'หมอยง' เผยฝีดาษวานรที่ระบาดตอนนี้มี 2 สายพันธุ์

22 ส.ค.2567 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ฝีดาษวานร MPOX การแบ่งแยกชนิดสายพันธุ์ของฝีดาษวานร Mpox” ระบุว่า ในปัจจุบันจากการถอดรหัส DNA จะแยกฝีดาษวานร เป็น 2 กลุ่ม (Clade) คือกลุ่มหนึ่งและกลุ่ม 2 สายพันธุ์ที่ระบาดในแอฟริกาส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ 1 และการระบาดนอกแอฟริกาส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ 2 ทั้งกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 ยังแยกเป็นกลุ่มย่อย a และ b การระบาดนอกแอฟริกาจะเป็นสายพันธุ์กลุ่ม 2b

เมื่อเร็วๆนี้มีการระบาดพบผู้ป่วยจำนวนมาก ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก มีผู้ป่วยที่ต้องสงสัยและยืนยันถึงปัจจุบันร่วม 20,000 รายแล้ว และมีผู้เสียชีวิต อยู่ในอัตราถึงร้อยละ 3 ถึง 4 สายพันธุ์ที่พบเป็นสายพันธุ์กลุ่ม 1b แสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์นี้ สามารถติดต่อกันได้ง่าย และมีความรุนแรงสูง พบกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเด็ก และผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็เป็นเด็กที่มีร่างกายอ่อนแอ จึงทำให้ต้องเฝ้าระวังและเกิดความกังวล องค์การอนามัยโลกจึงประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินโรคระหว่างประเทศ ที่น่ากังวล และต้องเฝ้าระวัง

ฝีดาษวานร เชื้อสายพันธุ์ใหม่ 1b ระบาดในแอฟริกา ที่สร้างความกังวลและต้องเฝ้าระวัง หลังจากระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก โรคนี้ได้แพร่กระจายในแอฟริการ่วม 10 ประเทศ การติดต่อของโรคจะแตกต่างกับสายพันธุ์ 2b ที่ระบาดนอกแอฟริกา

สายพันธุ์ 1b แพร่กระจายและติดต่อได้ง่าย จึงพบได้ในเด็ก และเพศหญิง ไม่เหมือนกับสายพันธุ์ 2b ที่ติดต่อได้ยากกว่า ส่วนใหญ่จะพบในเพศชาย วัยหนุ่มถึงกลางคน โดยการสัมผัสอย่างใกล้ชิด หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' เตือนรับมือ 'ฝีดาษลิง' สายพันธุ์ใหม่ รุนแรงติดง่าย หวั่นระบาดใหญ่ทั่วโลก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝีดาษวานร MPOX สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง

ศูนย์ไวรัส จุฬาฯ จับตาโรค 'โอโรพุช' ระบาดในลาตินอเมริกา อาการคล้ายไข้เลือดออก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19