'ศรีสุวรรณ' ยื่น ปปช. แล้ว! ฟัน 'ประภัตร' ล้มเหลวปกปิด 'อหิวาต์หมู'

14 ม.ค. 2565 – ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นนทบุรี เมื่อเวลา 10.00 น. นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. อีกครั้ง เพื่อขอให้สอบเพิ่มเอาผิด นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งกำกับดูแลกรมปศุสัตว์ ผิดพลาด ล้มเหลว ปกปิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF เป็นเหตุให้หมูขาดตลาด ทำให้ราคาแพงในปัจจุบัน

ทั้งนี้เนื่องจากนายประภัตร มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลกรมปศุสัตว์โดยตรง ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 1662/2562 ของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องมอบอำนาจหน้าที่ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งและปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนั้นเมื่อเกิดกรณีปัญหาความผิดพลาด ล้มเหลวในการบริหารจัดการเกี่ยวกับกรมปศุสัตว์เกิดขึ้น ย่อมต้องส่งผลถึงรัฐมนตรีที่กำกับดูแลที่จะต้องร่วมรับผิดชอบด้วย

นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า การปกปิดการแพร่ระบาดของเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF ของกรมปศุสัตว์ ทำให้หมูของเกษตรกรผู้เลี้ยงรายเล็ก รายกลาง ล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้หมูขาดตลาด เป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้หมูแพง แต่กลับไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ออกมาจากกรมปศุสัตว์ ซึ่งรัฐมนตรีที่กำกับดูแลก็เพิกเฉย ยังคงเลี่ยงบาลีว่า ไม่มีการปกปิดข้อมูลการแพร่ระบาดของเชื้อ ASF ทั้งๆ ที่ข้อมูลการเกิดโรคระบาดถูกเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูออกมาเปิดโปงว่าเกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2562 แล้ว จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีต้องอนุมัติเงินเยียวยาให้เกษตรกรแล้วหลายรอบ

สำหรับปัญหาการปกปิดการการแพร่ระบาดของเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะมีผลประโยชน์ของชาติของประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อีกทั้งมี พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ 2558 เป็นกลไกสำคัญในการป้องกันและควบคุมปัญหา โดยเฉพาะในท้องที่ใดเมื่อเห็นสมควรให้มีการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์ชนิดใด อธิบดีปศุสัตว์ก็มีอำนาจที่จะประกาศกําหนดให้ท้องที่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วนของท้องที่ต้องมีการทําเครื่องหมายประจําตัวสัตว์ สําหรับสัตว์หรือซากสัตว์ชนิดนั้น หรือรัฐมนตรีเกษตรฯก็สามารถที่จะประกาศกําหนดให้ท้องที่นั้นๆ หรือทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นเขตปลอดโรคระบาด หรือเขตกันชนโรคระบาดสําหรับโรคนั้นในสัตว์นั้นได้ เพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาดได้ รวมทั้งยังมีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 396 เรื่องการห้ามทิ้งซากสัตว์ซึ่งอาจเน่าเหม็นในหรือริมทางสาธารณะอีกด้วย

“แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่ปรากฏการล้มตายของสุกรในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ กลับไม่ปรากฏว่ากรมปศุสัตว์ หรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแล จะใช้อำนาจดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าวแต่อย่างใด เช่นนี้ย่อมถือได้ว่า เป็นการจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร อันเข้าข่ายความผิดที่ ป.ป.ช.จะต้องเข้าไปดำเนินการไต่สวน สอบสวนเอาผิดตามครรลองของกฎหมายต่อไป” นายศรีสุวรรณ ระบุ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มีหนาว! ‘เรืองไกร’ ร้อง ปปช. ตรวจสอบจนท.ของรัฐ 8 ราย ยื่นบัญชีและเสียภาษีถูกต้องหรือไม่

วันนี้ผมจึงส่งหนังสือทางไปรษณีย์ EMS เพื่อขอให้ ป.ป.ช. ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจเพื่อตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐรวม 8 รายดังกล่าว

'ภูมิธรรม' ยันยังไม่เลิก 'ไร่ละพัน' แจง 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' หวังช่วยชาวนาอีกทาง

'ภูมิธรรม' แจงไม่ได้ยกเลิกไร่ละพัน พร้อมดึงกลับมาใช้ถ้าราคาข้าวตก ย้ำคนละส่วนกับปุ๋ยคนละครึ่ง ชี้ สส. รุมค้าน เหตุไม่เข้าใจถ่องแท้ไปฟังเกษตรกรมา

บช.ก. สรุปสำนวนคดี 'ศรีสุวรรณ-เจ๋งดอกจิก' กับพวกรีดทรัพย์อธิบดีกรมการข้าว

พ.ต.อ.เอนก เตาสุภาพ รองผู้บังคับการปราบปราม (รองผบก.ป.) เปิดเผยว่า คณะพนักงานสอบสวน บช.ก. ที่ 45/2567 ลงวันที่ 31 มกราคม 2567 เรื่องคดีทุจริตระหว่าง นายนัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว ผู้กล่าวหา กับกลุ่มผูัต้องหารวม 5 คน

'ธรรมนัส' เผยวันนี้รู้ข้อสรุปโครงการ 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' ยุติหรือเดินหน้าต่อ

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบในโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 โดยรัฐบาลและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รวมจ่ายเงินค่าสินไหม และเบี้ยประกันภัย ให้กับเกษตรกรชาวนาในปีการผลิต 2567 - 2568

ศาลนัดฟังคำสั่ง 'บิ๊กโจ๊ก' ฟ้องหมิ่น 'อัจฉริยะ' 6 ส.ค. ปัดมีคนเรียก 10 ล้าน แลกแฉ

ศาลนัดฟังคำสั่ง 'โจ๊ก' ฟ้องหมิ่น ‘อัจฉริยะ’ 6 ส.ค. 'บิ๊ก ตร.' ย้อนถามกลุ่มนายพลชลบุรีโดนคดีกลับไม่ถูกปลดออก ปัดมีคนเรียกเงิน 10 ล้าน แลกแฉนายพล