'หมอยง' เล่าที่มาของชื่อ 'ฝีดาษวานร'

21 ส.ค.2567 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ “ฝีดาษวานร Mpox” ระบุว่า ฝีดาษวานรหรือ Mpox จะเล่าเป็นตอนๆ

การตั้งชื่อ

ฝีดาษวานร พบและรายงานครั้งแรก เป็นการระบาดในลิงที่เลี้ยงไว้ทดลอง ลิงมีอาการและแยกเชื้อได้ในกลุ่มของฝีดาษ (poxvirus) จึงเรียกว่าฝีดาษลิง (Monkeypox) เมื่อกว่า 60 ปีที่แล้ว

จนกระทั่งอีก 10 กว่าปีต่อมา พบโรคนี้ในมนุษย์ที่คองโก ไม่ทราบแน่ชัดว่าติดมาจากสัตว์ใด และก็พบเรื่อยมา ต่อมาจึงเข้าใจว่าสัตว์นำโรค น่าจะเป็นสัตว์ตระกูลฟันแทะหรือหนู และสามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้

การตั้งชื่อ ฝีดาษลิงหรือฝีดาษวานร ก็เพราะพบครั้งแรก ในลิง แต่ความเป็นจริงการติดต่อสู่คน ไม่ทราบว่าเป็นสัตว์ชนิดใด น่าจะเป็นสัตว์ในตระกูลฟันแทะ ในระยะหลังนี้องค์การอนามัยโลกเองจะตั้งชื่อโรคที่เกิดจากไวรัส หรือโรคอุบัติใหม่ จะไม่ใช้ชื่อสถานที่ สัตว์นำโรค บุคคล มาตั้งเป็นชื่อโรค เพราะจะทำให้เกิดบาดแผลต่อสิ่งนั้น หรือแนวคิดทัศนคติทางลบต่อสิ่งนั้นๆ องค์การอนามัยโลกจึงตั้งชื่อว่า “Mpox”

สำหรับประเทศไทย ผู้ที่ตั้งชื่อว่าฝีดาษวานร คือศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' เตือนรับมือ 'ฝีดาษลิง' สายพันธุ์ใหม่ รุนแรงติดง่าย หวั่นระบาดใหญ่ทั่วโลก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝีดาษวานร MPOX สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง

ศูนย์ไวรัส จุฬาฯ จับตาโรค 'โอโรพุช' ระบาดในลาตินอเมริกา อาการคล้ายไข้เลือดออก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า