นฐาน 14 รายการ โดยมีความถี่และขยายช่วงอายุที่มากขึ้นครอบคลุมช่วงอายุของผู้ประกันตน
พล.ต.ท.นพ.ธนากล่าวต่อว่า ขณะนี้สำนักงานประกันสังคม ได้ประเมินผลในทุกสิทธิประโยชน์และสำรวจความพึงพอใจในการเข้ารับบริการของผู้ประกันตนรายงานต่อคณะกรรมการการแพทย์ต่อไป ซึ่งมีโรงพยาบาลหลายแห่งให้ความสนใจเข้าร่วมดูแลผู้ประกันตน ในปี 2567 สำนักงานประกันสังคมมีโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน 267 แห่ง แบ่งเป็น โรงพยาบาลรัฐบาล 170 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 97 แห่ง และในปี 2568 มีโรงพยาบาลยื่นความประสงค์ขอสมัครเข้าร่วมเป็นโรงพยาบาลคู่สัญญาเพิ่มขึ้นอีก 4 แห่ง เป็นโรงพยาบาลรัฐบาล 1 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชน 3 แห่ง โดยได้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานสถานพยาบาลเป็นที่เรียบร้อย และจะทำสัญญาการให้บริการทางการแพทย์ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้
พล.ต.ท.นพ.ธนากล่าวถึงกรณีเรื่องค่าบริการทางการแพทย์ว่า สำนักงานประกันสังคมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลอย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยปีที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ต่อปีกว่า 80,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยค่าบริการทางการแพทย์ 6,200 บาทต่อหัว แบ่งเป็นค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายและนอกเหนือเหมาจ่าย จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายไปกว่า 39,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 3,007 บาทต่อหัว ประกอบด้วย
1. ค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายพื้นฐานตามจำนวนผู้ประกันตนที่สำนักงานกำหนดไว้ให้แก่สถานพยาบาลในอัตรา 1,808 บาท/ผู้ประกันตน 1 คนภายในระยะเวลา 1 ปี 2. จ่ายเพิ่มเติมแก่สถานพยาบาลที่ต้องรับภาระกรณีดูแลรักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง มะเร็งตับอักเสบเรื้อรัง ไตวายเรื้อรัง โรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย เป็นต้น ตามอัตราการใช้บริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตน ในอัตรา 453 บาทต่อกรอบวงเงินที่คำนวณจากจำนวนผู้ประกันตนแต่ละปี 3.จ่ายค่าบริการทางการแพทย์กรณีผู้ประกันตนที่เข้ารับการรักษาประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Groups: DRGs) ที่มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (Adjusted Relative weight: AdjRW) มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ในอัตราไม่เกิน 15,000 บาทต่อหนึ่งน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (Adjusted Relative weight: AdjRW) ในอัตรา 746 บาท ตามกรอบวงเงินที่คำนวณจากจำนวนผู้ประกันตนแต่ละปี
พล.ต.ท.นพ.ธนา กล่าวต่อไปว่า สำนักงานประกันสังคมยังพิจารณาเรื่องค่าบริการทางการแพทย์กรณีเหมาจ่ายในทุก 2-3 ปี และเพิ่มค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัวไปล่าสุดเมื่อเมษายน 2566 สำหรับค่าบริการทางการแพทย์นอกเหนือเหมาจ่ายรวมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์กว่า 46,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 3,240 บาทต่อหัว ซึ่งให้แก่สถานพยาบาลกรณีรักษาโรคที่ต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น ค่าบำบัดทดแทนไตกว่า 7,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ เรายังจ่ายกรณีการเข้าถึงการรักษาแก่ผู้ประกันตนที่จำเป็นต้องผ่าตัดหรือทำหัตถการภายใน 15 วัน ใน 5 โรคร้ายแรง และมีผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาเป็นจำนวนมากกว่า 1,000 ล้านบาท เช่น โรงพยาบาลเอกชนซึ่งเป็นคู่สัญญาของสำนักงานประกันสังคมมีจำนวนผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนกว่า 192,000 ราย ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกว่า 600 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเหมาจ่ายพื้นฐาน 338 ล้านบาท มีผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนเข้ารับการรักษาด้วยโรคเรื้อรังเพียง 26,000 กว่าราย ได้รับค่าเหมาจ่ายดูแลรักษาโรคเรื้อรัง 126 ล้านบาท ได้รับค่ารักษากรณีผ่าตัด 5 โรคร้ายแรงกว่า 18 ล้านบาท มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเป็นกรณีผู้ป่วยใน 9,300 ราย และได้รับค่าบริการทางการแพทย์ 184 ล้านบาท
พล.ต.ท.นพ.ธนากล่าวอีกว่า จะเห็นได้ว่า สำนักงานประกันสังคมมุ่งมั่นพัฒนาสิทธิประโยชน์ พร้อมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์อย่างเพียงพอและครอบคลุมทุกโรค เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับการบริการอย่างมีคุณภาพ ทันวิวัฒนาการโรคปัจจุบัน เข้าถึงบริการโดยแท้จริง และได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด ขอให้ผู้ประกันตนเชื่อมั่นในระบบการให้บริการทางการแพทย์ และสิทธิประโยชน์อื่น ที่สำนักงานประกันสังคม จัดบริการให้เหมาะสมแก่ผู้ประกันตนทุกช่วงวัย ผู้ประกันตนที่ต้องการสามารถ สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์หรือรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน โทร.1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประกันสังคม เตือนนายจ้าง อย่าลืม!! ชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนประจำปี 2568 ภายในวันที่ 31 มกราคม 2568 และรายงานค่าจ้างประจำปี 2567 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานประกันสังคมมีการจัดเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนจากนายจ้างเป็นรายปี โดยได้จัดส่งใบประเมินเงินสมทบประจำปี 2568 พร้อมแบบแสดงเงินค่าจ้างประจำปี 2567 ให้นายจ้างทั่วประเทศ เมื่อเดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา
ประกันสังคม มอบเงินช่วยเหลือ ผู้รับเหมา ผู้ประกันตนที่เสียชีวิตเหตุอาคารถล่ม ปราจีนบุรี แล้ว “พิพัฒน์” กำชับดูแลสิทธิประโยชน์ให้ทายาท
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กำชับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ เหตุการณ์อาคารโรงงานถล่มในนิคมอุตสาหกรรม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี วันที่ 30 ธันวาคม 2567 ทับคนงานของผู้รับเหมาที่กำลังปฏิบัติงาน เสียชีวิต 5 ราย พร้อมมอบให้สำนักงานประกันสังคม
ประกันสังคม ดูแลผู้ประกันตนทุกช่วงวัย โชว์ความสำเร็จการดำเนินงาน ปี 67
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567 นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้เปิดการแถลงข่าว ผลการดำเนินงานสำนักงานประกันสังคม ประจำปี 2567
”พิพัฒน์“ เปลี่ยนกระทรวงสู่ยุคAI สร้างทักษะการใช้ AI บริการหางาน พัฒนาฝีมือ แจ้งข้อร้องเรียน รับสิทธิประกันสังคม ให้สะดวก รวดเร็วขึ้น .
วันที่ 23 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในงานการประชาสัมพันธ์ด้านปัญญาประดิษฐ์และการนำไปใช้สำหรับบุคลากรภาครัฐ (Kick off Artificial Intelligence Literacy for Government officer)
ประกันสังคม ย้ำสิทธิการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยพลาสมาคุณภาพสูง เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนทุกช่วงวัย
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (สปส.) กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค พร้อมมุ่งพัฒนาสิทธิการรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่อง