22 ส.ค.2567 - สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกประกาศฉบับที่ 11/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก ระบุว่า
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ พบว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทั้งนี้ สทนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำตามฝนคาดการณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ในช่วงวันที่ 24 – 30 สิงหาคม 2567 ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ
1.1 ภาคเหนือ
จังหวัดเชียงราย (อำเภอเมืองเชียงราย แม่สาย เชียงแสน เวียงแก่น ขุนตาล พญาเม็งราย เวียงชัย เทิง และแม่ลาว)
จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอแม่อาย และเชียงดาว)
จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ปางมะผ้า ปาย ขุนยวม แม่ลาน้อย แม่สะเรียง และสบเมย)
จังหวัดตาก (อำเภอเมืองตาก ท่าสองยาง แม่ระมาด แม่สอด พบพระ และอุ้มผาง)
จังหวัดลำปาง (อำเภอวังเหนือ และงาว)
จังหวัดพะเยา (อำเภอเมืองพะเยา แม่ใจ ภูซาง ปง เชียงคำ จุน และเชียงม่วน)
จังหวัดน่าน (อำเภอเมืองน่าน เฉลิมพระเกียรติ ปัว ท่าวังผา เวียงสา ทุ่งช้าง เชียงกลาง บ่อเกลือ สองแคว และภูเพียง)
จังหวัดแพร่ (อำเภอเมืองแพร่ เด่นชัย สอง ลอง และวังชิ้น)
จังหวัดสุโขทัย (อำเภอเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม กงไกรลาศ และศรีสำโรง)
จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ลับแล พิชัย ทองแสนขัน และท่าปลา)
จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอชาติตระการ นครไทย วังทอง และเนินมะปราง)
จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ หล่มเก่า และหล่มสัก)
1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย (อำเภอนาแห้ว เชียงคาน ด่านซ้าย และปากชม)
จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย และโพธิ์ตาก)
จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเมืองบึงกาฬ ปากคาด บุ่งคล้า โซ่พิสัย เซกา และบึงโขงหลง)
จังหวัดหนองบัวลำภู (อำเภอเมืองหนองบัวลำภู ศรีบุญเรือง และโนนสัง)
จังหวัดอุดรธานี (อำเภอเพ็ญ บ้านดุง และหนองหาน)
จังหวัดสกลนคร (อำเภอเมืองสกลนคร บ้านม่วง คำตากล้า วานรนิวาส สว่างแดนดิน และพรรณานิคม)
จังหวัดนครพนม (อำเภอเมืองนครพนม บ้านแพง ศรีสงคราม ท่าอุเทน นาหว้า โพนสวรรค์ ปลาปาก และธาตุพนม)
1.3 ภาคตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอเมืองกาญจนบุรี สังขละบุรี ทองผาภูมิ ศรีสวัสดิ์ ไทรโยค และด่านมะขามเตี้ย)
จังหวัดราชบุรี (อำเภอสวนผึ้ง และบ้านคา)
จังหวัดเพชรบุรี (อำเภอแก่งกระจาน และหนองหญ้าปล้อง)
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อำเภอหัวหิน ปราณบุรี และบางสะพาน)
1.4 ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก (อำเภอเมืองนครนายก ปากพลี และบ้านนา)
จังหวัดปราจีนบุรี (อำเภอเมืองปราจีนบุรี ประจันตคาม นาดี และกบินทร์บุรี)
จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี มะขาม ขลุง และแหลมสิงห์)
จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ เขาสมิง แหลมงอบ คลองใหญ่ และเกาะกูด)
1.5 ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ)
จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง และท้ายเหมือง)
จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี คีรีรัฐนิคม พุนพิน พระแสง และเวียงสระ)
จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ลานสกา ถ้ำพรรณรา และทุ่งใหญ่)
จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง ปะเหลียน นาโยง กันตัง ห้วยยอด รัษฎา และวังวิเศษ)
จังหวัดพัทลุง (อำเภอเมืองพัทลุง ปากพะยูน กงหรา ศรีนครินทร์ และควนขนุน)
จังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล ควนโดน ควนกาหลง ทุ่งหว้า และมะนัง)
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุทัยธานี เลย บึงกาฬ สกลนคร อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก ที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ ลำน้ำงาว (อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย)
แม่น้ำสาย (อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย)
แม่น้ำอิง (อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย)
แม่น้ำน่าน (อำเภอเมืองน่าน เวียงสา เชียงกลาง ภูเพียง และท่าวังผา จังหวัดน่าน)
แม่น้ำยม (อำเภอปง เชียงม่วน จังหวัดพะเยา อำเภอเมืองแพร่ สอง และหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ อำเภอเมืองสุโขทัย สวรรคโลก ศรีสำโรง ศรีสัชนาลัย และกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอเมืองพิษณุโลก พรหมพิราม และบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก)
แม่น้ำแควน้อย (อำเภอนครไทย และวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก)
แม่น้ำป่าสัก (อำเภอหล่มสัก และหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์)
ลำน้ำก่ำ (อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม)
แม่น้ำตราด (อำเภอเมืองตราด เขาสมิง และบ่อไร่ จังหวัดตราด)
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน
2. ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและพนังกั้นน้ำ เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ อาคารชลศาสตร์ให้พร้อมใช้งาน และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ
3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ปรับการบริหารจัดการน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก น้ำในลำน้ำ รวมถึงเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ ให้สอดคล้องกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และคำนึงถึงอิทธิพลของการขึ้น – ลง ของน้ำทะเล
4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 2 เตือนพื้นที่ฝนตกหนักในภาคใต้ ระวังอันตรายคลื่นลมแรง 15-18 ม.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยรวมทั้งทะเลอันดามัน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 15-18 มกราคม 2568) ฉบับที่ 2
พยากรณ์อากาศ 15 วันล่วงหน้า ลมหนาวยังพัดแรง ใต้มีฝนเพิ่มตกหนักบางแห่ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 13 - 27 ม.ค. 68
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 11 เตือนหนาวจัดลมแรง ทะเลคลื่นสูง 4 เมตร
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่องอากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยรวมทั้งทะเลอันดามัน
อุตุฯ เตือนอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิลดลงอีก ใต้ฝนฟ้าคะนอง 10-20%
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ประเทศไทยมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนจะมีอุณหภูมิลดลง กับมีลมแรง สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด
พยากรณ์อากาศ 15 วันล่วงหน้า ลมหนาวพัดแรง ยาวถึงปลายเดือน
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 10 - 24 ม.ค. 68
ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับ 5 อากาศหนาวลดฮวบ 3-7 องศา คลื่นลมแรงสูง 4 เมตร
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยรวมทั้งทะเลอันดามัน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 13 มกราคม 2568) ฉบับที่ 5