นักวิชาการ เผยบทเรียนราคาแพง 'น้ำท่วมแม่สาย-ดินถล่มแม่อาย'

12 ก.ย.2567 - ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า วิปโยคแม่สาย แม่อายสะอื้น บทเรียนราคาแพงที่ต้องได้รับการแก้ไข..

1.ฝนตกหนักมากจากอิทธิพลของพายุยางิขณะที่มีร่องมรสุมความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ทำให้อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงรายน้ำท่วมหนักเสียหายมากที่ สุดในรอบ 40 ปีมากกว่าปี 65 และที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เกิดดินถล่มจากภูเขาทับบ้านเรือนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายคน

2.บทเรียนราคาแพงที่ทำให้เกิดวิปโยคที่แม่สายและแม่อายสะอื้นในครั้งนี้คืออะไร

2.1.ขาดแผนการเตือนภัยที่ชัดเจน กรมอุตุนิยมวิทยาและ สทนช.ได้แจ้งเตือนว่าจะเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายในช่วงวันที่ 8 ถึงวันที่ 13 กันยายนจะเกิดน้ำท่วมไหลหลากและดินถล่มแต่การเตือนภัยดังกล่าวอาจลงไปไม่ถึงประชาชนในระ ดับรากหญ้าและการเตือนภัยดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุถึงความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนทั้งยังไม่ได้ระบุถึงสถานที่ที่เฉพาะเจาะจงว่าน้ำจะท่วมหนักเกิดขึ้นที่ ไหนบ้าง? บอกแต่เพียงกว้างๆว่าจะเกิดที่จ.เชียงรายและจ.เชียงใหม่ เป็นต้น ทำให้ประชาชนที่ได้รับข่าวสารในพื้นที่ไม่สนใจเท่าที่ควรเพราะทุกปีน้ำก็ท่วมประจำอยู่แล้วไม่ได้หนักหนาอะไร

2.2. ขาดการสื่อสารความเสี่ยงที่ให้ประชาชนเกิดความตระหนัก ที่ผ่านมาใช้ช่องสื่อสารทางทีวี วิทยุ เฟชบุ๊คโดยใช้ภาษาทางวิชาการที่ยากจะเข้าใจทำให้ประชา ชนระดับรากหญ้าไม่ค่อยสนใจเท่าที่ควร

..การสื่อสารหลังจากที่มีการคาดการณ์ว่าน้ำจะท่วมอย่างรุนแรงที่ไหนบ้าง ควรให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรืออปท.สื่อสารถึงตัวประชาชนโดยตรงโดยต้องระบุให้ชัดเจนว่าสถานการณ์จะเกิดรุนแรงในระดับใด ที่ ไหน จะต้องเก็บข้าวของขึ้นที่สูงหรือต้องอพยพออกมาและไปพักที่จุดใดบ้าง เป็น ต้น โดยทั่วไปผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอต้องเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์หรือเป็น commanderสั่งการให้ดำเนินการทัน ที..ยิ่งในต่างประเทศจะมีการใช้ระบบ sms สื่อสารเตือนภัยโดยส่งเข้าไปในระบบโทร ศัพท์มือถือของที่คนที่อาศัยในพื้นที่โดย ตรง เป็นต้น แต่ปัจจุบัน

ประเทศไทยยังไม่ได้การเตรียมความพร้อมและยังไม่มีมาตรการป้องกันวิกฤติดังกล่าวเลย ต้องรอให้เกิดวิกฤติก่อนจึงจะประกาศให้พื้นที่เป็นเขตภัยพิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อนำงบประ มาณออกมาแก้ไขและเยียวยาได้ ดังนั้นตามกฎหมายจึงมีแต่เพียงมาตรการบรร เทาทุกข์แต่ไม่มีมาตรการป้องกันไว้ล่วงหน้า

2.3.ขาดแผนเผชิญเหตุฉุกเฉิน เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ดินถล่ม ราชการจะต้องประกาศเป็นเขตภัยพิบัติเพื่อนำงบประมาณออกมาใช้บรรเทาทุกข์ให้ประชาชนได้ ซึ่งทำได้ล่าช้ามากเนื่องจากติดที่ระบบราชการต้องมีหนังสือเป็นทางการส่งออกไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร?ต้องมีเวลาในการการเตรียม อุปกรณ์และกำลังคน

...กรณีน้ำท่วมที่อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย ประชาชนจำนวนมากติดอยู่บนหลังคาและติดอยู่อยู่ในบ้านเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2วันโดยหน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของมูล นิธิ,จิตรอาสา, สมาคมและภาคประชาสัง คม ส่วนหน่วยราชการยังล่าช้าอยู่เพราะติดระบบราชการยกเว้นหน่วยทหารที่สั่งการและออกปฎิบัติงานได้ทันที...

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เลยจุดพีคแล้ว! 'แม่น้ำกก' ตัวเมืองเชียงราย ระดับน้ำค่อยๆลดลง หากไม่มีฝนเพิ่ม

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ อัปเดตสถานการณ์น้ำแม่น้ำกก บริเวณสะพานแม่ฟ้าหลวง ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย ได้ขึ้นถึงจุดสูงสุดไป

เดือด! 'ไอซ์ รักชนก' สส.พรรคส้ม เปิดสงครามน้ำลาย นายกฯแพทองธาร

นางสาวรักชนก ศรีนอก สส.กทม.พรรคประชาชน โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า อยากรู้ว่าคนเชียงใหม่เชียงรายที่กำลังประสบภัยน้ำท่วมจนออกจากพื้นไม่ได้ ทั้งความช่วยเหลือจาก

ทร. ส่ง 'หน่วยซีล' พร้อมเรือยางท้องแข็ง-เรือยางยุทธวิธี ช่วยน้ำท่วมเชียงราย

พลเรือตรี วีรุดม ม่วงจีน โฆษกกองทัพเรือเปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัด เชียงราย ส่งผลให้มีน้ำท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่การเกษตร พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม

กรมอุตุฯ เตือนฝนตกหนักอีกช่วง หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุม หลัง 13 ก.ย.

เพจเฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งว่า ช่วง 13-20 ก.ย.67 สถานการณ์และแนวโน้มของฝนบริเวณประเทศไทยจะมีการกระจายเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ดินถล่มแม่อาย เสียชีวิต 4 ราย เร่งค้นหาอีก 2 สูญหาย

ศูนย์บัญชาการอำเภอแม่อาย จ.เชียงใหม่ แจ้งว่า ขณะนี้ได้รับแจ้งจาก อบต.ดอยลาง ว่าอ่างเก็บน้ำปางแสนเครือ หมู่ที่ 9 ตำบลแม่อาย มวลน้ำอาจจะไหลเอ่อล้นลงสู่ลำน้ำอาย เนื่องจากถนนบริเวณข้างอ่างมีดินสไลด์ ขวางทางน้ำ ถนนอาจถูกตัดขาดได้