'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' แฉ โรงงานสีเทาผิดกฎหมายจำนวนมาก ตั้งอยู่ในพื้นที่ของท้องถิ่น

14ส.ค.2567- ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า

โรงงานสีเทาผิดกฎหมายจำนวนมากตั้งอยู่ในพื้นที่ของท้องถิ่น แต่ส่วนใหญ่เจ้าพนักงานท้องถิ่นอ้างไม่รู้ ไม่ได้ติดตามตรวจสอบทั้งๆที่มีอำนาจตามพรบ.การสาธารณสุขพ.ศ.2535 เพราะอะไร

1.พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ 2535 เป็นกฎ หมายเกี่ยวกับการจัดการเหตุเดือดร้อนรำ คาญ ออกกฎหมายโดยกรมอนามัยผ่านคณะกรรมการสาธารณสุข แต่ไปกำหนดให้เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่นเทศบาล อบต. เป็นผู้ไปดำเนินการระงับเหตุรำคาญตามมาตรา 25ถึง28ขณะที่กรมอนามัยและคณะกรรม การสาธารณสุขทำหน้าที่เพียงแค่ให้คำแนะนำแก่องค์กรปกครองท้องถิ่น..ไม่เคยลงพื้นที่มาช่วยเหลืออะไร ขณะที่มาตรา8 กำหนดให้ เมื่อเกิดเหตุผลกระทบต่ออนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของอปท. อธิบดีกรมอนามัยสามารถแจ้งต่อผู้ว่าราชการจัง หวัดเพื่อสั่งการให้ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดไปดำเนินการแก้ไขปัญหา..แต่ที่ผ่านมากรมอนามัยไม่ค่อยทราบเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ต่างๆจึงไม่เห็นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลงมาช่วยท้องถิ่นจัดการปัญหาการร้องเรียนหรือเหตุเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด

2. ตามมาตรา 31-33 คณะกรรมการสาธารณสุขสามารถออกประกาศประเภทของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพื่อให้ท้องถิ่นไปออกข้อบัญญัติกำกับดูแลสถานประกอบดังกล่าวซึ่งมีอยู่จำนวน142 ประเภท ตั้งแต่กิจการรับสักยันต์ เลี้ยงหมูไปจนถึงโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ โรงงานสารเคมี โรงงานรับกำจัดกากอุตสาหกรรม เป็นต้น เจ้าพนักงานกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในอบต.หรือเทศบาลมีไม่เกิน 5คน ไม่มีเครื่องมือตรวจวัด ตรวจสอบใดๆ พนักงานหลายคนเป็นพยาบาลไม่มีความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมหรืออาชีวอนามัยความปลอดภัย จะไปตรวจสอบโรงงานที่ซับซ้อนได้อย่างไร?

3.การออกกฎหมายให้ท้องถิ่นต้องรับภาระตรวจสอบระงับเหตุรำคาญสำหรับโรงงานขนาดใหญ่ หลายแห่งเป็นทุนสีเทาโดยที่คนออกกฎหมายไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลยอย่างนี้ ทำให้ท้องถิ่นไม่สามารถทำหน้าที่ได้ดี เนื่องจากไม่มีความรู้ ไม่มีคนไปตรวจสอบและไม่มีเครื่องมือไปตรวจวัดอาจจะถูกประชาชนฟ้องศาลปกครองตามมาตรา157โทษละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ได้ เหตุการณ์ เช่น โรงงานวินโพรเสส จ.ระ ยอง โรงงานเอกอุทัย จ. อยุธยา โรงงานที่กลางดง โคราชหรือโรงงานแว๊กกาเบจ จ. ราชบุรี เป็นต้น กรมอนามัยจะอ้างทุกเวทีว่าไม่เกี่ยวเป็นเรื่องของท้องถิ่น..ทั้งที่มีการตั้งกองกฎหมาย กองอนามัยฉุกเฉิน กองประเมินผลกระทบสุขภาพ กองอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เพียงแค่ให้สุขศึกษา จัดอีเว้นท์ที่เห็นก็มี street food good health จัดแล้วก็จบกันไป

4.จากการพูดคุยในวงวิชาการ พรบ. การสาธารณสุข 2535 ควรจะต้องได้รับการแก้ไขหรือปรับปรุงซึ่งทำได้ 2วิธี คือเพิ่มบทบาทให้กรมอนามัยต้องลงพื้นที่ไปจัดการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ดังเช่นกรมควบคุมมลพิษ หรือกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น รวมทั้งจะต้องเป็นผู้ดำเนินคดีตามพรบการสาธารณสุขแทนประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยด้วย ประเด็นที่ 2 อาจจะปรับเปลี่ยน พรบ การสาธารณสุขเป็น พรบ.อนามัยสิ่งแวด ล้อมและมอบให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ) กระทรวงมหาดไทยไปดูแลแทนเพราะสังกัดกระทรวงมหาดไทยเช่นเดียวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดูแลงบประมาณปละอัตรากำลังได้โดยตรง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' ชี้สัญญาณเตือนโลกกำลังจะเปลี่ยนไป จากอุณหภูมิสูงขึ้น หายนะจะตามมา

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า

3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยื่นหนังสือ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย แก้ไขปัญหาในส่วนของท้องถิ่น 4 เรื่อง

วันที่ 12 พ.ย.2567 ที่พรรคภูมิใจไทย คณะกรรมการบริหารพรรค นำโดยนายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรค, นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ รองหัวหน้าพรรค, นายเจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์ รองเลขาธิการพรรค, นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ รองเลขาธิการพรรค, นายกรวีร์

'นักวิชาการ' ยกมาตรฐานรถบัสทัศนศึกษาในยุโรป กับ โศกนาฎกรรมไฟไหม้รถบัสนักเรียน

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า

นครพนม ตกผลึก จัดงานประเพณีไหลเรือไฟ 67 ยิ่งใหญ่ 11 วัน 11 คืน

นครพนม-ตกผลึก ! งานประเพณีไหลเรือไฟ 67 ยิ่งใหญ่ 11 วัน 11 คืน ลุ้นเลขสลากกาชาด คว้ารถยนต์ 2 คัน แข่งเรือชิงจ้าวลำน้ำโขง กินข้าวพาแลงแยงเรือไฟ