7 ก.ย.2567 - เพจเฟซบุ๊ก Kanlayanatam เผยแพร่บทความของพระพรหมพัชรญาณมุนี หรือ พระอาจารย์ชยสาโร หรือ เจ้าคุณฌอน สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี จังหวัดนครราชสีมา โดยมีเนื้อหาดังนี้ อาตมาก็มีตัวอย่าง เมื่อไม่กี่วันที่แล้ว อาตมาไปนมัสการหลวงพ่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่ที่สุพรรณบุรี
เราสนทนากันเรื่องพระไตรปิฎก ซึ่งท่านเคยปรารภหลายครั้งหลายปีมาแล้วว่า พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยมีข้อผิดพลาดมาก แต่ยังไม่ค่อยมีการแก้ไข ล่าสุด ก็มีโครงการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษ แต่ตัวพระไตรปิฎกภาษาไทย ก็ยังมีผิดพลาดมาก
อย่างเรื่องที่ท่านยกตัวอย่างว่า เมื่อไม่นานมานี้หรือนานมาแล้วว่า มีคนเขียนบทความซึ่งไม่ทราบว่าลงในหนังสือพิมพ์หรือในออนไลน์ แล้วมีคนส่งไปให้ท่านอ่าน เป็นเรื่องที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ผลงานของท่านข้อหนึ่งว่า หลวงพ่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์โกหก
เขาใช้คำนี้เลยนะ...โกหก คือเรื่องธรรมาธิปไตย ท่านเขียนเรื่องธรรมาธิปไตย ซึ่งคนยังไม่คุ้นเคยกับคำนี้ว่า พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงสิ่งที่เราเอาเป็นหลักในชีวิต เป็นหลักตัดสิน หลักดำเนินชีวิตมันก็จะมีอัตตาธิปไตย คือเอาความคิดของตัวเอง ความรู้สึกของตัวเอง ความต้องการของตัวเองเป็นหลัก แบบเห็นแก่ตัว เอามุมมองของตัวเอง ความต้องการของตัวเองเป็นหลัก
และอันที่สองคือโลกาธิปไตย เอาค่านิยมของสังคม คนรอบข้าง ความยอมรับ เป็นเครื่องตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควร
อันที่สามคือธรรมาธิปไตย เอาธรรมะเป็นที่ตั้ง ไม่เอาความคิดความต้องการของตัวเอง ไม่เอาค่านิยมของสังคมเป็นหลัก แต่เอาธรรมะเป็นหลัก
แล้วท่านก็เขียนเรื่องประชาธิปไตยว่า หากเป็นประชาธิปไตยที่ตั้งไว้บนฐานคือ อัตตาธิปไตย หรือ โลกาธิปไตย มันจะไม่ดี สิ่งที่เราต้องพัฒนาคือ ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งตั้งบนฐานแห่งธรรมาธิปไตย
ซึ่งท่านก็เคยเขียนเรื่องนี้ในหนังสือหลายๆเล่ม ทีนี้ ผู้เขียนบทความนี้ก็บอกว่า หลวงพ่อสมเด็จฯ นี่ ใครว่าเป็นนักวิชาการชั้นยอดของประเทศไทย เขียนเรื่องธรรมาธิปไตย แต่ไม่มีในพระไตรปิฎก ท่านโกหก
หลวงพ่อท่านก็บอกว่า... ผมก็เลยไปค้นดู ปรากฏว่า ถูกของเขานะ คือในพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยไม่มี แต่เมื่อผมไปดูพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ซึ่งเป็นของเดิม และท่านก็ใช้ภาษาบาลีเป็นหลัก มันมีอยู่
อันนี้ก็เป็นตัวอย่างที่คนเกิดความเข้าใจผิด เพราะการแปลพระไตรปิฎกผิดพลาดไปหรือบกพร่องไป ท่านบอกว่า เพราะเขาอ่านในฉบับภาษาไทย มันก็ถูกของเขา แต่หากเขาไปดูในของเดิม มันไม่ใช่
ทุกวันนี้ มีการเถียงเรื่องพุทธวจนะ คนที่ไม่รู้บาลีก็ยังยืนยันว่า พระไตรปิฎกเขาว่าอย่างนั้น ยืนยันทั้งๆที่ไม่รู้ภาษาบาลี อย่างนี้ก็มี
นี่ก็เป็นประเด็นในเรื่องของภาษา เรื่องการแปล แต่ที่อาตมาประทับใจก็คือ คนไปกล่าวหาว่าท่านโกหก ท่านก็ไม่มีอาการน้อยใจ เสียใจ หรือโกรธอะไรทั้งสิ้น
