'นักวิชาการ' เผยระบบเตือนภัย J-Alert - L-Alert สุดยอดของญี่ปุ่นในการเตือนภัยเข้าถึงทุกที่

13ก.ย.2567- ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กเกี่ยวกับระบบเตือนภัย ว่า

ระบบเตือนภัย J-Alert และ L-Alert สุดยอดของญี่ปุ่นในการเตือนภัยเข้าถึงทุกที่

1. ระบบเตือนภัย J-Alert หรือ Japan's Emergency Warning System นำมาใช้เพื่อแจ้งเตือนประชาชนถึงเหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ พายุ น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด สภาพอากาศที่รุนแรง ประเทศอาจถูกคุกคาม แจ้งข่าวฉุกเฉิน เป็นต้น เป็นการแจ้งเตือนในทุกช่องทางทั้งทางโทรทัศน์ วิทยุ ลำโพงกระจายเสียงในท้องถิ่น เว็บไซต์ อีเมลรวมทั้งการแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือผ่านระบบ Cell Broadcast

ระดับการแจ้งเตือนในระบบ J-Alert จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับตามความเร่งด่วน ดังนี้
- ระดับ 1 สัญญาณสีเหลือง คือการเตือนให้ระวัง แนะนำให้ผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ตลอดจนผู้ที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งเตรียมอพยพ

- ระดับที่ 2 สัญญาณสีแดง คือการเตือนภัยอันตราย แนะนำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงอพยพโดยด่วน
- ระดับที่ 3 สัญญาณเตือนสีม่วง คือกำลังเกิดภัยพิบัติร้ายแรงขึ้นแล้วหรืออาจกำลังจะเกิด ทุกคนต้องทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาชีวิต โดยไม่ต้องรอคำสั่งจากทางการเพิ่มเติม...

ระบบนี้สามาถกระจายการแจ้งเตือนถึงทุกคนอย่างรวดเร็วโดยใช้ระบบการแจ้งเตือน Cell Broadcast ซึ่งจะแจ้งเตือนไปยังโทร ศัพท์มือถืออย่างรวดเร็วมากในเวลาไม่กี่วินาที โดยไม่ต้องใช้เบอร์โทรศัพท์เป็น การส่งข้อมูลโดยตรงจากเสาสัญญาณไปสู่โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องในพื้นที่แบบรวดเดียวและเจาะจงพื้นที่ได้ซึ่งไม่กระทบการใช้งานโทรศัพท์โดยไม่ต้องโหลดแอป พลิเคชัน โดยเป็นการแจ้งเตือนแบบความไวแสงผ่านดาวเทียมหรือเครือข่ายสำรองภาคพื้นดินไปยังอุปกรณ์รับ J-Alert เพื่อทำการส่งสัญญาณไปยังพื้นที่ต่าง ๆ โดยใช้เวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้น ทำให้ประชาชนเตรียมรับมือหรือป้องกันตนเองได้อย่างรวดเร็ว

2.ระบบแจ้งเตือน L-Alert โดยศูนย์กลางข้อมูลของท้องถิ่นจะส่งข้อมูลเพื่อแนะนำแนวทางในการป้องกันหรือแก้ไขเมื่อต้องเผชิญเหตุภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน โดยจะเน้นให้ข้อมูลเฉพาะเจาะจงของพื้นที่หรือท้องถิ่น ซึ่งแต่ละท้องถิ่นหรือพื้นที่จะได้รับ คำแนะนำที่ไม่เหมือนกัน เช่นที่ตั้งของศูนย์ช่วยเหลือในชุมชน เส้นทางปลอดภัยของการอพยพในพื้นที่ เส้นทางที่ถูกตัดขาด ข้อมูลไฟฟ้าดับ ข้อมูลสัญญาณโทรศัพท์ล่มรวมทั้งให้คำแนะนำต่างๆ เป็นต้น โดยที่ศูนย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำหน้าที่ในการรับข้อมูลและรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานทุกภาคส่วนแล้วทำการแจ้งแก่ประชาชนในพื้นที่ผ่านช่องทางการกระจายเสียงของท้องถิ่นทั้ง อินเทอร์เน็ต วิทยุท้องถิ่น เว็บไซต์ท้องถิ่นรวมทั้งต้องส่งข้อความแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือไปถึงทุกคนในพื้นที่ประสบภัยด้วย

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นายกฯอิ๊งค์' ควง 3 รมต. ช่วยน้ำท่วมเชียงราย ห่วงทะลักอีสาน สั่ง มท. เร่งดูแล

'นายกฯอิ๊งค์' ควง 'กลาโหม-คมนาคม-มหาดไทย' บินเชียงรายช่วยน้ำท่วม ก่อนถกกลางอากาศ เร่งอพยพคนพ้นพื้นที่เสี่ยงทันที สั่ง มท. กำกับใกล้ชิดอีสาน

อีสานระทึก! ระดับน้ำโขงพุ่งพรวดเดียวเกือบเมตร เสี่ยงท่วมฉับพลัน

นครพนมลุ้นระทึกอีกครั้ง! ระดับน้ำโขงพรวดเดียวสูงขึ้นอีกเกือบเมตร ฝนกระหน่ำซ้ำทั้งคืน ท้องฟ้าปกคลุมด้วยเมฆ ลาวแจ้งด่วนเขื่อนจีนปล่อยน้ำ

'อัยการ' เตือนแก๊งแมวน้ำ ขโมยของผู้ประสบอุทกภัย โทษหนักติดคุกถึง 10 ปี

'โกศลวัฒน์’ อธ.อัยการ เตือนเเก๊งเเมวน้ำลักทรัพย์ตอนเกิดน้ำท่วม ซ้ำเติมชาวบ้านอัตราโทษหนักกว่าเดิมมาก เผย สคช. เตรียมเเผนช่วยชาวบ้านหลังน้ำลด

'อนุทิน' เตรียมรับมวลน้ำหลากเข้าอีสาน เร่งระบายลงโขง ลุยเยียวยาเชียงราย

'อนุทิน' เตรียมรับมวลน้ำหลากเข้าพื้นที่ภาคอีสาน เร่งระบายลงแม่น้ำโขงให้เร็วที่สุด เดินหน้าเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยเชียงราย จ่ายชดเชยโรงแรมหลังให้ประชาชนพักฟรี

อุตุฯ อัปเดตเส้นทาง พายุลูกใหม่ 'เบบินคา'

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตและวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม ช่วงค่ำคืนที่ผ่านมาถึงเช้าวันนี้ (13/9/67) : เมฆฝนยังปกคลุมบริเวณภาคอีสานตอนบน ร่องมรสุมยังพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนจังหวัดไหนฝนตกหนักถึงหนักมาก 13-17 ก.ย.

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย