'กมล' ยกหลักคิดนักปรัชญาการเมือง ตอบโจทย์ 'สินค้าจีนราคาถูก ดีหรือเสีย ต่อคนไทย'

7ส.ค.2567- นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ และประธานอนุกรรมการด้านการเงินและการธนาคาร สภาผู้บริโภค เผยแพร่บทความเรื่อง สินค้าจีนราคาถูกดีหรือเสียต่อคนไทย มีเนื้อหาดังนี้

Thomas Hobbes นักปรัชญาการเมืองกล่าวว่า บทบาทหน้าที่หลักของรัฐบาล คือ ปกป้องดูแลประชาชนให้มีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย อยู่ดีกินดี และ จัดหาให้บริการสาธารณะเพื่อให้ประชาชนอยู่อย่างสุข สดวก และสบาย

สินค้าจีนราคาถูก ที่ทะลักไปทั่วโลกคือ การทะลายระบยการผูกขาดในตลาดโลก
ผู้ที่ถูกกระทบจริง คือกลุ่มทุนผู้ผูกขาดการผลิตและการจัดจำหน่าย ไม่ใช่ประชาชน
ประชาชนจึงไม่ควรตกหลุมวาทกรรมและการสร้างกระแสเหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติ และลัทธิคลั่งชาติ

สินค้าจีนราคาถูกในมุมมองของผู้บริโภคไทยโดยเฉพาะคนจน ชนชั้นกลางมีสิทธิซื้อสินค้าราคาถูกเพื่อลดรายจ่ายที่มีอยู่จำกัด และเพิ่มคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัว

ในอดีต คุณภาพและการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยค่อนข้างอัตคัตและยากลำบาก เครื่องไฟฟ้าและของใช้ที่ช่วยทำให้ชีวิตสดวกสบายมากขค้น มีเวลาพักผ่อน สังสรรค์กับครอบครัวมากขึ้นนั้นคนจนขาดโอกาส มีแต่คนรวยและชนชั้นกลางที่สามารถซื้อหาเครื่องใช้ไฟฟ้าจากยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่นที่มีราคาแสนแพง เช่น ตู้เย็น ทีวี เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวและของใช้อื่นๆ

เมื่อสินค้าจีนราคาถูกบุกไทย ยุโรป อเมริกา ทวีปอัฟริกา ลาตินอเมริกาได้ช่วยให้คนจนในประเทศเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสดวกสบายมากขึ้นจากการสามารถซื้อหาทุกอย่างที่ช่วยให้การดำรงชีวิตดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ สินค้าเหล่านี้มีราคาแพงและผูกขาดการผลิตและการขายอยู่ในไม่กี่บริษัท

ในด้านเศรษฐกิจมหภาค เป็นการรักษาภาวะเงินเฟ้อ(สินค้าแพง มูลค่าเงินซื้อของได้น้อยลง หรือลดลง)ของประเทศไม่ให้สูงขึ้น

ตามทฤษฎีการเมืองของ โทมัส ฮอบบ์กล่าวว่า บทบาทหน้าที่หลักของรัฐบาล คือ ปกป้องดูแลประชาชนให้มีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย อยู่ดีกินดี และ จัดหาให้บริการสาธารณะเพื่อให้ประชาชนอยู่อย่างสุข สดวก และสบาย

รัฐบาลจึงควรส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้กิน ได้ใช้สินค้าราคาถูก ไม่ว่าจะมาจากประเทศไหน
รัฐบาลควรลดค่าครองชีพของประชาชน ลดราคาน้ำมัน ก๊าซ ค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นสินค้าต้นน้ำ ที่ทำให้ทุกอย่างแพง ควบคุมธุรกิจผูกขาดของผู้ประกอบการในประเทศ ลดค่าเช่าที่ทำให้ร้านค้าต้องขายของแพงขึ้น

ไม่ใช่ส่งเสริมระบบผูกขาด และบีบบังคับให้ประชาชนซึ่งยากจนอยู่แล้ว มีเบี้ยน้อยหอยน้อยต้องใช้ของแพงเพื่อสนับสนุนส่งเสริมกลุ่มทุนผูกขาดที่ไร้มนุษยธรรม มีแต่ความละโมภและมุ่งค้ากำไรเกินควร

การโทษสินค้าจีน เป็นการโยนภาระให้ประชาชนรับผิดแทนโดยการยอมซื้อของแพงจากนายทุนไทย

เป็นความผิดของรัฐบาลไทยและนายทุนไทยที่ไม่สามารถผลิตสินค้าราคาถูกแข่งกับจีนได้ เพราะระบบเศรษฐกิจไทยรัฐส่งเสริมให้เกิดระบบผูกขาด

ระบบพลังงาน” นับเป็นสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต เพราะเป็นสินค้าต้นน้ำ

การผูกขาดส่งผลต่อความเป็นธรรมและความยั่งยืน

“การผูกขาด” หรือการมีอำนาจเหนือตลาดนั้น มีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ ด้วยเหตุผลว่าสามารถก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้บริโภคหลายประการ เช่น การจำกัดผลผลิตที่ออกสู่ตลาด การกำหนดราคาสินค้าสูงกว่าในตลาดที่มีการแข่งขัน การลดส่วนเกินผู้บริโภคและสวัสดิการทางเศรษฐกิจ การจำกัดทางเลือกสำหรับผู้บริโภค และการลดอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภค เป็นต้น ทำให้โดยทั่วไปแล้ว การผูกขาดจำต้องได้รับการควบคุม แต่ยิ่งไปกว่านั้นคือเหตุผลว่าด้วย “ความเป็นธรรม”

ประเด็นความเป็นธรรมแรก คือ การผูกขาดตลาดและการมีอำนาจเหนือตลาดทำให้ผู้ประกอบการเป็นฝ่ายมีอำนาจอธิปไตยของผู้ผลิต (Producer sovereignty). ที่จะเลือกและจำกัดผลผลิต กำหนดราคาสินค้าและบริการให้สูงได้ตามใจ ส่งผลให้ ‘ส่วนเกินผู้บริโภค’ หรือ Consumer surplus (ช่องว่างระหว่างราคาที่ผู้บริโภคยินดีจ่ายสำหรับสินค้าและบริการนั้น กับราคาตลาดที่ผู้บริโภคต้องจ่ายจริง[3]) เริ่มลดลงเรื่อย ๆ กระทั่งราคาสินค้าสูงขึ้นจนเทียบเท่าและเกินกว่าราคาที่ผู้บริโภคยินดีจ่าย

ประเด็นความเป็นธรรมอีกประการ คือ การทำให้ผู้บริโภคไม่มีทางเลือกว่าจะซื้อสินค้าหรือบริการชนิดใดได้[5] เพราะมีผู้ผลิตเพียงเจ้าเดียว รวมถึงการปิดโอกาสในการเลือกวัตถุดิบของสินค้าและบริการ ที่นับเป็นอำนาจในการจัดสรรทรัพยากรของผู้บริโภค

นั่นหมายความว่า ผู้บริโภคถูกตัดขาดออกจากวงอำนาจในการตัดสินใจใด ๆ ในตลาด

การผูกขาดเป็นการลดอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภค (Consumer sovereignty)[6] และส่งผลต่อความยั่งยืน เพราะเมื่อผลผลิตที่ถูกจำกัดมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด หรือสินค้ามีราคาสูงเกินไป ก็จะเกิดความล้มเหลวของตลาด (Market failure) ที่ตลาดไม่สามารถทำงานตามกลไกเพื่อนำมาซึ่งการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพได้ เช่นเดียวกับการที่ราคาสินค้าสูงกว่าราคาที่ผู้บริโภคยินดีจะจ่ายเป็นปริมาณมากจนทำให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจ (Economic welfare) ลดลงและหมดไป

“การผูกขาดตลาด” การจำกัดเสรีภาพในการซื้อ” ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับสินค้าและบริการชนิดใด ย่อมทำให้ผู้บริโภคเสียผลประโยชน์ในด้านราคาของสินค้าและบริการนั้น และสูญเสียอำนาจในการเลือกซื้อของผู้บริโภคเอง ทั้งนี้ สินค้าและบริการยังรวมถึงโครงสร้างสาธารณูปโภคอย่าง “ระบบพลังงาน” ของประเทศ ที่จะต้องตั้งคำถามว่ากลไกของตลาดที่มีอยู่ สนับสนุนให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือไม่

ราคาพลังงานที่ถูก คือหัวใจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้า ช่วยลดต้นทุนสามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ ไม่ใช่ ซอฟเพาเวอร์

ราคาพลังงานที่ถูก คือการปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคที่แท้จริง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นักวิชาการ' ค้านตั้งกำแพงภาษีสินค้าจากจีน แนะรัฐควรช่วยผู้ประกอบการแบบจีน

นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ และประธานอนุกรรมการด้านการเงินและการธนาคาร สภาผู้บริโภค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

นายกฯ ตื่นสั่งสกัดสินค้านำเข้าไร้มาตรฐาน

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มุ่งยกระดับการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองผู้ประกอบการและผู้บริโภคของไทย สกัดกั้นสินค้านำเข้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ละเมิดลิขสิทธิ์ และสินค้าผิดกฎหมายอย่างเคร่งครัด

จี้รัฐบาลไทย เอาอย่าง สิงคโปร์ ปฏิรูปกม.ต่อต้านมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ ทางออนไลน์ และไซเบอร์

นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ เขียนบทความ เรื่อง สิงคโปร์ ปฏิรูปกม.ต่อต้านมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ ทางออนไลน์ และไซเบอร์ (Cybersecurity Act) และ (Computer Misuse Act)

'นักวิชาการ' ยกเคสอเมริกา 'เงินดิจิทัล' ควรโอนเข้าบัญชีให้คนจน นำไปล้างหนี้จะเพิ่มกำลังซื้อ

นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึง โครงการดิจิทัลวอลเล็ต ว่า

'นักวิชาการอิสระ' เตือนไทยไม่เข้าร่วม 'BRICS' หายนะศก.ยิ่งกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง จับตา 'SCO'

'กมล' วิเคราะห์ อำนาจภูมิรัฐศาสตร์ของไทย เตือนหากไม่เข้าร่วม BRICS ยังผูกอยู่กับดอลลาร์ เงินบาทจะไร้ค่าไปด้วย หายนะทางเศรษฐกิจยิ่งกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง จับตา องค์กรความร่วมมือเชี่ยงไฮ้ SCO จะแทนยูเอ็น