ดร.ธรณ์ เผยเหตุพายุธรรมดา กลายเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่น 'ยางิ' ในเวลาไม่ถึง 2 วัน

5 ก.ย.2567 - ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ระบุข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "น้ำทะเลร้อนจัด" ทำให้พายุโซนร้อนธรรมดากลายเป็น ซูเปอร์ไต้ฝุ่น Yagi ในเวลาไม่ถึง 2 วัน เตรียมรับมือฝนยุคใหม่ที่จะตกหนักมาก

ก่อนหน้านี้ ดร.ธรณ์ ได้เคยโพสต์อธิบายถึงพายุไต้ฝุ่น 2 ลูกติดในรอบ 1 เดือนว่า ทะเลญี่ปุ่นร้อนขึ้น 2 องศาเมื่อเทียบกับเมื่อ 40 ปีก่อน อากาศยังร้อนจนทำลายสถิติต่อเนื่อง นี่คือสองสาเหตุที่ทำให้ไต้ฝุ่นยุคโลกร้อนน่ากลัว
 
"ไต้ฝุ่น" คือพายุหมุนเกิดในทะเล ความร้อนของน้ำคือพลังของไต้ฝุ่น ยิ่งน้ำร้อน ไต้ฝุ่นยิ่งแรง อากาศร้อนจุไอน้ำได้มากขึ้น ยิ่งร้อนฝนยิ่งหนัก
 
นักวิทยาศาสตร์บอกว่า ในเขตทะเลจีนตะวันออก พายุอาจมีจำนวนเท่าเดิมแต่แรงขึ้นและฝนหนักมากยิ่งขึ้น
 
ไต้ฝุ่นแคมี (Typhoon Gaemi) ที่เพิ่งสร้างความเสียหายรุนแรงเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม มีฝนตกหนักกว่า 300 มม.ในกรุงมะนิลาในเวลาแค่วันเดียว ลมแรงจัดสร้างความเสียหายให้ไต้หวัน ยังส่งผลต่อเนื่องถึงน้ำท่วมดินถล่มในจีน
 
ขณะที่ล่าสุด (29 ส.ค.) ไต้ฝุ่นชานชาน (Typhoon Shanshan) เข้าเกาะกิวชู ทางการต้องอพยพผู้คนจำนวนมาก เพราะลมที่แรงถึง 180 กม./ชม. อาจทำให้อาคารพังเสียหาย ทางการญี่ปุ่นคาดว่าฝนจะตกหนักมาก อาจเกิดดินถล่มและน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ ยังรวมถึงไฟดับถนนขาดรถไฟไปไม่ได้ การอพยพจึงเป็นทางออกดีที่สุด
 
สำหรับเมืองไทย แม้พายุอาจมีไม่กี่ลูก หรือคาดการณ์ว่าอาจมีน้อยกว่าปี 54 แต่ปริมาณน้ำฝนต่อลูกอาจมากกว่า จึงต้องระวังเรื่องฝนตกหนักกว่าในอดีต
 
ส่งกำลังใจไปให้เพื่อนๆ และลูกศิษย์ที่อยู่มิยาซากิ คาโกชิมา ยุคโลกร้อนไม่มีที่ไหนอยู่สบายปลอดภัยครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)

โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉ.1 พายุไต้ฝุ่น ‘หม่านหยี่’ บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน

พายุไต้ฝุ่น “หม่านหยี่” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 17.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 118.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

อัปเดตพายุไต้ฝุ่น ‘หม่านหยี่’ เช้าตรู่ 18 พ.ย.เคลื่อนผ่านเกาะลูซอล ลงสู่ทะเลจีนใต้

คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะลูซอล ลงสู่ทะเลจีนใต้เช้าตรู่วันที่ 18 พ.ย.67 และเคลื่อนตัวทางตะวันตกเข้าใกล้เกาะไหหลำ และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