ทั้งๆที่สิ่งที่ท่านอาจจะไม่ได้ลืมอะไรมากนะ ตั้งแต่ท่านเริ่มศึกษาพระไตรปิฎกแบบบาลีตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ๘ ขวบ แต่อาตมาว่าสิ่งที่ท่านลืมไปแล้วมากกว่าสิ่งที่เราจำได้ คือ ทั้งๆที่ท่านมีความรู้ระดับนี้ เมื่อมีคนกล่าวหาว่าท่านพูดผิด ถึงขั้นที่ว่าท่านโกหก ท่านก็บอกว่า... เออ! น่าสนใจนะ
ทำไมเขาจึงคิดอย่างนั้น เดี๋ยวไปเปิดหนังสือดูว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้เขาคิดอย่างนั้น นี่แหละ ตัวอย่างของผู้เป็นครูบาอาจารย์ คือ เรื่องความรู้ทางวิชาการ เราก็ประทับใจอยู่แล้ว ปกติเวลาเรามีความรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หากมีใครค้าน มันจะมีอาการทันทีเลยนะ
... คุณเป็นใคร มาพูดอย่างนี้ หากเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยจะเป็นอย่างไร ส่วนมากจะเป็นอย่างนี้ หากเป็นศาสตราจารย์ เป็นอะไร แล้วถูกคนรุ่นเด็กมาวิพากษ์วิจารณ์ มันทำใจไม่ค่อยได้ เพราะอัตตาตัวตนไปผูกพันกับคำว่า “ศาสตราจารย์” คำว่า “เป็นผู้ใหญ่”
แต่หากเป็นผู้ใหญ่จริง มันไม่มี อย่างหลวงพ่อก็เป็นตัวอย่างของการเป็นธรรมาธิปไตย ทุกอย่างเอาธรรมเป็นใหญ่
...............
"Life coach ฝึกหัด "
โดย #พระพรหมพัชรญาณมุนี
#พระอาจารย์ชยสาโร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดร.อานนท์' ชี้รธน.60 ยกระดับจริยธรรมนักการเมือง แต่นักการเมืองเลวๆ ดิ้นทุรนทุราย
ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า
โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ 'เจ้าคุณฌอน-เจ้าคุณอนิลมาน' ขึ้นเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะ
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์
วัดญาณเวศกวัน เปิดกำหนดการพิธีบำเพ็ญกุศล 'พระมงคลธีรคุณ' เลขาฯสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
เพจเฟซบุ๊ก วัดญาณเวศกวัน เผยแพร่กำหนดการพิธีบำเพ็ญกุศลศพ พระมงคลธีรคุณ (อินศร จินฺตาปญฺโญ ป.ธ.๔, ดร.) อดีตเจ้าคณะตำบลบ้านใหม่ อดีตรองเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ณ ญาณเวศก์ธร
สาส์นจาก 'สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์' ถึงเด็กไทย เพราะฝึกตน คนจึงประเสริฐได้
วัดญาณเวศกวัน เผยแพร่สาส์นจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ถึงเด็กไทยเนื่องในโอกาสวันเด็ก ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ มีเนื้อหาดังนี้เพราะฝึกตน คนจึงประเสริฐได้
‘ใช้ท่าทีวางเฉยต่อคน เพื่อรักษาธรรม’ สังศิต ประกาศท่าทีเลือกนายกฯ 13ก.ค.
ผมจะน้อมนำคำกล่าวของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) มาเป็นหลักในการลงคะแนนเสียง เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่
'เนติวิทย์' เล่าความประทับใจจากการไปบวช ได้เจอสังคม 'อนุรักษ์นิยม' ที่คาดหวัง
'เนติวิทย์' เล่าความประทับใจจากการไปบวช ได้เจอสังคม'อนุรักษ์นิยม'ที่คาดหวังที่ดีมีเป้าหมายคือการใช้ชีวิตที่พยายามไม่เพ่งโทษกันและกันสร้างสังฆะที่เอื้อต่อการเรียนรู้การเติบโตทางจิตวิญญาณทำให้คนเรามีคุณค่าในตัวเอง